แท้จริงแล้วใครสร้างตำนานให้เสื้อฮาวาย

แท้จริงแล้วใครสร้างตำนานให้เสื้อฮาวาย

แท้จริงแล้วใครสร้างตำนานให้เสื้อฮาวาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 hawaii

ดูเหมือนว่าเรื่องเสื้อฮาวาย จะกลายเป็นดราม่าย่อมๆ ของเหล่าแฟนคลับศิลปินไทยและเกาหลีไปแล้วว่าใครเอามาใส่ก่อนใคร เอาเป็นว่าเราจะไม่เถียงเรื่องนี้กัน เพราะเสื้อฮาวายที่แท้นั้นมีต้นกำเนิดมาก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเสียอีก แล้วเสื้อฮาวายตัวแรกที่ผลิตขายนั้นก็มาจากผ้ากิโมโน และพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันและต้องจำให้ขึ้นใจว่า เสื้อฮาวายแท้ๆนั้นต้องมีกระเป๋าเสื้ออยู่ที่หน้าอกด้านซ้าย

ถ้าอย่างนั้นแล้ว เราจะมาถกเถียงกันอยู่ทำไม แต่มาหาคำตอบที่น่าสนใจกันดีกว่าว่าเสื้อฮาวาย ในตำนานนั้น มีต้นกำเนิดมาอย่างไร และ ใครคือคนแรกที่ใส่แล้วทำให้เสื้อได้รับความนิยมในระดับ Global ขนาดนี้

ต้นกำเนิดของ เสื้อฮาวาย หรือ อโลฮ่า เชิร์ต

อโลฮา เชิร์ต หรือ ฮาวายเอี้ยน เชิร์ต หรือ ที่เมืองไทยเรียกว่า เสื้อฮาวาย มีต้นกำเนิดที่เกาะฮาวาย เป็นเสื้อเชิ้ตที่ในปัจจุบันได้รับความนิยมไปทั่วโลก และเสื้อลักษณะดังกล่าวกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญจากเกาะฮาวาย

เสื้อเชิ้ต ฮาวายแบบออริจินัล นั้น จะเป็นเสื้อที่มีสีสันสะดุดตาและมีลายพิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของฮาวาย กับลายพิมพ์ดอกไม้ใบไม้ที่มากับสีสันฉูดฉาด ลักษณะสำคัญอีกแบบคือ เสือฮาวายจะเป็นเสื้อที่มีแขนสั้น เป็นเสื้อเชิ้ตคอแบะ และของแท้นั้นต้องมีกระเป๋าเสื้ออยู่ทางด้านซ้าย

สำหรับ เสื้อฮาวายนั้นใส่ได้ทั้งหญิงและชาย โดยของผู้หญิงจะมีลักษณะที่แตกต่างออกไปโดยปลายเสื้อจะถูกทำให้สั้นลง และเป็นลักษณะของเชิ้ตคอวี

แต่เดิมนั้นเสื้อฮาวายถูกผลิตขึ้นเพื่อให้คนท้องถิ่นได้ใช้กัน และ เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นเสื้อที่ใส่อย่างเป็นทางการได้ สามารถใส่เสื้อฮาวายไปทำงาน ติดต่อสถานที่ราชการได้หมด และเหนืออื่นใดก็เป็นเสื้อที่ใช้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้ได้รู้ว่าพวกเขาเดินทางมาถึงฮาวายอย่างแท้จริงแล้ว

จากผ้ากิโมโน สู่เสื้อฮาวายสุดฮิตในปัจจุบัน

ในเดือนมิถุนายน ปี 1935 เสื้อฮาวายตัวแรกได้ถูกวางจำหน่าย โดยวางขายที่ ร้าน “มาซาชิญา โชนเทน” ในเมืองโฮโนลูลู เป็นร้านของชาวญี่ปุ่นที่อพยพมาตั้งรกรากที่ฮาวาย หลังจากที่เจ้าของร้ายคนแรกเสียชีวิตร้านก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น มาซาชิญา โชเทน โดยลูกชายของเจ้าของร้านคนแรกดำเนินกิจการ และเขาได้ตัดเย็บเสือฮาวายออกขายเป็นครั้งแรก โดยนำผ้า กิโมโน มาใช้ในการตัดเย็บ

ต่อมาได้มีการพัฒนาเสื้อฮาวายไปอีกขั้นโดยพ่อค้าชาวจีนที่มีร้านอยู่ในเมือง ไวกิกิ และนับเป็นพัฒนาการของเสื้อฮาวายที่สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับ นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากเสื้อฮาวายทุกตัวถูกซื้อแบบเหมาหมดในร้านของพ่อค้าชาวจีน

และที่สร้างกระแส จนทำให้เสื้อฮาวายได้รับความนิยมไปทั่วโลกส่วนหนึ่งมาจากภาพ เอลวิส เพรสลี่ย์ ใส่เสือฮาวายบนปกแผ่นเสียงเพลงประกอบภาพยนตร์ Blue Hawaii ในปี 1961ซึ่งหลังจากนั้น เสื้อฮาวาย ก็กลายเป็นเสื้อที่ข้ามน้ำข้ามทะเลดังไปไกล จนมาถึงเมืองไทย จวบจนกระทั่งปัจจุบันสมัย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook