5 เหตุผลที่ละครพื้นบ้านยังครองใจคนไทย ช่วงเช้าวันหยุด

5 เหตุผลที่ละครพื้นบ้านยังครองใจคนไทย ช่วงเช้าวันหยุด

5 เหตุผลที่ละครพื้นบ้านยังครองใจคนไทย ช่วงเช้าวันหยุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ละครพื้นบ้าน ช่อง 7 ยังเป็นโปรแกรมที่กอบโกยเรตติ้งได้เรื่อย ๆ ที่แม้กระแสดูเงียบ ๆ บนโซเชียล แต่เรตติ้งสังข์ทองจาก TV Digital Watch กลับนำโด่งทุกรายรายการ ไม่เว้นละครหลังข่าว แล้วเพราะเหตุใด ละครพื้นบ้าน ที่ไม่ได้มีนักแสดงมากฝีมือคับคั่งดังละครหลังข่าว ถึงได้มาแรงขนาดนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ลองไปหาคำตอบกันเลย

samsearn02-696x983

ไร้คู่แข่ง

ละครพื้นบ้าน ช่อง 7 มีโปรแกรมฉายทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-09.00 น. ได้กลายเป็นรายการโปรด ที่ทำให้หลายคนต้องนั่งเกาะติดขอบจอในเวลานั้น ๆ (ไม่ว่าคุณจะอยู่ยุค Generation ไหน) ยิ่งละครพื้นบ้านจักร ๆ วงศ์ ๆ ก็ยังทำให้คนรีบตื่นมาดูทุกเช้าเสาร์-อาทิตย์ อยู่ดี

แต่ถ้าบอกว่า ละครพื้นบ้าน ช่อง 7 ไม่เคยมีคู่แข่งเลยก็ไม่ใช่ เพราะคู่ปรับสำคัญเช่น ช่อง 3 ก็เคยผลิตละครพื้นบ้าน (เมื่อประมาณปี 2529) เพื่อหวังแย่งชิงเรตติ้ง สุดท้ายไม่สำเร็จ ช่อง 3 ต้องปิดฉากละครพื้นบ้านลงในเดือนกันยายน 2547 (ละครเรื่องสุดท้าย : พระอภัยมณี ผลงาน บริษัท เมืองละคร จำกัด ของ เศรษฐา ศิระฉายา)

ผ่านมา 14 ปี ช่อง 3 เตรียมกลับลงสนามประลองฝีมือในสนามที่ชื่อว่า “ละครพื้นบ้าน” กับช่อง 7 อีกครั้ง ด้วยเรื่อง “อุทัยเทวี” ผลงานจากค่ายจันทร์ 25 ของคุณแดง สุรางค์ เปรมปรีดิ์ (ถ่ายทำเสร็จแล้ว แต่ยังไม่มีกำหนดออกอากาศ) คงต้องลุ้นว่า เมื่ออุทัยเวทีได้ลงจอจริง ๆ ช่อง 3 จะสามารถแบ่งเค้กก้อนนี้ได้หรือไม่

มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน และเหนียวแน่น

เช้าวันหยุด เป็นช่วงเวลาที่ทีวีดิจิทัลหลายช่องต่างหวังเจาะตลาดเด็ก ด้วยการอัดรายการการ์ตูน วาไรตี้ หรือสารคดีท่องเที่ยว แต่ยังไม่มีช่องใดที่สามารถโค่น ช่อง 7 เจ้าของเรตติ้งในช่วงเวลาดังกล่าวได้สำเร็จ เพราะละครพื้นบ้าน ช่อง 7 ได้เจาะลึกและแทรกซึมไปยังทุกครัวเรือน (เด็กและผู้ใหญ่) ของสังคมไทยมาเนิ่นนาน

เรียกว่า ต่อให้นำละครพื้นบ้านอย่างเรื่องเทพสามฤดู แก้วหน้าม้า อุทัยเทวี สี่ยอดกุมาร ขวานฟ้าหน้าดำ ปลาบู่ทอง และสังข์ทอง มารีเมกเป็นสิบ ๆ รอบ ก็ยังครองใจผู้ชมได้อย่างเหนียวแน่น

เนื้อหาไม่เครียด มีเอกลักษณ์เฉพาะ

ช่วงหลัง ๆ ละครพื้นบ้าน ช่อง 7 ปรับเนื้อหาให้มีการสอดแทรกทั้งมุกตลก ปรับแต่งใส่ CG ได้เนียนสมจริงมากขึ้น แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ที่คุ้นชินของแฟนคลับ คือ “เสียงขับเสภา” สุดไพเราะ ตัวช่วยบอกเล่าเรื่องราวว่า กำลังจะเกิดอะไรขึ้น จึงไม่แปลกบรรดาผู้ใหญ่ที่ชื่นชอบเสียงขับเสภาจะยึดรีโมท เพื่อเปิดดูรายการโปรด ก่อนลากลูกหลานมานั่งซึมซับความสนุกสนานไปกับตนเอง

มีอัตลักษณ์ที่หลากหลาย

samsearn01-630x420

เชื้อชาติของราชบุตรเขยทั้ง 6 ของท้าวสามล ที่มีทั้งไทย จีน แขก พม่า ลาว และฝรั่ง เป็นตัวช่วยเพิ่มอรรถรสให้กับ สังข์ทอง ได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีการสอดแทรกเรื่องเพศสภาพเข้าไปในตัว “เจ้าชายไชยันต์” ราชบุตรเขย ลำดับที่ 4 ของท้าวสามล ด้วยฉากสกิลชิพระหว่างเจ้าชายไชยันต์กับหนึ่งในราชบุตรเขยเข้าไป จนหลายคนสงสัยว่า เจ้าชายไชยันต์ อาจเป็นชายรักชาย (แต่ฉากสกิลชิพที่ว่า ก็ไม่ได้ออกนอกหน้าจนน่าเกลียด)

แทรกข้อคิด เรื่องการเหยียดหยามรูปลักษณ์คนอื่น

samsearn-420x420

หลายคนคงจำได้ว่า ก่อนเจ้าเงาะถอดรูปนั้น ต้องทนฟังคำดูถูก เหยียดหยาม และล้อเลียนมากเพียงใด ขนาด “รจนา” (นางเอก) ยังพยายามอ้อนวอนและสรรหาสารพัดวิธี เพื่อให้เจ้าเงาะถอดรูป จนมีการตั้งคำถามว่า รจนารักเจ้าเงาะ หรือรักรูปทองของพระสังข์กันแน่

ผิดกับ “เจ้าชายไชยันต์” ที่ตอนต้นเรื่อง แม้จะเป็นหนึ่งในคนที่ร่วมประณามหยามเหยียดเจ้าเงาะ แต่พอมาช่วงหลัง เจ้าชายไชยันต์กับเป็นคนเดียวที่คอยแอบช่วย แอบปกป้องเจ้าเงาะ ถึงขั้นเถียงกับพระธิดาปัทมา (พระชายาเจ้าไชยันต์) ที่พูดดูถูกเจ้าเงาะว่า “พี่เงาะนั้น ก็เป็นคนเหมือนกัน” มีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ไม่ต่างจากคนอื่น ๆ บนโลกใบนี้

ที่สำคัญทั้งเรื่อง มีเพียงเจ้าชายไชยันต์ที่ชื่นชอบพระสังข์ทองตอนที่ยังไม่ถอดรูปเงาะ

นี่เป็นเพียงเหตุผลบางส่วนที่ Tonkit360 นำมาฝากกัน ส่วนใครที่รอชมฉาก “เจ้าเงาะกล้ามสวย” ถอดรูปเป็น “พ่อสังข์ทองสุดหล่อ” เพื่อลงสนามตีคลีกับพระอินทร์นั้น ก็อดใจรอกันไปก่อนนะ แว่ว ๆ มาว่า ไม่เกินสิ้นเดือนตุลาคม 2561 ได้ชมฉากนั้นแน่ ๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook