รู้หรือยัง? "การเรียนต่อต่างประเทศ" เริ่มต้นจากสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

รู้หรือยัง? "การเรียนต่อต่างประเทศ" เริ่มต้นจากสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

รู้หรือยัง? "การเรียนต่อต่างประเทศ" เริ่มต้นจากสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

685576

การเรียนต่อต่างประเทศ เป็นสิ่งที่ทุกคนก็ต้องมีความใฝ่ฝันกันทั้งนั้น ว่าแต่... การไปเรียนต่อต่างประเทศมันเริ่มต้นมายังไงกัน ? วันนี้ทาง Sanook! Campus จะพาไปสัมผัสและรู้จักการเริ่มต้นของการไปเรียนรู้ สัมผัส ศึกษาวัฒนธรรมต่างประเทศกัน

การเดินทางไปต่างประเทศนั้นนอกจากจะเรียนรู้แล้ว ยังเป็นการไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ และภาษาเพื่อที่จะกลับมาเผยแพร่ และเป็นทักษะติดตัวอย่างหนึ่งเป็นอย่างมาก 

ซึ่งการเดินทางไปศึกษาหาความรู้ในต่างแดนนั้น ประเทศไทยเริ่มต้นที่สมัย "อยุธยา" ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ผู้ที่มีความสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศอย่างมากในยุคนั้น โดยจุดเริ่มต้นมาจากการส่งทูตไปสัมพันธ์ไมตรีในต่างแดน ซึ่งสิ่งนี้คือจุดเริ่มต้นที่คนไทยได้มีโอกาสไปเรียนเมืองนอกด้วย

และทูตที่ไปนั้นจะได้อะไรกลับมาบ้าง? นอกจากการไปสร้างไมตรีกับเพื่อนบ้านต่างแดนแล้วนั้น สิ่งที่ทูตต้องนำกลับมาบอกต่อก็คือวัฒนธรรม ระบบการจัดการคนของประเทศเหล่านั้น เพื่อกลับมาพัฒนาประเทศต่อไป รวมถึงสร้างกำลังที่คอยหนุนหลังประเทศชาติ เมื่อเปรียบเทียบกับสมัยนี้ก็เหมือนกันการสร้างความรู้เพื่อกลับมาพัฒนาตนเองให้มีความสามารถที่หลากหลายและก็ยังเป็นพลังงสำคัญในการพัฒนาประเทศ เฉกเช่นเดียวกัน

เริ่มต้นจากการที่ยุโรปได้เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา แลกเปลี่ยนสินค้ามากมาย นำเทคโนโลยี อาวุธต่างๆมาส่งต่อ สินค้าที่ไม่มีในประเทศแลกเปลี่ยนกันรวมทั้งศาสนาที่ต้องการมาเผยแพร่ในต่างแดน ซึ่งแนวคิดนี้ส่งผลให้ พระนารายณ์จึงอยากส่งคนไปต่างแดนด้วยเพื่อพัฒนาความเจริญของประเทศสยามให้เท่าเทียมกับต่างประเทศนั่นเอง

560000001906803

พระองค์ทรงคัดเลือกคนที่จะไปทำหน้าที่เป็นคณะราชทูตและเดินทางไปยังฝรั่งเศส ลูกของข้าราชการไทยจำนวน ๑๒ คน ซึ่งจากใน "ละครบุพเพสันนิวาส" เราก็จะได้รู้กันบ้างว่ามีใครทำหน้าที่นี้ ซึ่งนำโดยออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน), ขุนศรีวิสารวาจา(หมื่นสุนทรเทวา) พร้อมทั้งทรงมอบหมายให้คณะบาทหลวงที่ติดตามราชทูต ช่วยเหลือจัดการด้านที่อยู่อาศัยและผู้อุปการะเด็กๆ เหล่านี้อีกด้วย

ซึ่งจากประวัติศาสตร์ บาทหลวงได้บันทึกเรื่องราวและรายชื่อเด็กนักเรียนนอกรุ่นแรกของสยามประเทศได้ดังนี้ (ข้อมูลจาก เพจ:กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา อ้างอิงมาจาก : ประชุมพงศาวดารเล่ม ๒๐ จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส และ แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ น.พ.วิบูล วิจิตรวาทการ)

560000001906805

คนที่ ๑ ชื่อ “พี” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “Pierre Emmanuel” มีท่านดุ๊ก ดิ อัลแบร์ต เป็นผู้อุปถัมป์

คนที่ ๒ ชื่อ “เพ็ชร” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “Jean Baptiste” มีท่านมองสิเออร์ ไบล์ลี่ กับมาดามรอยล์ลี่ เป็นผู้อุปถัมป์

คนที่ ๓ ชื่อ “อ่วม” เปลี่ยนชื่อเป็น “Paul Artus” ได้เชอวาลิเยร์ เดอ โชมอง (ราชทูตฝรั่งเศสที่เข้ามาถวายพระราชสานส์แด่สมเด็จพระนารายณ์) และมาดามเดอ ลีออน เป็นผู้อุปถัมป์

คนที่ ๔ ชื่อ “ชื่น” เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “Louis” ได้มองสิเออร์ เปเลตติเยร์ ที่ปรึกษาสภา กับมาดาม ดิ อัลลิเกร เดอ บุยแลงเดรย์ เป็นผู้อุปถัมป์

คนที่ ๕ ชื่อ “ไก่” มีอาชีพเป็นช่างทอง เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “Francois Xavier” ได้สังฆราช มิลลง กับมาควิส เด รุยส์ซี่ เป็นผู้อุปถัมป์

คนที่ ๖ ชื่อ “มี” เปลี่ยนชื่อเป็น “Henri Olivier” ได้บาทหลวง เดอ ฟองซี่ เป็นผู้อุปถัมป์

คนที่ ๗ ชื่อ “ด่วน” มีอาชีพเป็นช่างก่อสร้าง เปลี่ยนชื่อเป็น “Philippe” มีมองสิเออร์ เดอ คาสติลลี่ กับมาดาม เดอ เพรสซั่น เป็นผู้อุปถัมป์

คนที่ ๘ ชื่อ “สัก” เปลี่ยนชื่อเป็น “Francois” ได้มองสิเออร์ ดู รุย พอลลู กับมาดาม เดอ วาลิเยร์ เป็นผู้อุปถัมป์

คนที่ ๙ ชื่อ “เทียน” เปลี่ยนชื่อเป็น “Tiiomas” ได้มองสิเออร์ เดอ ลาร์กนีย์ กับมาดามครุยส์เซตโต้ เป็นผู้อุปการะ

และคนที่ ๑๐ ชื่อ “วุ้ม” เปลี่ยนชื่อเป็น “Nicolas” ได้ผู้อำนวยการราชบริษัทอินเดียฝ่ายตะวันออก กับมาดามโกรสแลง ภรรยาของเจ้าของโรงแรมที่คณะราชทูตพักอยู่เป็นผู้อุปการะ

ส่วนเด็กคนที่ ๑๑ ไม่ได้ระบุชื่อ ในบันทึกเพียงแต่บอกว่ากำลังป่วยมาก และถ้าหายป่วยแล้วจะได้มาดามเดอลากิสส์ เป็นผู้อุปถัมป์ ส่วนคนที่ ๑๒ นั้นไม่ได้ระบุเสียเฉยๆ คาดว่าน่าจะเสียชีวิตในระหว่างเดินทาง

ซึ่งเด็กทั้งหมดนั้นได้เข้ารับการศึกษาจาก  “โรงเรียนหลุยส์เลอกรัง” (Lycée Louis le Grand : โรงเรียนเดียวกับที่วอลแตร์เคยเรียน) มีวิชาต่างๆมากมายที่ได้ศึกษา อาทิเช่น การเรียนศาสนา, วิชาทำน้ำพุ, วิชาก่อสร้าง และวิชาช่างเงินช่างทอง โดยส่วนใหญ่จะเป็นวิชาชีพ

ซึ่งะพวกเขาทั้งหมดนั้นใช้เวลาร่ำเรียนถึง 7 ปีด้วยกัน หลังจากนั้นในสมัยอยุธยาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงและการสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเกิดการต่อต้านและขับไล่ชาวฝรั่งเศสให้ออกจากประเทศ ส่งผลให้ เด็กทั้งหมดในเมืองฝรั่งเศสที่ศึกษาเล่าเรียนอยู่นั้นถูกส่งกลับมายังกรุงศรีอยุธยา เช่นกัน

หลังจากนั้นทำให้เรื่องราวของเด็กเหล่านี้ไม่ได้มีการพูดถึง รวมทั้งการที่พวกเขานำวิชาเหล่านี้มาสร้างผลงานอะไรให้แก่กรุงศรีอยุธยาบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

ถือได้ว่าเรื่องราวทั้งหมดเป็นจุดเริ่มต้นในการมีแนวคิดที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ วัฒนธรรม ระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันโลกและประเทศต่างๆเปิดกว้างขวาง เด็กไทยในยุคปัจจุบันบางคนเลือกที่จะเดินทางไปศึกษาต่างประเทศและนำความรู้ที่ได้มาเลี้ยงชีพตน บางคนถึงกับดำรงชีวิตอยู่ในต่างแดนเสียด้วยซ้ำ ทั้งหมดเป็นเกร็ดความรู้และจุดเริ่มต้นของคำว่า "เรียนต่อต่างประเทศ" 

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ

อัลบั้มภาพ 1 ภาพ ของ รู้หรือยัง? "การเรียนต่อต่างประเทศ" เริ่มต้นจากสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook