แคมป์ผู้ประกอบการรุ่นเล็ก "เด็กหัวการค้า” ปีที่5 ม.หอการค้าไทยชิงทุนการศึกษากว่า 20 ล้านบาท

แคมป์ผู้ประกอบการรุ่นเล็ก "เด็กหัวการค้า” ปีที่5 ม.หอการค้าไทยชิงทุนการศึกษากว่า 20 ล้านบาท

แคมป์ผู้ประกอบการรุ่นเล็ก "เด็กหัวการค้า” ปีที่5 ม.หอการค้าไทยชิงทุนการศึกษากว่า 20 ล้านบาท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในปัจจุบันเศรษฐกิจของไทย รูปแบบการทำธุรกิจและบริการได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก มีการนำนวัตกรรมเข้ามาเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความแตกต่างอย่างยั่งยืนให้กับสินค้าและบริการ ทำให้การเจริญเติบโตทางธุรกิจนั้นมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น เป็นแรงผลักดันให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและนักเรียนระดับสายวิชาชีพต้องการเตรียมพร้อมจะเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ในการสร้างแบรนด์ สร้างธุรกิจแนวใหม่ได้ในอนาคต โดยสามารถนำไปปฏิบัติได้ในชีวิตจริง

วิทยาลัยผู้ประกอบการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จึงมีภารกิจหลักในการบ่มเพาะ และพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Entrepreneur) ที่มีคุณภาพ ให้มีความรู้ ทักษะความสามารถ ความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อการประกอบกิจการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ยั่งยืน พร้อมทั้งปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมยุค Thailand 4.0 นอกจากนักศึกษาปัจจุบันแล้ว วิทยาลัยผู้ประกอบการเห็นถึงความสำคัญของเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมในสายสามัญและสายอาชีพ ที่มีความฝันและตั้งใจที่จะสร้างความสำเร็จให้กับอาชีพของตนเอง หรือกิจการของครอบครัว ดังนั้น จึงจัดโครงการ “แคมป์ผู้ประกอบการรุ่นเล็ก...เด็กหัวการค้า” ปีที่5 เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนจากทั่วประเทศได้เรียนรู้เป็นการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพ พร้อมชิงทุนการศึกษามูลค่ากว่า 20 ล้านบาท

118866

นางสาวพรทิภา รักแดง (น้องน้ำ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัวแทนทีมผู้ชนะเลิศการแข่งขันแคมป์ผู้ประกอบการรุ่นเล็ก...เด็กหัวการค้าปีที่5 เปิดเผยว่า “ทีมพวกเราคิดที่จะทำเรื่องของไม้เท้าอัจฉริยะสำหรับผู้พิการทางด้านสายตาและผู้สูงอายุ อยากทำให้คนพิการทางด้านสายตาและผู้สูงอายุสามารถทำทุกสิ่งได้เหมือนกับคนปกติธรรมดาทั่วไป เราก็เอาสิ่งนี้ตั้งแล้วให้เพื่อนๆ ช่วยกันคิดเป็นมายแมพปิ้งเพื่อหาเครื่องมือที่เราต้องทำเพื่อช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาตรงนี้ ซึ่งสาเหตุที่เราเลือกที่จะทำธุรกิจที่เกี่ยวกับกลุ่มคนประเภทนี้เพราะเราเคยไปสถานที่ที่มีแต่ผู้สูงอายุและผู้พิการทางด้านสายตา เราได้เห็นผู้สูงอายุคนหนึ่งที่ต้องใช้ไม้เท้าในการช่วยเดินเขาลื่นล้มพยาบาลที่คอยดูแลอยู่ที่นั้น

ก็ไมได้สนใจอะไรเขาเลยและเขาก็ต้องพยายามลุกขึ้นมาเอง ซึ่งคิดว่ามันลำบากสำหรับพวกเขามาก ประกอบกับเพื่อนในกลุ่มก็เคยทำโครงงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เลยชอบเหมือนกันและตัดสินใจที่จะทำธุรกิจไม้เท้าอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการทางด้านสายตา ไม่เท้าอัจฉริยะเป็นเหมือนดวงตาของผู้สูงอายุและผู้พิการด้านสายตาไปเลย อยากให้ตัวไม้มี GPS จับเซนเซอร์สิ่งกีดขวาง ในส่วนของหูฟังที่เชื่อมต่อกับไม้อยากให้มี GPS ด้วยเหมือนกัน เพราะเราคิดว่าแค่ประเด็นเล็กๆ ที่ พวกเขาเหล่านี้เดินออกจากบ้านไปอาจจะมีการหายตัว พลัดหลงกับญาติ หรืออาจะถึงขั้นประสบอุบัติเหตุ โดยสาเหตุอาจจะมาจากการที่ญาติไม่สามารถรู้ได้ว่าพวกเขาอยู่ไหน เดินไปไหน อาจจะเห็นแค่ตัวไม้เท้าแต่ไม่เห็นตัวบุคคลว่าเขาไปไหนแล้ว เราก็เลยเลือกที่จะใช้ GPS ติดตัวพวกเขาไว้เพื่อเป็นตัวแจ้งว่าพวกอยู่ที่ไหน กำลังไปไหน แล้วทำอะไรอยู่ ซึ่งถ้าเขาไม่หายเข้าไปในป่า ในสถานที่ที่อับสัญญาณจริงๆ ยังไงเราก็สามารถหาเขาเจอได้”

“ขอบคุณมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่จัดโครงการดีๆแบบนี้ ในทีมเราคิดว่าผู้ประกอบการไม่ได้สร้างให้เราเรียนจบแล้วต้องเป็นเจ้าของธุรกิจเสมอไป แต่มันทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้และทำอย่างอื่นควบคู่กันไปในระหว่างการเรียนและทำงานได้ เราได้รู้อะไรหลายๆ อย่างที่มันมากกว่าพนักงานรายเดือน อยากฝากถึงน้องๆ ที่ฝันว่าอยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง อยากจะสร้างธุรกิจที่เราคิดไว้ให้เป็นจริงน้องๆ ควรที่จะเข้ามาเริ่มต้นในแคมป์นี้เพราะแคมป์นี้สามารถเป็นใบเบิกทางที่ให้ความรู้กับน้องๆ ทำให้น้องๆ ไปสู่จุดที่น้องๆ คิดฝันและอยากจะทำมันได้อย่างแน่นอน” นางสาวพรทิภา กล่าวทิ้งท้าย

604290

รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า “โครงการแคมป์ผู้ประกอบการรุ่นเล็ก เด็กหัวการค้า สี่ครั้งที่ผ่านมาได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่ง เราจึงจัดโครงการผู้ประกอบการรุ่นเล็ก เด็กหัวการค้า ปีที่5 อย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 11-13 มกราคม 2562 นี้ นอกจากนักเรียนชั้นมัธยมปลายทั่วประเทศไทยจะได้เรียนรู้แนวคิดในการนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาสร้างให้เกิดธุรกิจใหม่ๆ หรือ IDE (Innovation Driven Entrepreneurship) จากมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology
(MIT) สถาบันชั้นนำของโลก ซึ่งหลักสูตรวิชานี้นักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจะได้เรียนในหลักสูตรทุกคน ที่สำคัญยังมีสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกว่า 20 ล้านบาท”
 
“มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการร่วมปลูกฝั่งให้นักเรียนชั้นมัธยมปลายเป็นผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพต่อไปในอนาคต ส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้แข็งแกร่ง โดยทางมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมุ่งเน้นเสริมสร้างศักยภาพนักศึกษาเป็นสิ่งสำคัญ เน้นให้นักศึกษาได้ทำการฝึกงานทุก ๆ ปีตลอดการเรียนระยะเวลา 4 ปี เริ่มตั้งแต่ชั้นปีที่1 เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้รูปแบบการทำธุรกิจผสมผสานกับนวัตกรรมอย่างจริงจังในแต่ละสาขาอาชีพ เพื่อเรียนรู้ปัญหาการทำงานและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการ

ทำงานหรือทำธุรกิจ” การเรียนการสอนในวิชาการประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม หรือ IDE 101 ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีการเรียนการสอนทั้งส่วนของขั้นตอนที่ 0 หรือ Step Zero โดยเริ่มตั้งแต่การสำรวจค้นหา (Exploration) และการทดลอง (Experiment) และการลงมือทำ (Execute) ซึ่งในขั้นตอนนี้จะมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ลงพื้นที่จริง ๆ เพื่อที่จะเข้าไปข้อมูลปัญหา พูดคุยกับคนในชุมชน เพื่อที่จะสามารถค้นหาโอกาสในการประกอบการ จากนั้นจึงมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในห้องเรียน โดยการเรียนการสอนจะเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ที่จะต้องทำจริง เน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวของนักศึกษา โดยทางคณาจารย์ผู้สอนจะเป็นผู้ผลักดันและสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ ซึ่งเมื่อผ่านขั้นตอนที่0 แล้วจึงจะเรียนรู้แนวทางการสร้างธุรกิจใน 24 ขั้นตอนของการสร้างธุรกิจ (Disciplined Entrepreneurship) ซึ่งจะครอบคลุม 6 ด้านของการทำธุรกิจ อันประกอบไปด้วย ลูกค้าของธุรกิจคือใคร สินค้าและบริการสามารถทำอะไรให้ลูกค้าได้บ้าง ลูกค้าครอบครองสินค้าและบริการของธุรกิจได้อย่างไร ธุรกิจจะสามารถทำเงินจากสินค้าและบริการได้อย่างไร ธุรกิจจะออกแบบและสร้างสินค้าและบริการได้อย่างไร แผนการขยายธุรกิจเป็นอย่างไร” อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวทิ้งท้าย  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook