ดาราศาสตร์น่ารู้ สถานีอวกาศนานาชาติปรับหมุนทิศทางอย่างไร?

ดาราศาสตร์น่ารู้ สถานีอวกาศนานาชาติปรับหมุนทิศทางอย่างไร?

ดาราศาสตร์น่ารู้ สถานีอวกาศนานาชาติปรับหมุนทิศทางอย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถานีอวกาศนานาชาติปรับหมุนทิศทาง ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Control Moment Gyroscope (CMG) นั่นเอง

72486798_2658477107549220_153

Control Moment Gyroscope (CMG) คืออะไร?

CMG เป็นอุปกรณ์ช่วยรักษาระดับทิศทางของแกนหมุนจากการทำงานของไจโรสโคป (Gyroscope) โดยอาศัยอุปกรณ์ลักษณะคล้ายล้อหมุนเร็วจนเกิดโมเมนตัมเชิงมุมขึ้น ทำให้รักษาทิศทางและสามารถเอียงในมุมต่างๆ ได้โดยอิสระ หลักการนี้ถูกนำไปใช้กับเข็มทิศ ระบบการบินอัตโนมัติ (Autopilot) ของเครื่องบิน กลไกบังคับหางเสือของตอร์ปิโด อุปกรณ์ป้องกันการกลิ้งบนเรือใหญ่ และระบบนำร่องเฉื่อย (Inertial guidance)

อุปกรณ์นี้สำคัญอย่างไรกับสถานีอวกาศ?

ยานสำรวจอวกาศส่วนใหญ่ใช้เชื้อเพลิงขับดันในการปรับตำแหน่งยาน แต่สถานีอวกาศนานาชาตินั้นใช้ CMG เนื่องจากใช้เพียงพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้อย่างไม่จำกัด ต่างจากการใช้เชื้อเพลิงขับดันที่ต้องเติมเชื้อเพลิงใหม่อยู่เสมอ นอกจาก CMG มีหน้าที่รักษาตำแหน่งการโคจรของสถานีไว้แล้ว ยังจำเป็นอย่างยิ่งต่อการปรับแผงรับแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่ติดตั้งไว้บนสถานี เนื่องจากในระหว่างที่โคจรรอบโลก แผงรับแสงอาทิตย์จะรับแสงในมุมที่ต่างกันไปแม้มีวิธีการปรับหมุนเฉพาะแผงรับแสงอาทิตย์แล้ว ยังจำเป็นต้องใช้ CMG ปรับหมุนทั้งสถานีเพื่อให้แผงรับแสงอาทิตย์ได้รับแสงมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

เรียบเรียง : ศิวรุต พลอยแดง - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook