งานวิจัย "อ่านไม่ยาก" อีกต่อไป “การสร้างสรรค์สื่อเพื่อการเรียนรู้จากงานวิจัย”

งานวิจัย "อ่านไม่ยาก" อีกต่อไป “การสร้างสรรค์สื่อเพื่อการเรียนรู้จากงานวิจัย”

งานวิจัย "อ่านไม่ยาก" อีกต่อไป “การสร้างสรรค์สื่อเพื่อการเรียนรู้จากงานวิจัย”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

untitled-1

เมื่อวิจัยเคยเป็นเรื่องยากและอ่านยาก จึงได้เกิดการนำวิจัยไปพัฒนาให้เข้าใจง่ายขึ้น ผ่านกระบวนการวิจัย “การสร้างสรรค์สื่อเพื่อการเรียนรู้จากงานวิจัย” ในรูปแบบคลิปรายการ 10-15 นาที ที่ใช้ชื่อว่า “วิจัยวาไรตี้” กับ แนวคิดที่ว่า เรื่องวิจัยเป็นเรื่องง่ายและใกล้ตัวกว่าที่คิด

 180929

โดย อาจารย์รัตนางศ์ ตุละวรรณ หัวหน้าโครงการ และ อาจารย์ณทิตา ทรัพย์สินวิวัฒน์ ผู้ร่วมทำวิจัย เจ้าของผลงานวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า “งานวิจัยนี้ เป็นโครงการวิจัยที่ต้องการนำความรู้จากงานวิจัยมาย่อยและนำเสนอในมุมที่ง่ายสำหรับนักเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้ในครั้งนี้ การทำงานครั้งนี้ เป็นการต่อยอดความรู้ของนักวิจัยไทย โดยมีการทำงานร่วมกันกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผู้ให้ทุนในการทำ และ TK Park ที่จัดนิทรรศการความรู้ในเรื่องต่างๆ และมีการนำงานวิจัยมาจัดแสดง  ทางคณะผู้วิจัยก็ได้ย่อยความรู้ออกมาเป็นคลิปรายการ  วิจัยวาไรตี้ ความยาวไม่เกิน 15 นาที มีทั้งหมด 10 เรื่อง ได้แก่ หอยทาก , เทคโนโลยีอวกาศ , พริก 2 ตอน , นมควาย , มะพร้าว , กินอย่างไทยไร้โรค, กล้วย , ข้าว และงาน 25 ปีสกว.ที่รวมงานวิจัยของนักวิจัยมากมาย”

การผลิตคลิปความรู้ในครั้งนี้ นอกจากความรู้เกี่ยวกับเรื่องต่างๆจากงานวิจัยแล้ว ยังมีเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคนในเรื่อง

557531

หลังจากที่ผลิตคลิปเสร็จได้มีการนำสื่อไปทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัด สพฐ. เช่น โรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยและโรงเรียนสุรนารีวิทยา จ.นครราชสีมา , โรงเรียนธรรมศาตร์คลองหลวง กรุงเทพมหานคร , โรงเรียนตากสิน จ.ระยอง เป็นต้น จำนวนทั้งหมด 300 คน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี และสามารถเพิ่มความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้หลังจากที่รับชมเสร็จ ระยะเวลาการนำเสนอคลิป 10-15 นาที ไม่เป็นปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และยังได้รับข้อแนะนำมาว่าอยากให้มีเรื่องอื่นๆผลิตมาเพื่อประกอบการเรียนในห้องคู่กันไป”    

ซึ่งนอกจากการนำคลิปไปทดลองให้กลุ่มเป้าหมายได้รับชม ทางทีมนักวิจัย ยังได้นำงานไปเผยแพร่ จัดกิจกรรมผ่าน TK Park อีก 5 จังหวัด ได้แก่ ยะลา , ระยอง , พิษณุโลก , นครราชสีมา และปิดท้ายที่ จ.สมุทรสาคร 

banner-web

โดยหลังจากนี้ สำหรับคุณครู , นักเรียน หรือบุคคลทั่วไปท่านไหน สนใจที่อยากจะรับชมสื่อทั้ง 10 เรื่องได้ที่ tv.trf.or.th โดยที่นักวิจัย หวังว่าการสร้างสรรค์สื่อครั้งนี้ จะเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ให้กับน้องๆมัธยมศึกษาตอนต้น และเป็นแนวทางการนำงานวิจัยกระจายสู่เป้าหมายในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook