ส่องความสามารถเด็กไทย "โครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์" จากปฏิบัติการทดลองเคมีแบบย่อส่วน

ส่องความสามารถเด็กไทย "โครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์" จากปฏิบัติการทดลองเคมีแบบย่อส่วน

ส่องความสามารถเด็กไทย "โครงการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์" จากปฏิบัติการทดลองเคมีแบบย่อส่วน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของเยาวชนรุ่นใหม่จริงๆ กับกิจกรรม การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (DOW-CST AWARD) ประจำปี พ.ศ. 2561 ภายใต้โครงการห้องเรียนเคมีดาว

ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้เยาวชนมีความคิดที่ริเริ่มสร้างสรรค์ในนวัตกรรม ผ่านการค้นคว้าและทดลอง ปฏิบัติการทดลองเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) ซึ่งระบบด้งกล่าวนี้เรียกได้ว่าได้มาตรฐานและปลอดภัยและได้รับการยอมรับจากยูเนสโก

aa(6)

การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ DOW-CST AWARD ในปีนี้มีครูและนักเรียนจากประเทศไทยเข้ามาร่วมแข่งกว่า 153 คนร่วมส่งโครงงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 46 โครงงาน โดยประยุกต์ใช้เทคนิคปฏิบัติการทดลองเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) ได้อย่างสร้างสรรค์

ซึ่งผู้ชนะ DOW-CST AWARD 2018 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้แก่

  • รางวัลยอดเยี่ยม ซึ่งได้รับเงินรางวัลมูลค่า 40,000 บาท พร้อมโล่รางวัลเกียรติยศจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในการประชุมวิชาการ PACCON 2019 ได้แก่ คุณครูกัญจน์ญาณิศา นาคสวัสดิ์ จาก โรงเรียนระยองวิทยาคม ด้วยโครงงาน การตกตะกอนโลหะหนักด้วยเปลือกกล้วย
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ คุณครูเรวดี วิจารี จากโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง (โครงงาน อุณหภูมิของสารกับการเกิดปฏิกิริยา) ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ คุณครูทัศนีย์ กวาดชัยภูมิ จากโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม (โครงงาน การจำลองหมอกในขวดแก้ว) ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท

นายกฤติน สาครินทร์ (น้องปาม), นายปิยพันธุ์ อินทร (น้องกาย) และ นางสาวอรอนงค์ จินตวงศ์ (น้องเอสเตอร์) นักเรียนชั้น ม.3/2 โรงเรียนระยองวิทยาคม ผู้ชนะ DOW-CST AWARD 2018 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ได้เผยว่า

aa(2)

ปัญหาของโครงงานของกลุ่มพวกผมจะเริ่มเจาะจงที่เรื่องของน้ำนะครับ เพราะว่าอย่างที่เรารู้ๆ กันว่าในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมและการเกษตรนั้นเติบโตขึ้นมาเยอะ ดังนั้นมันก็อาจจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาพวกสารปนเปื้อนในแหล่งน้ำตามมา โดยเฉพาะพวกสารที่เป็นโลหะหนัก ปนเปื้อนมาค่อนข้างเยอะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการบำบัดก่อนที่จะปล่อยลงไปสู่แหล่งน้ำ

ทางเราก็ได้ค้นคว้าและก็ศึกษา และได้รู้ว่าเปลือกกล้วยมันสามารถหาได้ง่าย มันมีทั่วไปและมีตลอดทั้งปี และยังอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ซึ่งมันมีสารสำคัญที่ทางเราได้นำมาใช้ในการทดลองนี้ ซึ่งมันก็คือสารแทนนินนั่นเองครับ ซึ่งสารแทนนินสามาารถดูดซับโลหะหนักได้ เราก็เลยช่วยกันคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาเป็นโครงการดูดซับโลหะหนักด้วยเปลือกกล้วยนี้นั่นเองครับ

และผู้ชนะ DOW-CST AWARD 2018 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่

  • รางวัลยอดเยี่ยม ซึ่งได้รับเงินรางวัลมูลค่า 40,000 บาท พร้อมโล่รางวัลเกียรติยศจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในการประชุมวิชาการ PACCON 2019 ได้แก่ คุณครูสราวุธ แท่นจินดารัตน์ จากโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ด้วยโครงงาน การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้า (Electrocoagulation)
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ คุณครูโพธิศักดิ์ โพธิเสน จากโรงเรียนสตรีศรีน่าน (โครงงาน ชุดการทดลอง Mida’s Power) ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ คุณครูชยวิน โฉมงาม จากโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง (โครงงาน การทดลองเคมีย่อส่วน เรื่องสารละลายบัฟเฟอร์) คุณครูชัยพร มิตรพิทักษ์ โรงเรียนหอวัง (โครงงาน การหาค่าคงที่ของแก๊ส (R) และคุณครูสุรางคณา ศรีสวัสดิ์ โรงเรียนสตรีศรีน่าน (โครงงาน พอดี๊ พอดี ที่หลอดนี้) ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท

นางสาวแพรวนภา เจริญ (น้องแพรว), นางสาววรัญชณา สวยงาม (น้องยี่หวา) และ นางสาวบัณฑรวรรณ สังข์ทอง (น้องแอม) นักเรียนชั้น ม.6/1 โรงเรียนระยองวิทยาคม ผู้ชนะ DOW-CST AWARD 2018 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้เผยว่า

aa(3)

จุดเริ่มต้นของโครงงานนี้ของพวกหนูก็คือ เนื่องจากการเรียนของพวกเราอยู่ใกล้กับบ่อพักน้ำเสียของโรงเรียน ซึ่งมันก็ได้ได้กลิ่นน้ำเน่าออกมาในขณะที่เราเรียนหนังสือไปด้วย เพราะว่าระบบของโรงเรียนการบำบัดอาจจะยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ดังจึงมีความคิดที่อยากจะพัฒนาในเรื่องของการบำบัดน้ำเสียของโรงเรียน

โดยเริ่มจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลและพบว่า การบำบัดทั่วไปไปนั้นจะใช้สารเคมีเข้าไปทำให้น้ำเสียมันตกตะกอน ดังนั้นเราจึงคิดวิธีที่จะลดการใช้สารเคมีโดยการใช้อิเล็กโตรแอคทิเวชั่น หรือการใช้ไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งทางเราคิดว่าวิธีนี้น่าจะได้ผลที่ดีในการบำบัดน้าเสียของโรงเรียนได้ดีกว่าการใช้สารเคมีค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook