แนวทาง "การดูแลสุขภาพจิต" สำหรับ 13 ชีวิตทีมหมูป่า หลังออกมาจากถ้ำหลวง

แนวทาง "การดูแลสุขภาพจิต" สำหรับ 13 ชีวิตทีมหมูป่า หลังออกมาจากถ้ำหลวง

แนวทาง "การดูแลสุขภาพจิต" สำหรับ 13 ชีวิตทีมหมูป่า หลังออกมาจากถ้ำหลวง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดูแลสุขภาพจิต ดูแลจิตใจ สุขภาพจิต นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กับเรื่องสุขภาพกาย ควรทำอย่างไรให้ จิตใจเข้มแข็ง

dhokmr7ueaiajfb

จากเหตุการณ์ที่น้องๆ 13 ชีวิตทีมหมูป่า ได้เข้าไปติดอยู่ในถ้ำหลวงเป็นระยะเวลามากกว่า 10 วันนั้น เป็นสิ่งที่เรียกว่าอันตรายและร้ายแรง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อจิตใจน้องๆ เป็นอย่างมากและนอกจากนั้นอาจจะส่งผลกระทบให้น้องๆ เกิดอาการ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือที่เรียกเป็นภาษาไทยว่า อาการความเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนใจ ได้นั่นเอง

โดย PTSD จะเกิดขึ้นหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง เหตุการณ์ที่สะเทือนใจ โดยส่วนหนึ่งจะมาจากเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั่นเอง

8

แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีป้องกันไม่ให้สุขภาพจิตใจของน้องๆ อยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับกลับมาสู่โลกภายนอก โดยในครั้งนี้ Sanook! Campus เราก็ได้รวบรวม แนวทาง การดูแลสุขภาพจิต สำหรับ 13 ชีวิตทีมหมูป่า หลังออกมาจากถ้ำหลวง ให้ใช้ชีวิตได้อย่างปกติมาให้เพื่อนๆ ได้ศึกษากัน

dhpklpju8aadcvv

สื่อสารและระบายมันออกมา

ถึงจะเป็นเรื่องดี ที่ผู้คนต่างแห่กันเข้ามาให้กำลังใจกันอย่างไม่ขาดสาย แต่นั่นก็อาจจะทำให้น้องๆ เป็นแต่ฝ่ายรับเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ระบายความรู้สึกของตัวเองออกมา ทางที่ดีควรที่จะมีพื้นที่ให้กับน้องๆ ได้ระบายความรู้สึกตัวเองออกมาบ้าง เพราะการที่เก็บความรู้สึกเอาไว้นานๆ แล้วไม่ได้ระบายออกมามันอาจจะทำให้น้องๆ สะสมความเครียดได้

ให้เวลากับน้องๆ

การให้เวลากับน้องๆ เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการปรับตัว เพราะน้องๆ จะได้มีเวลาทบทวนและเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง และทำการตัดสินใจเดินหน้าต่อไปได้ ในขั้นตอนนี้คนที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ให้คำแนะนำกับน้องๆ เมื่อน้องๆ ต้องการก็พอ อย่าเพิ่งเข้าไปเสนอคำแนะนำอะไรแทนน้องๆ

ให้น้องๆ ใช้เวลากับครอบครัว

ไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไรหนักแค่ไหน ยังไงครอบครัวก็คือที่พึ่งแรกที่เด็กๆ จะเข้าหา อย่าเพิ่งดึงตัวน้องๆ ไปหน้าสื่อในช่วงนี้ ให้น้องๆ ได้ปรับทุกข์หรือใช้เวลาที่มีค่ากับครอบครัวให้ได้มากที่สุดก่อนเพื่อได้รับความอบอุ่นและปรับความรู้สึกให้ปกติ ก่อนที่จะให้น้องๆ ตอบคำถามสื่อ

dhpsd3hueaagkcr

ให้น้องๆ อยู่ห่างจากโลกโซเชียลสักระยะหนึ่ง

ในยุคที่สังคมมีเสรีภาพทางการพูดมากขึ้นจากโซเชียลมีเดีย เราไม่สามารถควบคุมคนได้ว่าจะเข้ามาแสดงความเห็นในเรื่องดี หรือเรื่องไม่ดี ซึ่งน้องๆ กำลังผ่านช่วงลำบากของชีวิตมา น้องๆ ไม่ควรที่จะได้รับความเห็นในเชิงลบในตอนนี้ ให้น้องๆ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและสามารถกลับมายืนได้ด้วยตัวเองก่อนแล้วค่อยๆ ปล่อยให้น้องๆ กลับไปใช้งานโลกโซเชียล

ให้น้องๆ ใช้เวลาว่างในการออกกำลังกาย

ดีอยู่แล้วที่น้องๆ เป็นเยาวชนที่รักการออกกำลังกาย เตะฟุตบอล หรือปั่นจักรยาน เวลานี้การออกกำลังกายจะช่วยกำจัดอาการเครียดไปได้เป็นอย่างดี เพราะจากร่างกายมีการหลั่งสารเอนโดรฟิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและมีอารมณ์ที่ดีขึ้นหลังการออกกำลังกายนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook