135 ปี กิจการไปรษณีย์ไทย จาก “ตู้แดง” สู่ “พี่ตู้...รู้ทุกเรื่อง”

135 ปี กิจการไปรษณีย์ไทย จาก “ตู้แดง” สู่ “พี่ตู้...รู้ทุกเรื่อง”

135 ปี กิจการไปรษณีย์ไทย จาก “ตู้แดง” สู่ “พี่ตู้...รู้ทุกเรื่อง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เวลาผ่านไปเร็วมาก กิจการไปรษณีย์ไทย มาดูวิวัฒนาการของตู้ไปรษณีย์ไทย จาก “ตู้แดง” สู่ “พี่ตู้...รู้ทุกเรื่อง” กันดีกว่า

post(1)

ปัจจุบันในยุคที่การสื่อสารเป็นอย่างสะดวกสบายและรวดเร็ว เพียงแค่พิมพ์แชทในแอปฯไลน์ (Line Application) หรือวิดีโอคอล (Video Call) ก็ช่วยให้การสื่อสารทางไกลเป็นใกล้ได้ง่ายๆ หากย้อนไป 135 ปีที่ผ่านมา การสื่อสารระหว่างคนที่ห่างไกลกัน มีเพียงการส่งจดหมายหรือโปสการ์ด ผ่าน “ตู้แดง” ของไปรษณีย์ไทย และแม้จะต้องใช้เวลาส่งต่อ แต่นั่นก็สร้างคุณค่าทางใจให้ผู้รับได้อย่างงดงาม

นับจากวันนั้น จนถึงวันนี้ไปรษณีย์ไทย ได้ทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงคนไทยและสังคมไทย มาเป็นเวลา 135 ปี และถึงแม้ยุคสมัยเปลี่ยนไปอย่างไร ไปรษณีย์ไทย ก็พร้อมจะอยู่เคียงข้างคนไทยตลอดไป

ตู้แดงเสน่ห์เหนือกาลเวลา

post(13)

ปี 2426 ตู้ทิ้งหนังสือที่เก่าแก่ที่สุดของไทย กรมไปรษณีย์สยามได้รับมอบเป็นของขวัญ จากประเทศเยอรมนี ในโอกาสที่เปิดบริการไปรษณีย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสยาม ลักษณะตู้จะเป็นทรงสี่เหลี่ยมและเป็นโลหะหล่อทั้งชิ้น ในสไตล์วิคตอเรียน

post(4)

ปี 2428 ตู้ไปรษณีย์แบบแขวน กรมไปรษณีย์ได้ผลิตตู้ไปรษณีย์ขึ้นใช้เอง เป็นแบบที่ทำด้วยไม้และโลหะแผ่น

post(9)

ปี 2454 ตู้เหล็กทรงกลม หล่อด้วยโลหะทั้งตู้ สั่งเข้ามาใช้งานในช่วงต้นรัชกาลที่ 6 มีด้วยกัน 2 รุ่น คือ รุ่นที่สั่งทำมาจากประเทศอังกฤษ และรุ่นที่สั่งทำมาจากประเทศสิงคโปร์

post(12)

ปี 2469 ตู้ไปรษณีย์สมัยรัชกาลที่ 7 ผลิตขึ้นใช้เองในประเทศ หล่อด้วยซีเมนต์หนาประมาณ 20 เซนติเมตร

post(12)_1

ปี 2477 ตู้ไปรษณีย์สมัยรัชกาลที่ 8 ตู้หล่อซีเมนต์ โดยใช้รูปทรงและขนาดเดียวกับตู้ในสมัยรัชกาลที่ 7 แต่แตกต่างกันเล็กน้อยตรงบริเวณส่วนบนของตู้ และตราครุฑที่ปีกจะกางเหยียดตรง

post(14)

ปี 2496 ตู้ไปรษณีย์สมัยรัชกาลที่ 9 ตู้หล่อซีเมนต์ทรงกรงนก มีขนาดเล็ก และเสาสูง ใช้ในพื้นที่ที่มีปริมาณงานน้อยในส่วนภูมิภาค สร้างขึ้นเพื่อใช้งานในสมัยต้นรัชกาลที่ 9

post(3)

ปี 2514 ตู้ไปรษณีย์แบบ ข. ตู้ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง ทำด้วยโลหะแผ่น ลักษณะเดียวกับตู้ไปรษณีย์แบบ ก. แต่ต่างกันที่มีช่องใส่ไปรษณียภัณฑ์เพียงช่องเดียว ใช้งานในพื้นที่ที่มีจำนวนไปรษณียภัณฑ์น้อย โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค

post(2)

ปี 2516 ตู้ไปรษณีย์แบบ ก. ตู้ทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ทำด้วยโลหะแผ่นขึ้นรูปฐานเป็นซีเมนต์หนา มีช่องใส่ไปรษณียภัณฑ์ 2 ช่อง สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล กับปลายทางในภูมิภาคหรือต่างประเทศ ติดตั้งตามชุมชนที่มีปริมาณงานมาก

post(10)

ปี 2520 ตู้ไปรษณีย์แบบ ค. ตู้โลหะขนาดเล็ก มีเสาสูง ส่วนบนของตู้จะมีลักษณะโค้งมน ตั้งบนฐานซีเมนต์หล่ออย่างหนา ใช้งานในพื้นที่ที่มีจำนวนไปรษณียภัณฑ์น้อยในภูมิภาค

post(11)_1

ปี 2546 - ปัจจุบัน ตู้ไปรษณีย์แบบ ก.

ตู้แดง...แปลงโฉมสู่ “พี่ตู้รู้ทุกเรื่อง”

post(6)

อย่างไรก็ดี ในยุคที่ไลฟ์สไตล์ของคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ไปรษณีย์ไทย จำเป็นต้องปรับตัวให้ทันโลกยุคดิจิทัล ผ่านการพัฒนาตู้ไปรษณีย์อัจฉริยะยุค 4.0 “พี่ตู้...รู้ทุกเรื่อง” ที่สามารถตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ประชาชนและนักท่องเที่ยว ด้วยการให้บริการข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร แหล่งของฝาก ผลิตภัณฑ์ของชุมชน รวมถึงที่ทำการไปรษณีย์ในแต่ละพื้นที่ เพียง ‘สแกนคิวอาร์โค้ด’ เพื่อยกระดับให้ตู้ไปรษณีย์เป็นศูนย์ข้อมูลในยุคดิจิทัล และกระตุ้นเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นให้มีความไหลเวียนมากยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่ง

post(7)

ทั้งนี้ สำหรับตู้ไปรษณีย์สีแดงในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ประชาชนยังสามารถใช้บริการส่งจดหมาย และโปสการ์ด ได้ตามปกติ พร้อมทั้งมีพี่หนุ่มไปรษณีย์ หรือ บุรุษไปรษณีย์ คอยทำหน้าที่ไขตู้ไปรษณีย์ตามเวลาที่กำหนด เพื่อนำมาจดหมายต่างๆ มาส่งต่อเข้าระบบ และนำจ่ายยังพื้นที่ปลายทางตามที่ระบุไว้ใน “จ่าหน้า” เพื่อให้สามารถนำส่งจดหมายและโปสการ์ดดังกล่าว ถึงมือผู้รับปลายทางได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว

post(5)

ไปรษณีย์ไทย ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาในทุกระบบและยกระดับคุณภาพในทุกบริการ เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้ใช้บริการไปรษณีย์ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ตอกย้ำผู้นำเบอร์ “หนึ่ง” ในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ ตลอด 135 ปีแห่งการก่อตั้งกิจการไปรษณีย์ไทย และเป็น “ไปรษณีย์ไทย...เครือข่ายชีวิตและเศรษฐกิจไทย” อย่างแท้จริง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook