เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา !?

เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา

เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา !?

สำหรับน้องๆ ม.ปลาย ที่กำลังเตรียมตัวจะเข้ามหาวิทยาลัย ทุกๆ คนก็คงง่วนอยู่กับการทำ Portfolio เพื่อยื่นเข้ามหาวิทยาลัยกันทั้งนั้น Portfolio ก็คือ แฟ้มสะสมงาน ซึ่งถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราจะใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้นการทำ Portfolio ให้น่าสนใจ โดดเด่น จนกรรมการมีคำถาม หรืออยากจะคุยกับเรา ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เลยนะคะ

ใน Portfolio ต้องมีอะไรบ้าง?


พื้นฐานของ Portfolio โดยทั่วไปแล้วควรประกอบไปด้วย หน้าปก Portfolio, ประวัติส่วนตัว, ประวัติการศึกษา, กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม, รางวัลที่เคยได้รับและผลงานต่างๆ, ภาคผนวก

เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา !?

เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา !?

1. หน้าปก Portfolio


การทำหน้าปก Portfolio นั้นไม่ยาก แต่ก็ไม่ง่ายไปเลยซะทีเดียว เราต้องทำยังไงก็ได้ให้ปกแฟ้มสะสมงานของเราดูน่าสนใจจนกรรมการผู้สัมภาษณ์หยิบขึ้นมาอ่าน ถ้าทำแบบนี้ได้ก็ถือว่าสำเร็จแล้วละค่ะ

  • เทคนิค : เราควรบอกข้อมูลพื้นฐานของเราในหน้าปกด้วย เช่น ชื่อ-นามสกุล และโรงเรียน เป็นต้น ควรบอกข้อมูลในชัดเจน เลือกฟอนต์ตัวหนังสือให้อ่านง่าย เห็นชัด รูปภาพตัวเราบนหน้าปกควรเป็นรูปที่ดูแล้วรู้ทันทีว่าคือเรา อาจใส่ชุดไปรเวทได้ แต่ยังต้องอยู่ในความสุภาพเรียบร้อยอยู่ ควรหลีกเลี่ยงภาพที่ใส่กางเกงยีนส์ขาดๆ หรือเสื้อสายเดี่ยวต่างๆ

 เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา !?

2. ประวัติส่วนตัว


บอกประวัติส่วนตัวของตนเองให้ละเอียด อย่างเช่น ชื่อ-นามสกุล, ชื่อเล่น, อายุ, วันเกิด, กรุ๊ปเลือด, นิสัย, ความชอบ หรืองานอดิเรก, สิ่งที่สนใจ หรือแม้กระทั่งว่าเรามองอนาคตอย่างไรก็สามารถใส่เข้าไปในส่วนนี้ได้

  • เทคนิค : การเลือกฟอนต์เป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกฟอนต์ที่อ่านง่าย สะอาดสะอ้าน และมองเห็นได้ชัด และในส่วนนี้น้องๆ อาจโชว์ความสามารถสักหน่อยโดยการทำประวัติส่วนตัวเป็น 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤ


3. ประวัติการศึกษา


บอกประวัติการศึกษาของตนเองโดยเรียงจากระดับจากน้อยที่สุดมาจนปัจจุบัน หากมั่นใจในเกรดเฉลี่ยของตนเองก็สามารถใส่เข้าไปในส่วนนี้ได้เลย หากต้องการใส่ทรานสคริปแนะนำว่าให้ใส่ในส่วนของภาคผนวกแทน ชื่อโรงเรียนที่เขียนควรเป็นชื่อโรงเรียนแบบเต็มยศนะคะ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวย่อในการทำ Portfolio นะคะ

  • เทคนิค : อาจเลือกอธิบายประวัติการศึกษาโดยแบ่งเป็น ระดับประถม ระดับมัธยมตอนต้น ระดับมัธยมตอนปลาย หรือระดับอาชีวศึกษา เป็นต้น และใช้เทคนิคการอธิบายแบบตาราง เพื่อให้ดูเข้าใจง่าย 


4. กิจกรรมที่เคยเข้าร่วม


ส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักของ Portfolio เลยก็ว่าได้ ดั้งนั้นควรเลือกกิจกรรมเด่นๆ ของเรามาใส่ในส่วนนี้ดีๆ นะคะ กิจกรรมในที่นี้หมายถึงกิจกรรมที่ไม่ใช่ด้านวิชาการต่างๆ โดยอาจจะเลือกการจัดเรียงแบบระดับชั้นก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย อย่างเช่น เมื่อต้นระดับชั้นมัธยมต้นเคยทำกิจกรรมอะไรบ้าง เป็นต้น

  • เทคนิค :  เลือกใส่ผลงานที่เด่นๆ และมีความเกี่ยวข้องกับคณะที่เราอยากจะเข้า ในแต่ละกิจกรรมอาจเลือกเพียง 3-4 รูปในและเขียนอธิบายใต้ภาพสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายว่าเราทำอะไรในกิจกรรมนั้นๆ


5. รางวัลที่เคยได้รับและผลงานต่างๆ


ส่วนนี้ก็ถือเป็นหัวใจของ Portfolio เช่นกัน ดังนั้น เราควรเลือกแค่ผลงาน หรือรางวัลเด่นๆ ที่สามารถบอกว่าตัวเราเองนั้นมีความสามารถอะไรบ้างโดยการใส่ภาพผลงานนั้นๆ ลงไป ส่วนพวกเกียรติบัตรและรางวัลต่างๆ สามารถอ้างอิงและนำไปใส่ในภาคผนวกได้ค่ะ

  • เทคนิค : ควรเขียนอธิบายความภูมิใจในผลงานต่างๆ ที่เคยได้ทำ ว่าเราภูมิใจอะไรในงานนั้น ลำบากแค่ไหนกว่าจะทำสำเร็จ เป็นต้น

 เทคนิคทำ Portfolio ยังไงให้เข้าตา !?

6. ภาคผนวก


ส่วนนี้คือส่วนที่ร่วมรวบเอกสารและภาพกิจกรรมต่างๆ ที่เราต้องการที่จะใส่เพิ่มเติม โดยเอกสารหลักๆ ที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ สำเนาใบทรานสคริป นั่นเอง ในส่วนของเกียรติบัตรต่างๆ แนะนำว่าให้ถ่ายเป็นสำเนาและเรียงตาม พ.ศ. ที่ได้รับ

  • เทคนิค :ในการใส่เกียรติบัตรหรือภาพต่างๆ ควรมีการระบุเลขหน้าไว้ด้วย เนื่องจากเวลาสัมภาษณ์เราจะได้พูดอ้างอิงได้ง่ายๆ ว่ามาจากเกียรติบัตรหรือกิจกรรมใด


ทั้งหมดนี้ก็คือส่วนประกอบพื้นฐานและเทคนิคต่างๆ ที่ Sanook! Campus หวังว่าจะมีส่วนช่วยน้องๆ ในการเป็นแนวทางทำ Portfolio อย่างไรก็ตาม การใส่ความเป็นตัวของตัวเองลงเป็นใน Portfolio นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ใครชอบแบบเรียบๆ ก็ทำรูปแบบให้ออกมาเรียบๆ สะอาดๆ แต่ก็ดูน่าสนใจได้ ไม่จำเป็นต้องมีสีสันจัดจ้านเสมอไปถึงจะสามารถดึงดูดให้กรรมการผู้สัมภาษณ์มาสนใจได้

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook