อิสามะแอ สะแม เด็กกำพร้าสู้ชีวิต โอกาสที่เป็นจริงจากทุน ซีพี ออลล์

อิสามะแอ สะแม เด็กกำพร้าสู้ชีวิต โอกาสที่เป็นจริงจากทุน ซีพี ออลล์

อิสามะแอ สะแม เด็กกำพร้าสู้ชีวิต โอกาสที่เป็นจริงจากทุน ซีพี ออลล์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เด็กกำพร้าสู้ชีวิต อิสามะแอ สะแม โอกาสที่เป็นจริงจากทุน ศอ.บต. ซีพี ออลล์ พร้อมส่งต่อความสำเร็จสู่เด็กไทยในแดนใต้

aaaa(10)

“ด้วยสถานะทางบ้านที่ไม่ค่อยดี แล้ววันหนึ่งเรามีชีวิตที่ดีขึ้นจากโอกาสที่ได้รับ ผมจึงอยากส่งต่อโอกาสให้กับน้องๆ คนอื่น เพราะวันหนึ่งหากเขาประสบความสำเร็จขึ้นมา เท่ากับว่าผมได้ต่อยอดอนาคตของคนๆ หนึ่งให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้ และผมเชื่อว่าสิ่งดีๆ เหล่านี้จะถูกส่งต่อออกไปอย่างไม่สิ้นสุด” เสียงบอกเล่าด้วยความภูมิใจของว่าที่ร.ต.อิสามะแอ สะแม หรือน้องแอล

aaaa(3)

ใครจะคิดว่าชีวิตเด็กคนหนึ่งซึ่งสูญเสียคุณพ่อตั้งแต่ยังเด็ก และเกือบไม่ได้เรียนหนังสือเพราะสถานภาพและความไม่พร้อมของครอบครัว จะเติบโตกลายเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจ และเป็นผู้แนะนำเส้นทางความสำเร็จในอนาคตให้กับเด็กคนอื่นๆ ในพื้นที่ภาคใต้ในวันนี้ ว่าที่ร.ต.อิสามะแอ สะแม หรือ “แอล” เด็กกำพร้าที่เกิดและเติบโตในจังหวัดปัตตานี คืออีกหนึ่งตัวอย่างของการดิ้นรนต่อสู้ชีวิต เพื่อให้ได้มาซึ่งอนาคตที่เขาจะได้ลืมตาอ้าปาก เลี้ยงดูแม่และน้องๆ ให้ได้อยู่ดี กินดีไปพร้อมกับงานที่เขารัก

aaaa(7)

“แอล” เด็กหนุ่มจากปัตตานี เล่าถึงชีวิตเมื่อเป็นเด็กว่า เสาหลักของบ้านมีแม่เพียงคนเดียวที่คอยหาเลี้ยงเขาและน้อง ‘แหวนทองที่แม่มีอยู่วงเดียวในชีวิต แม่ยอมที่จะเอาไปจำนำ เพื่อนำเงินมาซื้อนมให้เขาและน้องกิน’ นั่นคือสิ่งที่แอลยังคงจำฝังใจมาจนถึงวันนี้ และสิ่งที่จะทำให้ครอบครัวมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แอลจึงตั้งเป้าหมายด้วยการเรียนจบสูงๆ มีหน้าที่การงานที่ดี แต่เมื่อวันที่เดินมาถึงทางเลือกของชีวิต ระหว่างการเดินตามความฝัน ด้วยการเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยที่มีค่าใช้จ่ายสูง และการมองหางานทำในโลกแห่งความเป็นจริง โดยละทิ้งเรื่องเรียนไปเลย เป็นสิ่งที่ต้องกลับมานั่งทบทวนอีกครั้ง ก่อนที่สุดท้ายแล้วเขาเรียกการตัดสินใจครั้งนี้ว่า “ดื้อ”

aaaa(4)

“ดื้อ” ในที่นี้คือ “การดื้อที่จะเรียนต่อ” ดิ้นรนหาทุนการศึกษา และก็ได้รับโอกาสตามความมุ่งหวังตั้งใจโดยได้รับทุน “ศอ.บต. ซีพี ออลล์” หรือ ทุนการศึกษาแก่เยาวชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างบมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้าน เซเว่นอีเลฟเว่น ในประเทศไทย กับ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เยาวชนที่รับทุนได้เข้าศึกษาต่อในคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (พีไอเอ็ม) เป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

aaaa(9)

การเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพฯ แอลได้นำเงินก้อนเล็กๆ ซึ่งเก็บจากการทำงานพิเศษตั้งแต่เรียนอยู่ม. 4 มาเป็นค่าใช้จ่ายดูแลตัวเอง และเริ่มทำงานพิเศษตั้งแต่เรียนปี 1 ช่วงแรกดูจะไม่ใช่เรื่องง่ายนัก แต่ด้วยความตั้งใจของแอล ทำให้กองทุนเพื่อชีวิตแห่งการเรียนรู้ หรือ PIM SMART ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนเงินค่าครองชีพระหว่างการเล่าเรียน และด้วยรูปแบบการเรียนของสถาบันฯ คือ Work-Based Education เรียน 3 เดือนควบคู่การฝึกปฏิบัติงาน 3 เดือนตลอดระยะเวลา 4 ปีทำให้มีรายได้เพียงพอสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายดูแลตัวเองและมีเงินเหลือส่งกลับไปให้แม่ ซึ่งความภูมิใจของแอลไม่หยุดแค่นั้น เมื่อสำเร็จการศึกษา ภาพความฝันก็ปรากฏเป็นจริงทันที เพราะทางสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เปิดโอกาสให้เข้ามาทำงานเป็นส่วนหนึ่งในตำแหน่ง “เจ้าหน้าที่แนะแนวและรับสมัคร” เพื่อออกไปให้ความรู้ และส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนพื้นที่ภาคใต้ต่อไป

aaaa(8)

แอลเล่าต่อว่า ผมทำหน้าที่แนะแนวและมอบทุนการศึกษาให้แก่น้องๆ ในพื้นที่ภาคใต้ รวมไปถึงพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน จากทุนที่เคยได้รับในวันนั้น สู่การเป็นผู้ให้ในวันนี้ เพราะที่นี่คือบ้านผม และที่สำคัญผมมีทุนการศึกษาไปมอบให้เด็กๆ ซึ่งอาจไม่รู้มาก่อนว่ามีทุนสนับสนุนการศึกษาอยู่อีกมาก ถ้าผมเข้าไปถึงพื้นที่และสามารถส่งต่อโอกาสให้น้องๆ ที่ยากจน แทบจะไม่มีโอกาสเรียนต่อ ก็จะทำให้พวกเขาได้เข้าถึงการศึกษา เพื่อจะได้จบออกมามีเงินเดือน มีรายได้ที่ดี มาเลี้ยงดูครอบครัว และสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาพื้นที่ของเขาต่อไปได้

aaaa(6)

"หากผมเลือกทำงานอื่น ผมประสบความสำเร็จแค่คนเดียว แต่ถ้าผมทำงานแนะแนวการศึกษา คนที่สำเร็จกับผมคือเด็กๆ จำนวนมาก วันหนึ่งเขาประสบความสำเร็จขึ้นมา มันเท่ากับว่า ผมได้ต่อยอดอนาคตของเด็กเหล่านั้น ให้มีอนาคตที่ดีต่อไปได้"

กว่า 23 ปีที่บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้ก่อตั้งร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย ได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมการศึกษา พัฒนาเยาวชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน ด้วยการก่อตั้งสถาบันการศึกษาเพื่อสังคม 2 แห่งคือสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์, วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ ตลอดจนศูนย์การเรียนฯกว่า 20 ศูนย์ทั่วประเทศ มอบโอกาสให้เยาวชนได้เข้าถึงการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรู้ความสามารถ เป็นคนดี คนเก่ง ของสังคมไปแล้วกว่า 18,000 คน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook