นิติศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?

นิติศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?

นิติศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงได้ตามแง่มุมที่ศึกษา เช่น วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (legal science proper), นิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง (legal science of facts) และ นิติศาสตร์เชิงคุณค่า (legal science of values)

นิติศาสตร์ (Jurisprudence) คำดังกล่าวในภาษาอังกฤษ เป็นคำเก่าที่ใช้ตั้งแต่สมัยโรมัน โดยมาจากภาษาละตินว่า jurisprudentium มีรากศัพท์จาก "juris" แปลว่า กฎหมาย และ "prudentium" แปลว่า ความฉลาด ซึ่งรวมแล้วแปลว่า "ความรู้กฎหมายหรือวิชากฎหมาย" โดยในประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน จะกล่าวไว้ในมูลบทนิติศาสตร์ฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วว่า "jurisprudence is the knowledge of things devine and human; the science of the just and the unjust"

การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมาได้มีการยุบโรงเรียนกฎหมายไปจัดตั้งเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเดิม ไม่พอใจที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่โรงเรียนกฎหมายไม่ได้ยกฐานะ ดร.ปรีดี พนมยงค์ จึงรับปากว่าจะช่วย

ในที่สุดจึงมีการออก "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าการโอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการโอนไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อันสืบทอดโดยตรงจากโรงเรียนกฎหมายเดิม

นิติศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง?

เรียนเกี่ยวกับตัวบทกฎหมาย ทำความเข้าใจข้อบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ศึกษาเกี่ยวกับ กฎเกณฑ์ ความประพฤติ ของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยกำหนดออกมาเป็น กฎหมาย เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกัน อย่างมีระเบียบและมีความสุข

ปี 1 เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป

เรียนเหมือนกันทุกสาขา เช่น จิตวิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ในด้านภาษาและการสื่อสาร เน้นการ ฟัง พูด อ่าน เขียน และเริ่มเรียนความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย

ปี 2 เริ่มเรียนวิชาบังคับ

ปีนี้จะเริ่มเรียนกฎหมายในลักษณะหนี้ กฎหมายลักษณะละเมิด เช่นซื้อขาย เช่า จำนอง จำนำ กู้ยืม ฯลฯ เรียนกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
กฎหมายมหาชนเบื้องต้น และเรียนวิชาเลือกที่เกี่ยวกับกฎหมาย เช่นการใช้ศัพท์และสำนวนกฎหมายภาษาอังกฤษ

ปี 3 เรียนในด้านกฎหมายเข้มข้นขึ้น

เรียนเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง กฎหมายลักษณะครอบครัว กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายภาษีและวิชาเลือก

ปี 4 เรียนในเชิงลึกขึ้น

ปีสุดท้ายที่เรียนก็จะมีเรียนกฎหมายนิติปรัชญา เช่นแนวความคิดปรัชญาทางกฎหมาย ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และเรียนหลักวิชาชีพนักกฎหมาย กฎหมายแรงงาน หลักวิชาชีพนักกฎหมาย กฎหมายการคลัง การภาษีอากร และวิชาเลือกทางกฎหมายที่คณะกำหนด

คณะนิติศาสตร์ จบมาทำงานอะไร?

  • ผู้พิพากษา/ตุลาการ
  • พนักงานอัยการ
  • ทนายความ
  • ผู้สอนในสถานศึกษา
  • ที่ปรึกษากฎหมาย/นิติกร
  • ประกอบธุรกิจ/อาชีพอิสระ
  • รับราชการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook