"เครื่องราชอิสริยาภรณ์" คืออะไร เรียนรู้ความหมายของ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

"เครื่องราชอิสริยาภรณ์" คืออะไร เรียนรู้ความหมายของ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

"เครื่องราชอิสริยาภรณ์" คืออะไร เรียนรู้ความหมายของ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงเรียกว่า "เครื่องราชอิสริยยศ" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเครื่องราชอิสริยยศขึ้นอีกหลายตระกูล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เปลี่ยนมาเรียกว่า "เครื่องราชอิสริยาภรณ์" สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดีให้แก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทั้งที่เป็นบุรุษและสตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์

695267

เรียกโดยย่อว่า "ร.ม.ภ." เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2505 โดยเหตุที่ว่าได้มีการผูกสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จึงสมควรที่จะมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานแก่ประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นมงคลยิ่งราชมิตราภรณ์จัดเป็นเครื่องราชอิสริยภรณ์ที่มีลำดับเกียรติสูงที่สุดของไทย

เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

347826

มีอักษรย่อว่า ม.จ.ก. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งพระมหากษัตริย์จะพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่สืบเนื่องโดยตรงในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชหรือผู้ซึ่งพระบรมวงศานุวงศ์ดังกล่าวได้เสกสมรส นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่ประมุขของต่างประเทศด้วย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์

524178

มีอักษรย่อว่า น.ร. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีความเป็นมาสืบแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างดารานพรัตนขึ้นสำหรับใช้ประดับที่เสื้อ ซึ่งทรงเรียกว่า "เครื่องประดับสำหรับยศ" นอกจากนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างแหวนนพรัตนสำหรับพระราชทานแก่พระราชวงศ์ฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดจนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นพุทธมามกะ ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างดวงตรามหานพรัตน สำหรับห้อยสายสะพายขึ้นเป็นครั้งแรกของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า

336742

สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2416 ด้วยทรงเห็นว่าพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนนานมาเป็นเวลา 90 ปี ก็ด้วยความจงรักภักดีและการปฏิบัติราชการของพระบรมวงศานุวงศ์และบรรดาขุนนางข้าราชการทั้งปวง ทั้งมีพระราชประสงค์จะทรงชุบเลี้ยงบรรดาทายาทของบุคคลเหล่านี้ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในราชการสืบเนื่องต่อไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทายาทของผู้ได้รับพระราชทานสามารถรับพระราชทานตราสืบตระกูลของบิดาได้ โดยพระราชทานนามพระองค์ "จุลจอมเกล้า" เป็นนามของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ พร้อมทรงคิดคำขวัญจารึกบนดวงตราว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ"

โดยผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในแต่ละชั้น จะได้รับพระราชทานเครื่องยศเหมือนขุนนางในสมัยก่อนจึงมีการเปรียบเทียบได้ดังนี้

  • ชั้น ปฐมจุลจอมเกล้า มีบรรดาศักดิ์เสมอ ขุนนางชั้น เจ้าพระยา
  • ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ - ทุติยจุลจอมเกล้า มีบรรดาศักดิ์เสมอ ขุนนางชั้น พระยาพานทอง
  • ชั้น ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีบรรดาศักดิ์เสมอ ขุนนางชั้น พระยาโต๊ะทอง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์

265179

เรียกอย่างย่อว่า ตรารัตนาวราภรณ์ และมีอักษรย่อว่า ร.ว. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในพระองค์ สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. 2454 เพื่อเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับเชิดชูเกียรติคุณแก่ข้าราชการผู้ที่ตั้งใจรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดีและมีความซื่อสัตย์สุจริตตลอดมา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี

535114

เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2461 สำหรับบำเหน็จความดีความชอบแก่ผู้ทำความชอบพิเศษเป็นประโยชน์ยิ่งแก่ราชการทหาร ไม่ว่ายามสงบหรือยามสงคราม ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ประกอบด้วย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ 4 ชั้น ได้แก่ ชั้นเสนางคะบดี ชั้นมหาโยธิน ชั้นโยธิน ชั้นอัศวิน และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ 2 ชั้น ได้แก่ เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร เหรียญรามมาลา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก

711732

เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้มีทั้งหมด 8 ชั้น ได้แก่

  • ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
  • ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
  • ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
  • ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
  • ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
  • ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
  • ชั้นที่ 6 เหรียญทอง (ร.ท.ช.)
  • ชั้นที่ 7 เหรียญเงิน (ร.ง.ช.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย

597763

เป็นตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หนึ่งใน 8 ตระกูลที่สำหรับพระราชทานแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้กระทำคุณความดี ทั้งบุรุษและสตรี โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยนี้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน โดยการพิจารณาเสนอขอพระราชทานของรัฐบาล เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติยศอย่างสูง แก่ผู้ได้รับพระราชทาน พระราชทานทั้งบุรุษและสตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย มีทั้งหมด 8 ชั้น มีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
  • ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
  • ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
  • ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
  • ขั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
  • ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
  • ชั้นที่ 6 เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.)
  • ชั้นที่ 7 เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์

765367

เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เพื่อพระราชทานแก่ผู้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน แบ่งออกเป็น 7 ชั้น

  • ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
  • ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์
  • ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์
  • ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์
  • ชั้นที่ 5 เบญจมดิเรกคุณาภรณ์
  • ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์
  • ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์วัลลภาภรณ์

944232

เรียกโดยย่อว่า "ว.ภ." เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในพระองค์ ที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2461 พระราชทานให้แก่ผู้มีหน้าที่อยู่ประจำใกล้ชิดพรองค์ในพระราชสำนัก โดยตั้งใจรับราชการด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่พอพระราชหฤทัย โดยพระราชทานให้ทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ปัจจุบันพ้นสมัยพระราชทานแล้ว

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ

521732

เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอนุญาตให้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อส่งเสริมกำลังใจแก่ผู้อุทิศตนให้กิจการลูกเสืออย่างแท้จริง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา

431463

เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเหน็จในพระองค์ ที่สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เพื่อพระราชทานให้แก่ผู้ที่ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณในพระองค์ รัชทายาท และราชตระกูล โดยความจงรักภักดี ที่จะให้เป็นคุณเป็นประโยชน์ เป็นพระเกียรติยศในพระองค์ และราชตระกูล โดยจะพระราชทานให้เฉพาะฝ่ายหน้า ปัจจุบันพ้นสมัยพระราชทานแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook