IMF คืออะไร แล้วประเทศไทยเรามีโควตา การกู้เงินเท่าไหร่? เคยกู้ไปกี่ครั้ง?

IMF คืออะไร แล้วประเทศไทยเรามีโควตา การกู้เงินเท่าไหร่? เคยกู้ไปกี่ครั้ง?

IMF คืออะไร แล้วประเทศไทยเรามีโควตา การกู้เงินเท่าไหร่? เคยกู้ไปกี่ครั้ง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

IMF หรือ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) เป็นองค์กรที่รัฐบาลของกลุ่มประเทศพันธมิตรได้ร่วมก่อตั้งขึ้น มีฐานะเป็นทบวงการชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ โดยมีข้อบังคับว่าประเทศที่จะเป็นสมาชิกธนาคารโลก และจะต้องเป็นสมาชิกของ IMF ด้วย เริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1947 ศูนย์บัญชาการอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ จะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติอยู่ก่อนแล้ว ในปัจจุบันมีสมาชิก 189 ประเทศ

เมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนการเงินฯ ประเทศสมาชิกจะได้รับจัดสรรจำนวนโควตาในสกุลสิทธิพิเศษถอนเงิน (SDR) ตามขนาดของเศรษฐกิจและความสำคัญของประเทศสมาชิกนั้นๆ เทียบกับเศรษฐกิจโลก IMF จะทำการทบทวนโควตาทุก 5 ปี เพื่อปรับปรุงโควตาของแต่ละประเทศให้เหมาะสมกับฐานะทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยน แปลงไป รวมทั้งเพื่อเพิ่มทุนดำเนินการของกองทุนการเงินฯ ให้พอเพียงกับความจำเป็น โควตา มีบทบาทสำคัญในการกำหนดสิทธิ และวงเงินกู้ของประเทศสมาชิก กล่าวคือ ประเทศสมาชิกจะได้รับคะแนนเสียงพื้นฐานเท่ากันจำนวน 250 คะแนน และเพิ่มอีกหนึ่งคะแนนเสียงต่อโควตา 100,000 SDR นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกสามารถกู้เงินจากกองทุนการเงินฯ ได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของจำนวนโควตาต่อปี และรวมกันไม่เกินร้อยละ 300 ของจำนวนโควตา

ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 44 ของกองทุนการเงินฯ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2492 โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นตัวแทนของประเทศไทยในกองทุนการเงินฯ ตามพระราชบัญญัติให้อำนาจปฏิบัติการเกี่ยวกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ พ.ศ. 2494 รวมทั้ง ผู้ว่าการและรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรองใน กองทุนการเงินฯ ตามลำดับ ปัจจุบัน ประเทศไทยมีโควตาเท่ากับ 1,081.9 ล้าน SDR หรือร้อยละ 0.50 ของจำนวนโควตาทั้งหมด เทียบเท่ากับ 11,069 คะแนนเสียง

ประเทศไทยสมัครเป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลกในปี 2492 มีผลทำให้องค์กรทั้งสองทำหน้าที่ดูแลให้ประเทศไทยปฏิบัติตามข้อกำหนดขององค์กรระหว่างประเทศทั้ง 2 ในกรณีของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

รัฐบาลไทยได้ดำเนินการตามพันธสัญญาของสมาชิก ดังนี้

  1. ประกาศปรับค่าเสมอภาคของเงินบาท (par value) เทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในเวลานั้น เงินดอลลาร์สหรัฐฯกำหนดค่าเสมอภาคเทียบกับทองคำในอัตรา 35 เหรียญต่อทองคำบริสุทธิ์น้ำหนัก 1 ออนซ์ ซึ่งเป็นค่าตายตัว (จนกระทั่งในปี 2514 IMF ประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนจากระบบค่าเสมอภาค มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว(Flexible Exchange RateSystem) ประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนตามไปด้วยแต่ล่าช้าไปถึงปี 2521)
  2. ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อมิให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวขึ้นลงเกินกว่า 1 % ของค่าเสมอภาค
    ซึ่งเท่ากับว่าประเทศสหรัฐอเมริกาไม่มีพันธะในการเข้าไปซื้อขายเงินตราเพื่อรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ภาระดังกล่าวตกเป็นของประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ตามยังมีการกำหนดหน้าที่ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ดังนี้
    1.กำหนดให้กองทุนการเงินฯ ทำหน้าที่สนับสนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ
    2.สนับสนุนการค้าระหว่างประเทศให้ขยายตัวอย่างสมดุล
    3.เสริมสร้างเสถียรภาพในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
    4.สนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ
    5.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงิน

การกู้เงิน IMF ของประเทศไทย

ประเทศไทยเคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ตามโครงการเงินกู้ Stand-by รวม 5 ครั้งด้วยกันในวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,431 ล้าน SDR โดยเข้าโครงการ Stand-by

  • 1 ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2521 จำนวนเงิน 45.25 ล้าน SDR
  • 2-4 ต่อมาในช่วงที่ไทยประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 ระหว่าง พ.ศ. 2524 -2529 ประเทศไทยได้เข้าโครงการ Stand-by 3 ครั้ง รับจำนวนเงินทั้งหมด 1,486 ล้าน SDR
  • 5 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 ไทยได้รับความช่วยเหลือจาก IMF เพื่อใช้แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงินเป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,900 ล้าน SDR
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook