วัยรุ่นควรรู้ พฤติกรรมอันตราย "ลวนลามทางเพศบนโซเชียล" ภัยเงียบที่ถูกมองข้าม

วัยรุ่นควรรู้ พฤติกรรมอันตราย "ลวนลามทางเพศบนโซเชียล" ภัยเงียบที่ถูกมองข้าม

วัยรุ่นควรรู้ พฤติกรรมอันตราย "ลวนลามทางเพศบนโซเชียล" ภัยเงียบที่ถูกมองข้าม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

istock-675286352

การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ หรือ Cyber Bully อาจเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงอย่างกว้างขวาง แต่รู้หรือไม่ว่า บนโลกโซเชียลไม่ได้มีแค่การกลั่นแกล้งเท่านั้น ยังมีภัยเงียบอย่างเจ้า “Cyber Sexual Harassment” หรือ “การลวนลามทางเพศทางอินเทอร์เน็ต” แฝงตัวอยู่แทบทุกพื้นที่ของโลกออนไลน์ด้วย

วันนี้เราจะพาไปดูว่า พฤติกรรมแบบใดบ้างที่เข้าข่าย Cyber Sexual Harassment และมีกฎหมายฉบับใดกำหนดบทลงโทษเรื่องนี้ไว้หรือไม่

Cyber Sexual Harassment คือ ?

เป็นการใช้ภาษาลวนลามทางเพศผ่านสังคมออนไลน์ ซึ่งทุกเพศ ทุกวัย สามารถตกเป็นเหยื่อของการคุกคามทางเพศในลักษณะนี้ได้ ปัจจุบันพฤติกรรมคุมคามทางเพศผ่านสังคมออนไลน์สามารถพบเห็นไปแทบทุกช่องทาง เนื่องจากสังคมออนไลน์เป็นเสมือนโลกอีกโลกหนึ่ง ที่ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้อยู่ในสังคมออนไลน์ได้ ทำให้เป็นการง่ายที่จะเกิดการกระทำความผิดขึ้น เพราะไม่สามารถติดตามร่องรอยของผู้กระทำความผิดได้

ประกอบกับคนในสังคมส่วนหนึ่งมองว่า การพูดเรื่องตลกทางเพศหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคนอื่นไปในแนวลามก “ไม่ใช่เรื่องผิด เป็นเรื่องปกติที่ใคร ๆ ก็ทำได้ เพราะเราต่างไม่รู้จัก”

ความคิดเห็นแบบใด เข้าข่าย Cyber Sexual Harassment

การเหยียดเพศ

เป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงดูถูกเหยียดหยามรสนิยมทางเพศ หรือเพศสภาพของผู้อื่น โดยเห็นว่าเป็นเรื่องตลก และนำมาล้อเลียนให้อับอาย อาทิ สายเหลือง, ล้างตู้เย็น, ขุดทอง หรือเปลี่ยนทอมให้เป็นเธอ ฯลฯ

การลวนลามทางเพศ

คือ การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศ การพูดถึงอวัยวะเพศ (ชาย/หญิง) เสนอหรือขอทำกิจกรรมทางเพศกับบุคคลดังกล่าว โดยไม่สนใจเรื่องเพศ หรืออายุของผู้ถูกกระทำ อาทิ อยากเลีย/อม_ให้ล้ม, ได้น้อง_สักครั้ง จะตั้งใจเรียน, เห็นกล้ามแล้ว อยาก_ซักคำ, ช่วงนี้ พี่หิวขอกินข้าวหลามน้องได้ไหม หรือเห็นน้องแล้ว พี่อยากเป็นผู้ประสบภัย เป็นต้น

การข่มขู่ทางเพศ

เป็นการข่มขู่ผู้ถูกกระทำและคนสนิทบนโลกออนไลน์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางเพศ โดยพฤติกรรมดังกล่าว ถือว่าเป็นการเกาะติดชีวิตออนไลน์ของผู้อื่น (Cyberstalking) หรืออีกกรณี คือ Revenge Porn เป็นการนำรูปโป๊ของเหยื่อมาข่มขู่หรือแก้แค้น และเหตุการณ์ที่พบบ่อย คือ เมื่อฝ่ายหญิงเลิกกับฝ่ายชาย แล้วฝ่ายชายนำภาพโป๊ที่เคยถ่ายตอนเป็นแฟนกันมาข่มขู่ หรือแก้แค้นฝ่ายหญิง โดยไม่สนใจว่าฝ่ายหญิงจะได้รับความเสื่อมเสียหรืออับอายเพียงใด

สื่อออนไลน์ที่พบข้อความ Cyber Sexual Harassment

  • ทวิตเตอร์
  • เฟซบุ๊ก
  • ยูทูป
  • อินสตาแกรม
  • พันทิป
  • การแสดงความคิดเห็นผ่านการไลฟ์สด ฯลฯ

ตัวอย่างพฤติกรรมที่เข้าข่าย Cyber Sexual Harassment

  • การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคนอื่นไปในแนวลามก
  • การกระจายข่าวลือเรื่องการร่วมเพศ หรือนินทาคนอื่นด้วยข้อความบนสื่อออนไลน์
  • การโพสต์แสดงความคิดเห็นทางเพศภาพหรือวิดีโอลามกบนสื่อออนไลน์
  • ส่งข้อความและภาพลามกผ่านข้อความ
  • กดดันให้คนอื่นมีส่วนร่วมในการส่งข้อความลามก
  • ส่งต่อข้อความและภาพลามกผ่านข้อความหรืออีเมล
  • แอบอ้างเป็นบุคคลอื่นบนสื่อออนไลน์ เพื่อแสดงความคิดเห็นลามกหรือเสนอการร่วมเพศ ฯลฯ

 สิ่งที่ควรย้ำเตือน เพื่อไม่ให้เกิด Cyber Sexual Harassment

  • คนหน้าตาดี ไม่ว่าจะเพศใด อายุเท่าใด หรือสัญชาติไหน ท่องไว้ว่า บุคคลเหล่านั้นไม่ใช่เหยื่ออารมณ์หื่นที่คุณจะนำมาเล่นสนุกบนโซเชียลได้
  • การแต่งตัวเซ็กซี่ หรือล่อแหลม ไม่ใช่ใบอนุญาตคุกคามทางเพศ
  • การแสดงความหื่น ไม่ว่าจะทำกับใครก็ตาม การกระทำของคุณไม่ได้ดูเท่ หรือดูเก่งเหนือใคร แต่เป็นเรื่องน่าอายที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย
  • หากคุณไม่เคารพ “สิทธิส่วนตัว” ของผู้อื่น ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้คนอื่นเคารพสิทธิส่วนตัวของคุณเช่นกัน ฯลฯ

Cyber Sexual Harassment เข้าข่ายความผิดอะไรบ้าง

ปัจจุบันยังไม่มีตัวบทกฎหมายที่กำหนดเรื่องการเอาผิดกับผู้กระทำผิดเรื่องลวนลามทางเพศในสังคมออนไลน์ เนื่องจาก พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 ไม่ได้บัญญัติความผิดเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศบนอินเทอร์เน็ตไว้เป็นการเฉพาะ อีกทั้งประมวลกฎหมายอาญา ก็ไม่มีบทบัญญัติโดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเช่นกัน มีเพียงบทบัญัติทั่วไปที่อาจนำมาปรับใช้ตามกรณีที่เกิดขึ้น อาทิ

พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ 2560

มาตรา 14 ข้อ (4) ที่กล่าวไว้ว่า การนำข้อมูลที่มีลักษณะอันลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การกระทำดังกล่าวถือว่า มีความผิด อาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญา

สำหรับในส่วนของประมวลกฎหมายอาญาที่สามารถนำมาเทียบเคียงได้ อาทิ

  • มาตรา 59 วรรคสอง กล่าวถึงเรื่องเจตนา ว่า ผู้กระทำความผิดรู้อยู่แล้วว่า การกระทำของตน (โพสต์ข้อความในเชิงลามก) จะส่งผลอะไรต่อผู้ถูกกระทำนั้นบ้าง
  • มาตรา 397 กล่าวไว้ว่า บุคคลใดที่กระทำการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่นจนได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ อาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook