"รับน้องขึ้นดอย" ประเพณีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำไมต้องขึ้นดอย?

"รับน้องขึ้นดอย" ประเพณีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำไมต้องขึ้นดอย?

"รับน้องขึ้นดอย" ประเพณีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำไมต้องขึ้นดอย?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แต่ละมหาวิทยาลัยก็มีประเพณีที่แตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละประเพณีนั้นก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นมหาวิทยาลัยแต่ละที่ได้อย่างชัดเจน ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อพูดถึง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นั้นก็ต้องนึกถึง ประเพณีรับน้องขึ้นดอย นั่นเอง อยากรู้กันรึเปล่าว่า ประเพณีนี้มีความเป็นมาอย่างไร แล้วทำไมต้องขึ้นดอยกัน เรามาดูคำตอบไปพร้อมๆ กันเลย

ความเป็นมาของ ประเพณีรับน้องขึ้นดอย

21731402_1707163519294763_320

รับน้องขึ้นดอย เป็นประเพณีที่นักศึกษาน้องใหม่ นักศึกษาปัจจุบัน รุ่นพี่ รวมถึงผู้เข้าร่วมงานประเพณี จะร่วมกันเดินเท้าขึ้นไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคล ทั้งยังเป็นการแสดงถึงความสามัคคี และสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับหมู่นักศึกษา จัดขึ้นเพื่อให้รุ่นพี่และรุ่นน้องในมหาวิทยาลัยเดินทางร่วมกัน จากศาลาธรรมบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขึ้นไปถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นระยะทางประมาณ 14 กม. และที่ขาดไปไม่ได้ในทุกๆปี นักศึกษาน้องใหม่ชั้นปีที่ 1 ของแต่ละคณะ จะต้องแสดงความพร้อมเพรียง ความเป็นหนึ่งเดียวกัน หรือที่นักศึกษา มช. เรียกกันว่า “การโชว์สปิริต” ที่โค้งขุนกัณฑ์แห่งนี้

ทำไมถึงต้องแบกช้างแก้ว? ทำไมถึงต้องเป็นคณะวิศวะฯ?

20935048_1704957896181992_339

เดิมทีการเดินขึ้นดอยในสมัยก่อน แต่ละคณะได้ทำเป็นการแสดงตรงตีนดอยก่อนที่จะเดินขึ้น แต่คณะวิจิตรศิลป์ได้คิดขึ้นว่าเราควรขึ้นพระธาตุเพื่อไปสักการะจริงๆ ซึ่งเครื่องสักการะชุดแรก อยู่ที่ส่วนหัวขบวน ซึ่งคณะวิจิตรศิลป์อาสาทำให้เป็นปราสาทสูงใหญ่ ซึ่งมีช้างอยู่ในนั้น คือเสลี่ยงของคณะวิศวะฯ ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนมี 12 คณะ

คณะวิจิตรศิลป์จะเป็นคณะแรกที่เริ่มแบกเสลี่ยงก่อนจนถึงครูบา แล้ววนให้คณะอื่นแบกต่อ คณะละประมาณ 1 กิโลเมตรกว่าๆ จนถึงยอดดอย เมื่อเวลาผ่านไปคณะวิศวะฯได้เข้ามาขอแบกเสลี่ยงขึ้นดอยก่อนเป็นคณะแรก เนื่องด้วยคณะวิศวะฯ ย้ายมาเป็นหัวขบวนคณะแรกสุดคณะวิจิตรศิลป์จึงไม่ต้องแบกเสลี่ยงและเดินขึ้นตามปกติแทน แล้วพอคณะวิศวะฯจะวิ่งขึ้นดอย จึงรวบปราสาทของทุกคณะแล้ววิ่งขึ้นทีเดียวเลย จึงเป็นที่มาของ“การแบกเสลี่ยงวิศวะฯ”

ระยะทางจากหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สู่ยอดดอยสุเทพ

41000636_2115789038432207_651

ขนาดของเสลี่ยง

21432937_1704957299515385_642

เสลี่ยงมีขนาดประมาณ 2.8 เมตร หากนับความสูงเพิ่มจากคนแบกก็จะได้อยู่ประมาณ 4.5 เมตร และน้ำหนักของตัวบุษบกและเสลี่ยงไม้ไผ่รวมกันอยู่ที่ประมาณ 300 กิโลกรัม

ทำไมต้องใช้คนแบกเยอะมาก?

21731402_1707163519294763_320

เสลี่ยงมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมากทำให้ต้องใช้จำนวนคนยกที่เยอะขึ้น เช่นตอนปี 60 ใช้คนต่อชุด 21-24 คน ชุดหนึ่งก็สลับวิ่งเดิน ได้ราวๆ 200-300 เมตร เนื่องจากทางขึ้นเขานั้น ชันมากและตัวเสลี่ยงที่มีน้ำหนักมากจึงต้องใช้จำนวนคนเยอะเพื่อที่จะสลับกันแบก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ต้องวางแผนการจัดการให้ดีไม่ว่าจะเป็นเรื่องจำนวนคนที่ผลัดเปลี่ยน การเคลียร์เส้นทาง การจดตำแหน่งสูงต่ำ และปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการวิ่ง เนื่องจากคณะวิศวะต้องไปถึงโค้งขุนกัน ให้เร็วกว่าขบวนหลัก 30 นาทีซึ่งเป็นงานที่ท้าทายและต้องใช้ความสามัคคีเป็นอย่างมาก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook