16 เทคนิคที่จะทำให้เรามีเสน่ห์และเป็นที่รักของคนรอบข้าง

16 เทคนิคที่จะทำให้เรามีเสน่ห์และเป็นที่รักของคนรอบข้าง

16 เทคนิคที่จะทำให้เรามีเสน่ห์และเป็นที่รักของคนรอบข้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราทุกคนคงไม่อยากมีเพื่อนหรือคนที่คุยแล้วแสดงท่าทางที่ไม่ให้เกียรติ รวมทั้งแสดงท่าทางที่ไม่ดีใส่เรา เพราะเราทุกคนก็ต้องการคนที่คุยด้วยแล้วให้เกียรติ สุภาพ และเป็นคนที่จิตใจดี หรือถ้าพูดในอีกความหมายหนึ่ง คือ การที่มีเสน่ห์ต่อบุคคลอื่น ซึ่งสิ่งนี้เรามักจะไม่ค่อยเจอในคนส่วนใหญ่ แต่ก็อย่าเพิ่งที่จะคิดน้อยใจไปเพราะเรามีเทคนิคดีๆ ที่จะทำให้ตัวเองมีเสน่ห์และเป็นที่น่าคบหาของคนรอบข้างมาแนะนำ

85185656_540733493458901_1085

1. การเคารพผู้อื่น

เมื่อคนที่กำลังพูดหรือทำอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเขารู้สึกว่ามีคนให้ความสนใจ ใส่ใจ ยอมรับ หรือให้ความสนใจในความคิดของพวกเขา มุมมองและประสบการณ์ของต่างๆ ที่พวกเขาได้สื่อสารออกมา ก็จะทำให้พวกเขารู้สึกว่าตัวเองได้รับความสนใจและรู้สึกว่าเป็นคนที่สำคัญ โดยมีคำพูดหนึ่งของ Bryant H. McGill พูดไว้ว่าสิ่งที่เป็นการเคารพและแสดงความจริงใจต่อผู้อื่นมากที่สุดคือ การฟังอย่างตั้งใจเวลาที่ผู้อื่นพูด

2. แสดงความอ่อนแอของตัวเราเองบ้างในบางครั้ง

การที่เราแสดงความอ่อนแอหรือความผิดพลาดในบางครั้ง ก็เป็นการแสดงถึงความมีน้ำใจ การยอมรับในสิ่งนั้น สำหรับคนที่มีเสน่ห์จะเป็นคนที่ไม่พยายามเอาชนะคนที่เราได้พูดคุยด้วย หรืออวดว่าตัวเองเก่งกว่า นอกจากนี้ก็ยังกล้าที่จะยอมรับในความผิดพลาดของตัวเองและพร้อมที่จะแก้ไข เพราะพวกเขารู้ว่าความผิดพลาดนั้นสามารถเกิดขึ้นได้

3. พูดให้น้อยๆ แต่ฟังให้มากๆ

สิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับคนที่มีเสน่ห์ คือ การที่ฟังคนอื่นมากกว่าที่เราจะพูด โดยการที่เรารับฟังคนอื่นนั้น จะทำให้เราจับประเด็นในสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะบอกเรา และสามารถตอบกลับไปได้อย่างตรงประเด็น นอกจากนี้จากงานวิจัยของ State University of New York ยังบอกว่าถ้าหากเราเป็นผู้ฟังที่ดีในบางครั้ง เราอาจจะได้รับรู้ถึงความลับที่เขาอยากจะเล่าให้ฟังก็ได้ นอกจากนี้การพูดแซง หรือแทรกขึ้นมาก็จะทำเราดูไม่มีเสน่ห์เหมือนกัน

4. จดจำชื่อคนที่เรากำลังพูดด้วยให้ได้

เคยรู้สึกประหม่าไหมเวลาที่เราลืมชื่อคนที่กำลังสนทนาอยู่ด้วย ซึ่งเรื่องแบบนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน แต่สำหรับคนที่มีเสน่ห์นั้น เขาจะพยายามจดจำชื่อของคนที่กำลังสนทนานั้น ซึ่งการที่เราจดจำชื่อและรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ของคนที่เราสนทนา จะทำให้ผู้ฟังรับรู้ได้ว่าเราให้ความสำคัญกับเขา แต่ถ้าหากว่าเราเป็นคนที่จำชื่อคนยากหรือลืมบ่อยๆ ก็มีเทคนิคมาแนะนำ โดยในระหว่างการสนทนาเราก็พูดชื่อของคู่สนทนาบ่อยๆ เพื่อให้เราจำได้ รวมทั้งเราอาจจะตั้งวิธีการจำในแบบของเรา

5. ฝึกฝนบุคลิกภาพ และท่าทางให้เหมาะสม

การสื่อสารนั้นไม่ได้มีแค่การพูดเท่านั้น แต่ยังมีการใช้ท่าทางหรือภาษากายในการสื่อสารด้วย ซึ่งสำหรับคนที่มีเสน่ห์นั้นท่าทางในการพูดคุยกับผู้อื่น จะแสดงออกถึงความมั่นใจและเปิดรับสิ่งใหม่ๆ ท่าทางของมือและขานั้นดูผ่อนคลาย และท่าทางที่เปิดรับ เพื่อให้ผู้พูดรู้สึกว่าสามารถผ่อนคลายมากขึ้น แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เราเห็นอีกคนยืนกอดอก เราสามารถที่จะตีความได้ว่าคนนั้นอาจจะรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือไม่สบายใจบางอย่าง จึงได้ปกป้องตัวเองด้วยการแสดงท่าทางแบบนั้นออกมา

6. การใช้โทนเสียงหรือน้ำเสียงที่เหมาะสม

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสื่อสารมักจะอ้างถึง “กฎ 7-38-55” ซึ่งถูกคิดขึ้นมาในปี 1971 โดย Albert Mehrabian นักจิตวิทยาของ UCLA (The University of California, Los Angeles) โดย 55 เปอร์เซ็นต์คือการแสดงออกของท่าทางเวลาที่เราพูด 38 เปอร์เซ็นต์คือน้ำเสียงที่พูดออกไป และ 7 เปอร์เซ็นต์คือคำศัพท์ที่เราเลือกใช้ เพราะฉะนั้นเราควรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้น้ำเสียงที่นำไปสู่การทะเลาะหรือที่แสดงให้เห็นว่าตัวเองนั้นก้าวร้าว ควรพูดจาด้วยความไพเราะและน้ำเสียงที่อ่อนโยน จะทำให้เราเป็นคนที่น่ารักและมีเสน่ห์มากขึ้น

7. ใช้คำพูดที่เหมาะสม

การที่เราทำให้บทสนทนานั้นน่าคุยและดูเป็นธรรมชาติเพราะว่าเราใช้คำพูดที่สุภาพและเหมาะสม ยกตัวอย่างการที่เราเจอเพื่อน แทนที่เราจะทักว่า “Ay up!” ก็ให้เปลี่ยนมาใช้ “Hello” แทนจะสุภาพมากกกว่า นอกจากนี้การที่เราใช้คำพูดที่เหมาะสมก็ ก็จะทำให้คนที่เราคุยด้วยนั้นมองว่าเราเป็นคนสุภาพ เรียบร้อย

8. ยิ้มให้เยอะเข้าไว้

“รอยยิ้มของเรานั้น จะทำให้เราดูเป็นมิตรและน่าคบหา รวมทั้งยังทำให้คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานั้นรู้สึกสบายใจอีกด้วย” Les Brown กล่าว เพราะการที่เรามีความสุขนั้นจะมีแรงดึงดูดบางอย่างที่สามารถทำให้คนอื่นมาชอบเราได้ แต่ถ้าหากเราทำหน้าตาบูดบึ้ง อารมณ์เสีย คนอื่นๆ ก็จะรู้สึกกลัวและตีตัวออกห่างจากเรา นอกจากนี้ยังมีนักวิจัย แนะนำว่าการที่เรายิ้มนั้นจะไปกระตุ้นสารเคมีในสมองบางตัวทำให้เรารู้สึกมีความสุขอีกด้วย

9. กล่าวชื่นชมคนอื่นๆ และหลีกเลี่ยงการนินทา

ถ้าหากเราเจอเพื่อนที่กำลังนินทาคนอื่นๆ อยู่ พยายามที่จะหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปร่วมในบทสนทนานั้น หรือถ้าหากเข้าไปอยู่ในวงสนทนาที่มีการนินทา ก็พยายามที่จะพูดในประเด็นอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการที่เราชื่นชมผู้อื่นต่อหน้าอย่างจริงใจ จากงานวิจัยได้บ่งบอกว่าจะทำให้ผู้ที่ถูกชมนั้นมีความรู้สึกที่ดีต่อเรามากขึ้น

10. ถามสิ่งที่คนอื่นๆ สนใจ

ถ้าหากเราพบว่าบทสนทนาเริ่มที่จะไม่น่าสนใจแล้ว เราอาจจะเปลี่ยนไปคุยในประเด็นอื่นๆ เช่น ถามถึงสิ่งที่พวกเขาชอบในเรื่องงานอดิเรกหรือกีฬา เป็นต้น ซึ่งการถามในลักษณะแบบนี้เราจะสามารถรู้ถึงสิ่งที่พวกเขาชอบได้จากท่าทางการแสดงออก และนั่นเองที่เป็นสิ่งที่จะทำให้บทสนทนากลับมาสนุกอีกครั้ง

11. พยายามมองทุกอย่างให้เป็นเรื่องทั่วๆ ไป และยอมรับในความแตกต่าง

ถ้าหากเราและเพื่อนมีความเห็นที่ต่างกันในบางเรื่องหรือบางสิ่ง และอาจจะนำไปสู่การมีปัญหาในอนาคตได้ ซึ่งเรานั้นไม่ควรที่จะไปโต้เถียงหรือทะเลาะ แต่ควรที่จะเปลี่ยนความคิดของตัวเองโดย ยอมรับในความคิดที่แตกต่างของผู้อื่นพยายามมองในแง่บวก

12. ไม่ใช้โทรศัพท์ขณะที่ทำกำลังพูดคุยกับผู้อื่น

แอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร เช่น Instagram Facebook หรือ Twitter จะมีการแจ้งเตือนขึ้นมาใหม่ๆ ตลอดเวลาให้เราเข้าไปอ่านหรือดู แต่ถ้าหากเรากำลังพูดคุยกับใครซักคนอยู่การที่เรามองหรือเล่นโทรศัพท์เราในทุกๆ นาที หรือบ่อยครั้งระหว่างการสนทนา เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะว่าการที่เราให้ความสนใจกับคู่สนทนาของเรานั้น จะทำให้เขาเชื่อมั่นในคำพูดของเราและรับรู้ได้ถึงความใส่ใจที่เรามีให้

13. เตือนตัวเองตลอดเวลาให้ทำดีกับผู้อื่น (ให้เกียรติ)

“กฎพื้นฐานที่ยุติธรรมที่สุดเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนบนโลกใบนี้คือ ใครทำสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้น” คำกล่าวของ Guruji Sri Sri Poonamji โดยเราอาจจะเคยได้ยินการทดสอบเกี่ยวกับการให้เกียรติ หรือ “Waiter Test” ซึ่งเราจะรู้ได้จากการที่คนเหล่านั้นปฏิบัติต่อพนักงานเสิร์ฟอย่างไร ซึ่งถ้าหากเป็นคนที่มีเสน่ห์ ไม่ตัดสินคนจากระดับฐานะ พูดจาดี และให้เกียรติพนักงานเสิร์ฟ

14. การสัมผัสอย่างเหมาะสม

การสัมผัสในที่นี้ คือการสัมผัสในสถานการณ์ที่เหมาะสม เช่น เมื่อเพื่อนของเราเรียนจบ หรือสำเร็จในการทำงานซักอย่างหนึ่ง เราก็ทำการจับมือดีใจกับเพื่อน หรือจับไหล่ จับแขนท่อนบนแบบเบาๆ เป็นการแสดงความดีใจ จะช่วยส่งเสริมคำพูดที่จริงใจของเรานั้นให้เพื่อนรับรู้ได้

15. การเข้าใจในตัวเอง

นอกจากการที่เราสามารถเข้าใจในตัวเอง ควบคุมจิตใจของตัวเองได้ เราก็ควรที่จะฝึกนิสัยการรับรู้และเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เพราะจะทำให้เรามีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเพิ่มมากขึ้น

16. ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

การทำให้ตัวเราเองนั้นมีความสุข ก็จะทำให้คนรอบข้างของเรานั้นมีความสุขไปด้วย ไม่มีใครอยากจะอยู่กับคนที่มีความคิดในแง่ลบ หรือดูมีแต่ความทุกข์ตลอดเวลา ทุกๆ คนก็อยากจะมีเพื่อนที่คิดบวกและคอยสนับสนุนพวกเขาในสิ่งที่ดีๆ เพราะฉะนั้น คนที่มีเสน่ห์คือคนที่สามารถทำให้ทุกๆ คนรู้สึกชื่นชมในตัวของพวกเขา โดยที่พวกเขาไม่ต้องทำตัวเองให้เป็นจุดเด่น หรือประกาศให้คนอื่นรับรู้ว่าตัวเองนั้นเป็นใครหรือทำอะไรอยู่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook