อาจารย์ม.เกษตรเน้นนิสิตทำกิจกรรมเพื่อสังคมควบคู่ทำงานจริงภาคธุรกิจ

อาจารย์ม.เกษตรเน้นนิสิตทำกิจกรรมเพื่อสังคมควบคู่ทำงานจริงภาคธุรกิจ

อาจารย์ม.เกษตรเน้นนิสิตทำกิจกรรมเพื่อสังคมควบคู่ทำงานจริงภาคธุรกิจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการตลาดจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิชาอิเล็กทรอนิกส์มาร์เก็ตติ้ง (Electronic Marketing) ส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบสามารถพร้อมปฎิบัติทำงานได้ทันทีเมื่อเรียนจบ แต่ความพิเศษของการเรียนนี้ไม่ได้สนับสนุนแค่นักศึกษาเรียนรู้ในตำราหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่สนับสนุนให้นักศึกษาได้ร่วมทำงานจริงทั้งองค์กรภาครัฐ เอกชน ธุรกิจSMEsและองค์กรไม่แสวงกำไร ซึ่งถือเป็นการช่วยเหลือและสนับสนุนผู้ประกอบการในการให้คนยุคใหม่อย่างนิสิตนักศึกษาเข้าไปช่วยสร้างสรรค์เนื้อหาข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มลูกค้า โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในราคาสูงเหมือนกับว่าจ้างเอเจนซี่ต่างประเทศ โดยมีอาจารย์และผู้เชียวชาญของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์คอยดูแลการทำงานของนิสิตนักศึกษาอย่างใกล้ชิด

นาย สุปัญญา พันสว่าง (น้องฟลุ๊ค) คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน ปีที่4 นักศึกษาวิชา อิเล็กทรอนิกส์มาร์เก็ตติ้ง เปิดเผยว่า “จากการเรียนวิชาอิเล็กทรอนิกส์มาร์เก็ตติ้ง ผมและทีมได้ไปทำงานจริงให้กับธุรกิจ SME เนื้อปลาแช่แข็ง แบรนด์สมุทรเชฟ ทางเพื่อนและผมเข้าไปช่วยเสริมในส่วนการวางแผนการสื่อสารและเนื้อหาโซเชียลแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1.สื่อให้ผู้บริโภครู้ถึงตัวตนของแบรนด์ทำมาเพื่อใคร 2.นำเสนอผลิตภัณฑ์ว่าดีอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง 3.แคมเปญต่างๆ เราเข้ามาเพื่อพัฒนาโซเชียลของลูกค้าให้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น สิ่งแรกที่เราสามารถช่วยลูกค้าคือตัวของยอดไลท์ยอดแชร์ของเพจมีเพิ่มมากขึ้นถึง 50% โดยประมาณจากเริ่มแรกที่มีจำนวนน้อยมากเพราะแบรนด์นี้เป็นแบรนด์ที่เพิ่งเปิดได้ไม่ถึงปีจึงมียอดไลท์ไม่ถึง 200 แต่ตอนนี้มีเพิ่มขึ้นหลักพันภายในระยะเวลาไม่ถึง 3 เดือน ถ้าเรามองเป็นจำนวนมันอาจจะดูน้อย แต่ถ้าเรามองเป็นเปอร์เซ็นคือสามารถเข้าไปช่วยผู้ประกอบการรายเล็กได้อย่างดี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ วิชานี้สอนให้เราทำงานจริงและถือเป็นงานที่ช่วยเหลือภาคธุรกิจและผู้ประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม เราได้เจอกับธุรกิจได้เรียนรู้ทักษะในการรับมือกับคนการทำงาน ทักษะในเรื่องของการทำคอนเทนท์จริงในการทำงาน มันไม่เหมือนกับในตำราเพราะคนแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันสิ่งที่เราอาจจะคิดว่ามันดี เราได้เรียนรู้ว่าการทำงานเป็นทีมมันต้องอาศัยการบริหารจัดการทีดี ในเรื่องของการคุยกับผู้ใหญ่เราได้เรียนรู้วิธีการใช้คำพูด ต้องพูดยังไงให้ผู้ใหญ่เข้าใจในสิ่งที่เราสื่อสารซึ่งตรงนี้เราก็ยังที่จะต้องปรึกษากับอาจารย์ผู้สอนอยู่เสมอว่าเราควรจะคุยกับเจ้าของแบรนด์ยังไงเมื่อพบปัญหา”

img_4286

นางสาว ศรัณย์พร ต้อยปาน (น้องบิน) คณะบริหารธุรกิจ สาขาตลาด ปีที่3 นักศึกษาวิชา อิเล็กทรอนิกส์มาร์เก็ตติ้ง เล่าว่า “รายวิชาดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งหรืออิเล็กทรอนิกส์มาร์เก็ตติ้งเปิดขึ้นมาเพื่อให้เราตามยุคตามสมัยได้ทันดังนั้นก็อยากจะให้ทุกคนตั้งใจและเรียนรู้ให้ตัวเองทันโลกเพราะถ้าเราหยุดที่จะพัฒนาตัวเองมันก็ไมได้ช่วยทำให้อะไรดีขึ้น บินได้มาทำงานจริงที่ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำหน้าที่คอยประสานงานกับลูกค้าว่าลูกค้าต้องการอะไร อยากได้แบบไหน อยากได้คอนเทนท์หรือแคมเปญประมาณไหน ต้องพบลูกค้าทุกสัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์เรวบรวมข้อมูลว่าลูกค้าต้องการอะไรบ้าง ทางทีมงานต้องนำมาคิดตามแบบที่ลูกค้าอยากได้และนำมาสเนอทันทีเมื่อพบกัน ถ้าพูดถึงเรื่องการทำงานก็ค่อนข้างที่จะใกล้ชิดกับลูกค้า แคมเปยที่คิดให้ลูกค้าและประสบความสำเร็จ คือ การประกวดลายเสื้อใช้ชื่อแคมเปญว่า “KU No Plastic” ให้นิสิตไม่จำกัดชั้นปีออกแบบลายเสื้อที่สื่อถึงมหาวิทยาลัยและ KU No Plastic เพราะฉะนั้นลายเสื้อที่เราเช็คกับทางผู้ที่เข้าร่วมส่งเข้ามาประกวดส่วนใหญ่ค่อนข้างเข้าถึงได้ง่าย ดูวัยรุ่น น่าสนใจ น่าซื้อ ทำให้เพจเฟสบุ้คก็มียอดไลท์ที่เพิ่มมากขึ้นเท่าตัวและมีเนื้อหาข้อมูลข่าวสารให้ติดตามในแต่ละวัน ที่สำคัญการร่วมสนุกแต่ละแคมเปญต่างๆ ก็มีจำนวนเยอะมากขึ้นก็รู้สึกว่าคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น”

นางสาว จินตกา คงสามสี (น้องปาย) คณะบริหารธุรกิจ สาขาการเงิน ปีที่4 นักศึกษาวิชา อิเล็กทรอนิกส์มาร์เก็ตติ้ง กล่าวว่า “ทีมปายได้เข้าไปดูในส่วนของออนไลน์ที่เพจเฟสบุ้คของ KU BULLETIN หรือนิตยสารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการลงอคนเทนท์ แคมเปญ และผลิตภัณฑ์ต่างๆลงไปในสื่อโซเชียล สามารถทำให้คนเข้ามาสนใจในเพจเฟสบุ้คของมากขึ้น กดไลท์เพิ่มมากขึ้น เป็น 2 เท่าตัวจากแต่ก่อนนับจากระยะที่เราดูแลเพจนี้มาจากเดิมที่คนกดไลท์ประมาณ 2,000 ตอนนี้เพิ่มถึงมากกว่า 5,000 คน ตั้งแต่เรียนมาเราเพิ่งจะได้มาเจอการทำงานจริง ซึ่งมันเป็นการทำงานที่สอนประสบการณ์ทุกอย่างให้กับเราตั้งแต่การออกไปเจอลูกค้า มันจึงทำให้รู้ว่าในอนาคตต้องเจอแบบนี้ในการทำงานจริงและในการทำงานจริงเราก็ต้องคิด วิเคราะห์ ใช้ทฤษฎีที่เรียนมารวมถึงในเรื่องของการทำกราฟิคเข้ามาช่วย ว่าเราจะต้องทำอย่างไรกับงานของเราเพื่อให้คนสนใจ รวมถึงการทำงานให้ตรงตามแบบที่ลูกค้าต้องการมากที่สุดอันนี้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด”

1547550406951

ดร. ศิริรัตน์ โกศการิกา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กรและอาจารย์ผู้สอนวิชาอิเล็กทรอนิกส์มาร์เก็ตติ้ง ประจำภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า “ตอนนี้คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำลังตั้งใจอย่างยิ่งที่จะปรับเรื่องของการเรียนการสอนจากเดิมเด็กที่เรียนสาขาการตลาดก็จะเรียนเฉพาะในตำราของการตลาด แต่พอมายุคนี้การตลาดเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากมากแทบจะทุกวัน ทางคณะบริหารอยากให้เด็กทำงานเป็น มีประสบการณ์การทำงานจริงตั้งแต่เรียนก็เลยเริ่มโปรเจคนี้ขึ้นมา ในขณะที่ผู้ประกอบการบางรายก็อาจจะต้องการคนที่จะไปช่วยสร้างคอนเทนท์เราก็เลยเริ่มโครงการนำร่องให้นิสิตเข้าไปฝึกงานในเรื่องของการสร้างคอนเทนท์ให้กับผู้ประกอบการจริงๆ โดยเน้นให้นิสิตได้นำองค์ความรู้จากที่เรียนทฤษฎีในหนังสือมาประยุกต์ใช้จริงและได้เรียนรู้ในวิธีการทำงานว่าการทำงานที่จะประสบความสำเร็จได้มันไม่ได้อยู่แค่ในตำราหรือว่าแค่อ่านหนังสือเก่ง แต่มันมีปัจจัยอื่นๆ อีกเยอะมากไม่ว่าจะเป็นการคุยกับลูกค้า การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์ผลงานอันนี้คือหัวใจสำคัญที่เราพยายามจะปรับให้นิสิตสอดคล้องกับยุคไทยแลนด์4.0 สุดท้ายอยากฝากผู้ประกอบการทุกท่านว่าเราเริ่มเปิดโครงการนี้เป็นโครงการนำร่อง และอยากจะให้มั่นใจในตัวนิสิตนักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สามารถที่จะทำงานในมุมของดิจิตอลมาร์เก็ตติ้งคอนเทนท์พร้อมที่จะทำงานได้เลย และถือว่ามหาวิทยาลัยเราเป็นมหาวิทยาลัยที่เริ่มต้นการเรียนการสอนแบบใหม่อันดับแรกๆของประเทศไทย”

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook