"ต้านพิษสุนัข" นักวิทยาศาสตร์ มธ.ชี้ 4 ประเภทคุณสมบัติสิ่งทอพิเศษป้องกันเขี้ยวสัตว์กัด

"ต้านพิษสุนัข" นักวิทยาศาสตร์ มธ.ชี้ 4 ประเภทคุณสมบัติสิ่งทอพิเศษป้องกันเขี้ยวสัตว์กัด

"ต้านพิษสุนัข" นักวิทยาศาสตร์ มธ.ชี้ 4 ประเภทคุณสมบัติสิ่งทอพิเศษป้องกันเขี้ยวสัตว์กัด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

nilon

กรุงเทพฯ 20 มีนาคม 2561 - นักวิทยาศาสตร์สิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แนะเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสุนัขหรือแมวจำนวนมาก อาทิ สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่เทศบาล เจ้าหน้าที่ดูแลสุนัขจรจัด ฯลฯ ควรสวมใส่ “เสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์ที่มีความเหนียว” อย่าง ไนลอน โอลีฟิน ที่มีความแข็งแรง และเหนียวกว่าเส้นด้ายที่ใช้ถักทอเสื้อผ้าปกติ โดยสามารถรับแรงดึงและทนทานต่อการขัดถู และ “เนื้อผ้าที่มีความหนามากกว่า 0.30-0.50 มิลลิเมตร” หรือจากการนำผ้าทอสองผืนมาทับ 2 ชั้นขึ้นไป มาเย็บเกี่ยวให้แนบสนิทจนรวมเป็นผ้าผืน จะช่วยเพิ่มความหนาของชั้นผ้า สามารถชะลอการเข้าถึงของเขี้ยวสุนัข และบรรเทาอาการบาดเจ็บหากโดนสุนัขกัด พร้อมแนะกรณีลดการพึ่งพาหนังหรือขนสัตว์แท้ เพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าหรือกระเป๋าแฟชั่น สามารถใช้ขนสังเคราะห์-เส้นใยอะคริลิค เส้นใยสังเคราะห์ที่มีต้นทุนต่ำ ดูแลรักษาง่าย อีกทั้งยังมีผิวสัมผัสที่นุ่มนวล โดยสามารถให้ความอบอุ่นเหมือนเส้นใยจากขนสัตว์แท้

268410

                อาจารย์จิราพร หุตะกมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ที่มีประชาชนได้รับบาดเจ็บจนเสียชีวิต จากการถูกสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า หรือมีเชื้อไวรัสเรบีย์ (Rabies) กัด ซึ่งปัจจุบันพบว่าผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสดังกล่าว ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในทางการแพทย์ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันตนเองในเบื้องต้น สำหรับบุคคลที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสุนัขเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการโดนกัดหรือข่วนด้วยเล็บจนเกิดบาดแผล อาทิ อาทิ สัตวแพทย์ เจ้าหน้าที่เทศบาล เจ้าหน้าที่ดูแลสุนัขจรจัด ฯลฯ จึงควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่มีคุณลักษณะพิเศษดังต่อไปนี้  

996929

  • ใช้เส้นใยสังเคราะห์ที่มีความเหนียว เส้นใยสังเคราะห์อย่าง โอลีฟิน (Olefin) ที่ประกอบด้วยพอลิเมอร์ของพอลิเอทิลีน (Polyethylene) หรือ ไนลอน (Nylon) ที่ถือเป็นโพลิเมอร์แบบกึ่งผลึก จัดอยู่ในกลุ่มโพลิเอไมด์ (polyamide) มีคุณสมบัติเหนียวกว่าเส้นด้ายที่ใช้ถักทอเสื้อผ้าปกติ มีความแข็งแรง สามารถรับแรงดึงและทนทานต่อการขัดถูหรือฉีกขาด ซึ่งเส้นใยดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ การพัฒนาเป็นอวนจับปลาสำหรับชาวประมง เชือกพรม เป็นต้น

200552

  • มีการสับหว่างของเส้นด้าย การสับหว่างของเส้นด้ายจะทำให้เกิดชั้นผ้า หรือ เลเยอร์ (Layer) ผ่านการสานเส้นด้าย 2 ชุดให้ขัดกันเป็นมุมฉาก ระหว่าง “เส้นด้ายยืน” เส้นด้ายที่ขึงไปตามแนวยาวของผ้า กับ “เส้นด้ายพุ่ง” เส้นด้ายที่สอดขัดกับด้ายยืนตามแนวขวาง เพื่อเป็นการเพิ่มความแข็งแรงของผ้าให้ทนต่อการฉีกหรือขาด

525468

  • เนื้อผ้าหนา 30-0.50 มิลลิเมตรขึ้นไป สำหรับเนื้อผ้าที่มีความหนามากกว่า 0.30-0.50 มิลลิเมตร จะเป็นผ้าชนิดพิเศษมีความหนากว่าปกติกว่าเสื้อที่สวมใส่ทั่วไป หรือจากการนำผ้าทอสองผืนมาทับ 2 ชั้นขึ้นไป จากนั้นจึงใช้เส้นด้ายเย็บเกี่ยวให้แนบสนิทจนรวมเป็นหนึ่งผืน จะช่วยเพิ่มความหนาของชั้นผ้า ซึ่งสามารถชะลอการเข้าถึงของเขี้ยวสุนัข และบรรเทาอาการบาดเจ็บ

454195

  • เป็นผ้าหนังสัตว์ (Leather) หรือหนังเทียม (Faux leather) สำหรับหนังสัตว์ จะมีคุณสมบัติเฉพาะคือมีความเหนียว คงทน แต่ด้วยต้นทุนที่สูงสำหรับการทำเสื้อผ้า หรือกระเป๋าเพียง 1 ชิ้น จึงมีนวัตกรรมหนังเทียม ซึ่งเป็นหนังสังเคราะห์ที่ทำเลียนแบบหนังสัตว์แท้ หรือผ้าใบที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง อีกทั้งยังมีต้นทุนต่ำ และดูแลรักษาง่าย พร้อมกันนี้ เพื่อเป็นการป้องกันจากการโดนสุนัขกัดอีกหนึ่งชั้น อาจทำการบุพิเศษด้วยผ้าสักราด ผ้ากาวชีฟอง หรือผ้าไม่ถักไม่ทอ (Non-woven) ซึ่งจะช่วยระบายอากาศและป้องกันการอับชื้น

                ทั้งนี้ สำหรับคุณลักษณะของเสื้อผ้าในข้างต้น เป็นเพียงการป้องกันในเบื้องต้น โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยร่วม อาทิ ความดุร้าย ความยาวของเขี้ยวสุนัขหรือเล็บแมว และบริเวณที่โดนสุนัขกัดหรือโดนแมวข่วน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม กรณีที่ประชาชนได้รับบาดเจ็บจากการถูกสุนัขกัดหรือข่วน ให้รีบล้างทำความสะอาดแผลและไปพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันเชื้อในเบื้องต้น ขณะเดียวกันประชาชนที่มีสุนัขหรือแมวอยู่ภายใต้การดูแล ควรพาไปขึ้นทะเบียนสัตว์และฉีดวัคซีนป้องกัน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสัตว์เลี้ยง อาจารย์จิราพร กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เฟสบุ๊คแฟนเพจ www.facebook.com/ScienceThammasat หรือเว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook