“ลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา” เรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก!

“ลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา” เรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก!

“ลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา” เรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบันงานละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เรามักจะพบเห็นกันอยู่บ่อยๆ ก็คงหนีไม่พ้นสินค้าเลียนแบบ โดยเฉพาะ “ก๊อปปี้แบรนด์เนม” ที่ขายเกลื่อนอยู่ตามท้องตลาด หรือแม้แต่บนโลกออนไลน์ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้สินค้าเลียนแบบยังคงดำเนินธุรกิจไปได้ ก็เพราะว่าสินค้าเหล่านี้สามารถตอบสนองความต้องการในกลุ่มผู้ซื้อ ซึ่งมี “รสนิยมสูง แต่รายได้ต่ำ” ได้เป็นอย่างดีพอสมควร แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การสนับสนุนหรือซื้อขายของปลอม ถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งความจริงควรเป็นเรื่องที่ทุกคน ต้องตระหนักและให้ความสำคัญ

ความหมายของลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง เป็นทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อเกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เสียหายมีสิทธิ์ที่จะอาศัยกระบวนการยุติธรรม ป้องกันปราบปรามการละเมิดนั้น ด้วยโทษทางอาญา

และขณะเดียวกันก็มีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน จากผู้ละเมิดในทางแพ่งได้อีกส่วนหนึ่ง ในทางอาญา คดีละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดต่อส่วนตัว เริ่มและระงับคดีได้ก็ด้วยเจตนา ของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในงานลิขสิทธิ์นั้นๆ ไม่ใช่ผู้เสียหายแต่อย่างใด

ทรัพย์สินทางปัญญามีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ที่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องลิขสิทธิ์ ซึ่งได้แก่ งานวรรณกรรม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นาฏกรรม ศิลปกรรม (งานจิตรกรรม งานประติมากรรม งานภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม งานภาพถ่าย งานภาพประกอบ งานศิลปประยุกต์) ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง นักแสดง และงานแร่เสียง

hsa-us-federal-agent-examinin

ตัวอย่างข้อหา หรือฐานความผิดความ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน

  • มาตรา 27 มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท
  • มาตรา 69 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้
  • มาตรา 77 ถ้ากระทำเพื่อการค้าจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 800,000 บาท

ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งงานอันทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ เพื่อหากำไรด้วยการ

  • มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ให้เช่าซื้อ หรือเสนอให้เช่าซื้อ
  • เผยแพร่ต่อสาธารณชน แจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์
  • นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ผิด มาตรา 31 มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท และมาตรา 77 ถ้ากระทำเพื่อการค้า จำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท

ประเทศไทย เคยถูกสำนักงานผู้แทนทางการค้าของสหรัฐฯ (USTR) จัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญามากที่สุด (PFC) ตั้งแต่ปี 2535 ซึ่งในขณะนั้นเมืองไทยมีปัญหาการปลอมแปลง เลียนแบบสินค้าอย่างรุนแรง ต่อมาทางการไทยได้มีการปรับปรุงแก้ไข จนในปี 2537 สหรัฐฯ ได้ปรับลดให้ไทยอยู่ในระดับประเทศที่ถูกจับตามอง (WL) จนถึงปี 2549 และปรับเป็นประเทศที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษ (PWL) ในปี 2550 ***ปัจจุบัน (2562) ไทยอยู่ในบัญชีประเทศที่ถูกจับตามอง (WL)***

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook