"กฎระเบียบในโรงเรียน" อันแสนโหดร้ายที่เหล่านักเรียนญี่ปุ่นต่างร้องยี้

"กฎระเบียบในโรงเรียน" อันแสนโหดร้ายที่เหล่านักเรียนญี่ปุ่นต่างร้องยี้

"กฎระเบียบในโรงเรียน" อันแสนโหดร้ายที่เหล่านักเรียนญี่ปุ่นต่างร้องยี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

black-rule2

ภายใต้ชุดนักเรียนญี่ปุ่นที่ดูคิขุอาโนเนะแสนน่ารัก แต่เพื่อนๆเคยรู้กันหรือไม่ว่า อันที่จริงแล้วโรงเรียนมัธยมญี่ปุ่นบางโรงเรียนกลับมีกฎระเบียบในโรงเรียนที่เคร่งครัดมาก แถมบางกฎก็เข้าขั้นโหดร้ายแบบเข้าใจได้ยากถึงเหตุผลและที่มาที่ไป คราวนี้เราเลยได้รวบรวมกฎระเบียบในโรงเรียนมัธยมญี่ปุ่นที่เด็กๆญี่ปุ่นต่างโหวตให้ว่าเป็นกฎระเบียบที่โหดร้ายทำร้ายจิตใจเสียเหลือเกิน

กฎระเบียบอันโหดร้ายอันเป็นที่โจษจัน

เรื่องกฎระเบียบของบางโรงเรียนที่ดูจะเคร่งครัดและดูจะขาดซึ่งมนุษยธรรมเกินไปนั้น กำลังเป็นที่พูดถึงในวงกว้างที่ประเทศญี่ปุ่น หนึ่งเคสที่เป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตขึ้นมาก็คือ การที่มีครูของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ต่อว่านักเรียนที่เป็นลูกครึ่งที่มีผมที่น้ำตาลให้ไปโกรกผมเป็นสีดำ พร้อมทั้งบอกว่าถ้าเป็นคนญี่ปุ่นก็ต้องมีผมสีดำ!! และจากหลายๆเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้กลุ่ม NPO ต้องมาออกโรงเปิดเผยถึงปัญหากฎระเบียบที่โหดร้ายเกินไป จนนำไปสู่ปัญหาการกลั่นแกล้งภายในโรงเรียน

black-rule3

ตัวอย่างของกฎระเบียบอันเคร่งครัด

เริ่มอยากรู้กันบ้างแล้วใช่ไหมละคะว่า ไอ้กฎที่ว่าโหดๆนี่มันเป็นยังไงกันนะ? มันจะสู้ผมติ่งหูสมัยก่อนของบ้านเราได้หรือเปล่า? ไปดูกฎระเบียบโหดๆของโรงเรียนที่ญี่ปุ่นบางส่วนกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

  1. ห้ามไม่ให้รวบผมหางม้าสไตล์โพนี่เทล เพราะมันดูยั่วยวนเกินไป
  2. ห้ามกินน้ำระหว่างอยู่ในโรงเรียน
  3. นักเรียนต้องใส่ชั้นในสีขาวเท่านั้น
  4. ห้ามทาครีมกันแดด ห้ามทาลิปมัน
  5. ผู้ชายไปเข้าห้องน้ำได้ไม่เกิน 1 นาที ส่วนผู้หญิงเข้าได้ไม่เกิน 3 นาที ถ้าหากเกินถือว่าขาดเรียน

นี่ถือว่าเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นนะคะ แต่ที่จริงยังมีอีกหลายกฎระเบียบที่ดูเหมือนจะเคร่งครัดจนเกินไป จนนักเรียนรู้สึกว่ารับไม่ได้ ถึงแม้หลายๆคนจะรู้สึกว่านี่เป็นกฎระเบียบที่ดูไร้ความจำเป็นและไม่มีเหตุผล แต่กว่าครึ่งของโรงเรียนมัธยมในกรุงโตเกียวที่มีอยู่ทั้งหมด 173 โรง ก็ยื่นเรื่องว่ากฎระเบียบอันเคร่งครัดของโรงเรียนนั้นสมเหตุสมผล และเป็นการกระทำที่ถูกต้องแล้ว

แต่ละโรงเรียนที่กำหนดกฎระเบียบอันแสนเข้มงวดเหล่านี้ขึ้นมา คงเกิดจากความตั้งใจที่อยากจะให้นักเรียนโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่รักษากฎระเบียบได้ และต้องการสร้างความเท่าเทียมให้กับทุกคน แต่ในยุคที่สื่อดิจิทัลและสมาร์ทโฟนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของวัยรุ่นไปแล้ว การบังคับและควบคุมยังจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดในการสร้างเด็กคนหนึ่งให้กลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้อยู่หรือไม่ ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดไม่เบานะคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook