รู้จัก “คณะโบราณคดี” ผ่านมุมมองศิษย์เก่า ก่อนย้อนยุคแบบ “บุพเพสันนิวาส”

รู้จัก “คณะโบราณคดี” ผ่านมุมมองศิษย์เก่า ก่อนย้อนยุคแบบ “บุพเพสันนิวาส”

รู้จัก “คณะโบราณคดี” ผ่านมุมมองศิษย์เก่า ก่อนย้อนยุคแบบ “บุพเพสันนิวาส”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

istock-699596596

“คณะโบราณคดี” ถือว่าเป็นอีกหนึ่งคณะวิชาที่เด็กมัธยมหลายคนใฝ่ฝันถึง จากเสียงลือเสียงเล่าอ้างเกี่ยวกับการออกภาคสนามไปขุดค้นโบราณสถานในพื้นที่ต่างๆ และดูเหมือนช่วงนี้ กระแสความต้องการเรียนในคณะนี้ก็ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้น จากความฮอตของละคร "บุพเพสันนิวาส" ซึ่งนางเอกของเรื่องก็เป็นนักศึกษาโบราณคดีเช่นกัน

แต่เชื่อได้เลยว่าแฟนละครบางคนยังไม่เข้าใจว่า คณะโบราณคดีนั้น ศึกษาเกี่ยวกับอะไร มีความสำคัญอย่างไร จบไปทำงานอะไร และต้องขุดฟอสซิลไหม ดังนั้น Sanook! Campus จึงนัดพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์ที่เรียกได้ว่าตรงสายอย่างแท้จริง นั่นก็คือ ผศ.พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร รุ่นที่ 44 และปัจจุบัน ก็กำลังศึกษาปริญญาเอกที่ SOAS, University of London ในสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี (History of Art and Archaeology) เพื่อให้น้องๆ ที่กำลังจะก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัยได้รู้จักและทำความเข้าใจ “คณะโบราณคดี” ให้มากขึ้น

วิชาโบราณคดีเรียนอะไร และจบไปทำงานอะไรได้บ้าง

“วิชาโบราณคดีนั้นจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของคนโบราณในทุกมิติ ไม่ว่าจะการกินอยู่ สังคม การเมือง วัฒนธรรม มีความแตกต่างจากการเรียนประวัติศาสตร์เพราะว่าโบราณคดีจะศึกษาจาก วัตถุโบราณหรือสิ่งของเก่าๆ สมัยก่อน และสามารถต่อยอดอาชีพได้ 2 ทาง คือ สายวิชาการ ส่วนใหญ่จะเป็นอาจารย์ และนักโบราณคดีของกรมศิลปากร ถ้าจบทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะส่วนใหญ่จะเป็นภัณฑารักษ์ (curator) มีหน้าที่ดูแล พิพิธภัณฑ์หรือนิทรรศการ รวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม  โดยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ของกรมศิลปากร รวมถึงพิพิธภัณฑ์ของภาคเอกชน ถ้าเป็นสายอาชีพ ก็เป็นได้ทั้งนักเขียน นักทำสารคดี ทำสื่อสิ่งพิมพ์ นักวิจัยอิสระหาข้อมูลให้กับกองถ่ายทำ ซึ่งเรียกว่าประกอบอาชีพได้หลากหลายมากๆ”

โบราณคดีกับอักษรศาสตร์ ต่างกันอย่างไร

“มีความแตกต่างกันอย่างมาก คณะอักษรศาสตร์ ก็จะมีสาขาที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์อยู่แล้วโดยพื้นฐาน แต่ส่วนใหญ่เนื้อหาจะเน้นไปทางด้านภาษาเสียมากกว่า ซึ่งถ้าเกี่ยวกับทางด้านประวัติศาสตร์ อักษรศาสตร์จะเป็นผู้วิเคราะห์ด้านภาษาโบราณโดยไม่ได้เกี่ยวกับโบราณวัตถุ มีบ้างที่จะออกภาคสนามตามรายวิชา เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่จะเป็นภาษา วรรณกรรม วรรณคดี

ส่วนคณะโบราณคดี จะเน้นเนื้อหาที่สิ่งของโบราณวัตถุ ศึกษาประวัติความเป็นมา แต่ทางคณะโบราณคดีก็จะมีเอกที่เป็นเกี่ยวกับภาษา เช่น ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศสอยู่ คือถ้าเรียนโบราณคดีก็จะสามารถไปลงเรียนกับอักษรศาสตร์ในบางวิชาได้ด้วย เพราะโดยเนื้อหาแล้วคล้ายๆ กัน แต่ทำหน้าที่และการเรียนที่ค่อนข้างแตกต่างกัน ซึ่งสองคณะนี้สามารถมาแชร์ความรู้ที่เกี่ยวเนื่องกันได้”

istock-156886497

"การลงพื้นที่" อย่างที่เห็นในละคร ไปศึกษาอะไรกัน

“คาดว่าจะเป็นการลงพื้นที่ศึกษาการขุดค้นโบราณสถาน ศึกษาว่าโบราณสถานนั้นสร้างเมื่อไหร่ มีรูปแบบอย่างไร อีกทั้ง โบราณสถานมีหน้าที่การใช้งานอย่างไร และกิจกรรมอะไรที่คนโบราณเข้าไปทำในสมัยก่อน”

istock-912918978

เรียนโบราณคดี ต้องขุดซากฟอสซิลไดโนเสาร์ไหม

“เรียกว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะว่าเวลาเราพูดถึงคำว่า “โบราณ” อะไรที่เก่าๆ ก็จะถูกเหมารวมว่าเป็นของโบราณหมด ซึ่งฟอสซิลก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ด้วยสื่อที่เป็นภาพยนตร์ในการนำเสนอ เช่น อินเดียนา โจนส์ ก็เป็นการตามล่าหาสมบัติ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะวิชาโบราณคดีเป็นวิชาที่สืบค้นความเป็นมาของมนุษย์โบราณ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับมนุษย์อย่างเดียว คณะโบราณคดีถือกำเนิดขึ้นมาจากการตั้งคำถามที่ว่า มนุษย์ มีต้นกำเนิดมาจากอะไร สิ่งที่มันเก่าไปก่อนหน้านี้ เราจะศึกษามันอย่างไร เลยเกิดกระบวนการขุดค้นทางด้านวัตถุโบราณขึ้นมา” 

โบราณคดี จำเป็นต่อการศึกษาในอนาคตหรือไม่

“มันมองได้หลากหลายแง่มุมมากๆ คือ ต่อให้เวลาทางประวัติศาสตร์มันเดินไปข้างหน้า ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่หลงเหลืออยู่ข้างหลังเรา ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถาน วัตถุโบราณ ซึ่งของเหล่านี้มันมีคุณค่าให้เราอยู่ 2 อย่าง คือ ประโยชน์ทางการศึกษา คือการบอกเล่าเรื่องราวของสังคมในอดีต บอกถึงองค์ความรู้ในตัวโบราณสถาน ความเชื่อต่างๆ ให้เราได้ศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ เป็นการฝึกวิธีคิดสำหรับการตั้งคำถาม เช่น ทำไมฝรั่งถึงอยากเข้ามาในอยุธยา หรืออยุธยาในอดีตมีสิ่งของอะไรที่ฝรั่งต้องการ เป็นต้น และ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ คือการท่องเที่ยว เห็นได้ชัดว่า คนในหลากหลายประเทศเข้ามาเพื่อชื่นชมโบราณสถาน โบราณวัตถุ ไม่ว่าจะเป็นอยุธยา สุโขทัย พิมาย เชียงใหม่ ดังนั้น โบราณคดีก็เป็นวิชาที่ช่วยให้เรียนรู้ประเทศ ประวัติศาสตร์ และธุรกิจของประเทศ ในด้านต่างๆ ซึ่งก็คิดว่ามีความจำเป็นอยู่ในแต่ละประเทศทั่วโลก และยังคงคิดว่าควรมีการศึกษาต่อไปเรื่อยๆ ในอนาคต”

เตรียมตัวอย่างไรในการเรียนโบราณคดี

“ก่อนเข้าเรียนในคณะนี้ ต้องถามใจตัวเองก่อนว่า ชอบโบราณคดีและเข้าใจในวิชาโบราณคดีมากน้อยเพียงใด และด้วยการเรียนที่มันเข้มข้นขึ้น การอ่านหนังสือเป็นส่วนสำคัญ หรือในช่วงตัดสินใจที่จะเข้ามาเรียนนั้นต้องมีการบอกที่บ้านให้เข้าใจถึงการเรียนโบราณคดี ซึ่งมักจะมีการออกภาคสนามหลายวัน อยู่กับดินกินกับทราย ต้องคุยกับทางบ้านให้เข้าใจด้วย เรื่องสำคัญคือร่างกาย ต้องเจอแดด ต้องขุดค้น”

ถือว่าเป็นอีกหนึ่งคณะในฝันสำหรับเด็กๆ หลายๆ คนแน่นอน เพราะ คณะโบราณคดีนั้น เป็นอีกหนึ่งคณะที่คะแนนสูงอยู่แทบทุกปี รวมทั้งยังมีสื่อต่างๆ ที่คอยเผยแพร่ อาทิ ภาพยนตร์ ละคร ที่เห็นได้อย่างชัดเจนเลยคือละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส รวมทั้งภาพยนตร์ในตำนานเป็นต้นตำรับอย่าง อินเดียนา โจนส์ ที่ทำให้คณะโบราณคดีนั้น ครึกครื้น และจุดประกายเด็กๆ หลายคนขึ้นมาอีกโดยทันที 

อ่านเรื่องราวอื่นๆเพิ่มเติม

งามจนต้องตะลึง เปิดโปรไฟล์ "แม่หญิงสูงศักดิ์" ละครบุพเพสันนิวาส

เอกสารฝรั่งบันทึก “ขนบ” สาวกรุงศรีฯ ที่ “การะเกด” ต้องเรียนรู้

เป็นที่หมายตา "โมสต์ วิศรุต" นายจ้อย หนุ่มผู้แย่งซีน... หมื่นสุนทรเทวา

10 คำศัพท์ บุพเพสันนิวาส ที่ออเจ้าทั้งหลายควรรู้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook