รวม 10 หลักสูตร การบินน่าเรียนในประเทศไทย สำหรับคนที่สนใจจะติดปีก

รวม 10 หลักสูตร การบินน่าเรียนในประเทศไทย สำหรับคนที่สนใจจะติดปีก

รวม 10 หลักสูตร การบินน่าเรียนในประเทศไทย สำหรับคนที่สนใจจะติดปีก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลักสูตรการบินนั้นเรียกว่าเป็นเรียกว่าเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมและเรียกได้ว่าสร้างอาชีพและเงินเดือนที่ดีให้กับนักศึกษาที่จบทางด้านนี้เป็นอย่างมาก จึงไม่แปลกเลยที่หลักสูตรทางด้านนี้จะได้รับความนิยมและเริ่มมีให้เลือกเรียนมากขึ้นตามสถาบันชั้นนำ

วันนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาดูกันว่า หลักสูตรการบิน ในประเทศไทย มีกี่ที่ ให้เพื่อนๆ เอาไว้เป็นตัวช่วย ในการเลือกตัดสินใจในการเรียนต่อในอนาคต

สถาบันการบินพลเรือน

สถาบันการบินพลเรือน (Civil Aviation Training Center) เดิมมีชื่อว่า “ศูนย์ฝึกการบินพลเรือนในประเทศไทย” เป็นหน่วยงานประเภทรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม โดยมีหน้าที่ในการอบรมและผลิตบุคลากรด้านการบินทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ ตามมาตรฐานระดับสากลที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) ได้กำหนดเอาไว้

สำหรับสถาบันการบินพลเรือนได้แบ่งหลักสูตรการเรียนการสอนออกเป็น 3 หลักสูตรด้วยกัน ได้แก่ หลักสูตรภาคพื้น หลักสูตรภาคอากาศ และหลักสูตรฝึกอบรม

หลักสูตรภาคพื้น

หลักสูตรภาคพื้น (Ground Training Programme) ได้มีการแบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 4 หลักสูตร ได้แก่

1. หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต (Bachelor of Technology in Aviation Program in Aviation Management) สาขาวิชาการจัดการการบิน เป็นหลักสูตร 4 ปี โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในแผนกวิทย์-คณิต และแผนกศิลป์ นักศึกษาจะเรียนรวมกันเป็นเวลา 2 ปี (ชั้นปีที่ 1 และ 2) และจะทำการเลือกสาขาวิชาเมื่อนักศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 มี 3 วิชาเอก ได้แก่

  • วิชาเอกการจัดการจราจรทางอากาศ (Air Traffic Management Program : ATM)
  • วิชาเอกการจัดการท่าอากาศยาน (Airport Management Program : APM)
  • วิชาเอกการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo Management Program : ACM)

2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Engineering) เป็นหลักสูตร 4 ปี โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนกวิทย์-คณิต มี 1 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์การบิน (Avionic Engineering Program : AEE)

3. หลักสูตรอนุปริญญา (ปวส.) เป็นหลักสูตร 2 ปีครึ่ง มี 3 หลักสูตร ได้แก่

  • หลักสูตรอนุปริญญา สาขาวิชานายช่างบำรุงรักษาอากาศยาน (Aircraft Maintenance – Aircraft Maintenance Engineer Licence) โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนกวิทย์-คณิต และระดับชั้น ปวช. แผนกเครื่องกลและเครื่องยนต์
  • หลักสูตรการบำรุงรักษาเครื่องวัดประกอบการบิน (Aircraft Maintenance – Aircraft Instrument)
  • หลักสูตรอนุปริญญาสาขาวิชาเทคโนโลยีอากาศยาน (อิเล็กทรอนิกส์การบิน) โดยเปิดรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนกวิทย์-คณิต และระดับชั้น ปวช. แผนกไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

4. หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต (ต่อเนื่อง) (Bachelor of Technology in Aviation (Continuing Program)) เป็นหลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี มี 2 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาการจัดการท่าอากาศยาน (ต่อเนื่อง) (Program in Airport Management (Continuing Program))
  • สาขาวิชาการจัดการการขนส่งสินค้าทางอากาศ (ต่อเนื่อง) (Program in Air Cargo Management (Continuing Program))

หลักสูตรภาคอากาศ

หลักสูตรภาคอากาศ (Flying Training Programme) ในปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกเป็นหลักสูตรต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี – เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์
  • หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล – เฮลิคอปเตอร์
  • หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล – เครื่องบิน
  • หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี – เครื่องบิน

หลักสูตรฝึกอบรม

หลักสูตรฝึกอบรม (Specific Training Programme) ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตรการอบรม ได้แก่

1. Operations Group Schedule

  • Air Traffic Control License & Rating
  • Air Traffic Controller License & Aerodrome Control Rating
  • Approach Terminal Control Non-Radar Procedural
  • Approach Terminal Control Radar
  • Area Airways Control Non-Radar Procedural
  • AIS Officer
  • AIS Cartography
  • Flight Operations Officer / Flight Dispatcher
  • Flight Operations Officer Refresher
  • Aviation Introductory to Flight Operations Officer / Flight Dispatcher
  • Search & Rescue Administration
  • CNS/ATM Technologies For Air Traffic Service Manager
  • Safety Management System
  • Aviation Security Management
  • Human Factor For Operational Personnel
  • Meteorology For Aviation Personnel
  • Performance Based Navigation
  • Controller – Pilot Data Link & Communication
  • Aerodrome Certification

2. Aircraft Maintenance Group

  • Helicopter Maintenance Special
  • Skill Test For Aircraft Maintenance Engineering

มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

คณะการบิน (School of Aviation) สาขาวิชาบริหารกิจการการบิน (Aviation Management) มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย มีแผนการเรียนการสอนทั้งภาคพื้นและภาคอากาศ ทั้งนี้ผู้เรียนภาคอากาศสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมเป็นนักบินพาณิชย์ได้ด้วย ซึ่งในหลักสูตรการเรียการสอนของที่นี่จะเน้นสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีห้องปฏิบัติการจำลองทางด้านการบิน เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ สาขาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วิทยาลัยการบินและคมนาคม สาขาการจัดการความปลอดภัยทางการบิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีจุดเด่นในการเรียนการสอนคือ “เรียนกับมืออาชีพ” มุ่งเน้นให้นักศึกษาเรียนรู้ ฝึกฝน และหาประสบการณ์จากการเรียนในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และการฝึกปฏิบัติงานจริงเสมือนเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในองค์กรที่มีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจการบินทั้งในภาครัฐและเอกชน มีการทำความร่วมมือทางด้านวิชาการและด้านบุคลากร ระหว่างมหาวิทยาลัยศรีปทุมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่ภาครัฐและเอกชนที่มีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจการบินอย่างกว้างขวาง เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน (TFTA) เป็นต้น โดยได้หลักสูตรการเรียนการสอนดังนี้

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน
  • กลุ่มวิชานักบิน (นักบินส่วนบุคคล,นักบินพาณิชย์)
  • กลุ่มวิชาการจัดการท่าอากาศยาน
  • กลุ่มวิชาการส่งกำลังบำรุงหรือโลจิสติกส์ทางอากาศ
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะเน้นการสอนให้คุณกลายเป็นบุคลากรด้านธุรกิจการบินที่มีคุณภาพ มีการเรียนการสอนที่ครบครันทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ซึ่งเนื้อหาต่างๆ ก็ค่อนข้างน่าสนใจมากทีเดียว เช่น การบริการผู้โดยสาร การจัดการตลาดการ ขนส่งสินค้า การบริหารท่าอากาศยาน เทคโนโลยี ไปจนถึงการสอนภาษาให้แน่น โดยห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีความทันสมัย ทั้งการจำลอง Boeing 787 Dreamliner รวมถึงท่าอากาศยานจำลองให้ผู้เรียนสามารถฝึกทำงานได้จริงขณะเรียน

สาขาวิชาธุรกิจการบิน โรงเรียนการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

หลักสูตรสาขาวิชาธุรกิจการบิน โรงเรียนการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการของสวนดุสิตเหมาะสำหรับคนที่อยากทำงานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน พนักงานบริการ และต้อนรับภาคพื้นไปจนถึงพนักงานบริการในอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางอากาศและพนักงานสำรองที่นั่งและออกบัตรโดยสาร

หลักสูตรจะเน้นการเรียนการสอนที่ครบถ้วน ช่วยให้คุณได้ฝึกการทำงานจริง โดยเฉพาะการเรียนภาษาอังกฤษที่สำคัญมากในสายวิชาชีพนี้ สำหรับธุรกิจการบินของสวนดุสิตจะต้องไปเรียนที่ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง หัวหิน

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

เปิดสอนหลักสูตรการจัดการธุรกิจการบิน มีเครื่องบินจำลอง (Mock up) เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะการให้บริการที่เหมือนจริง ซึ่งคณะอาจารย์ที่สอนล้วนมีประสบการณ์การทำงานด้านสายการบินมาอย่างเป็นพิเศษ ทั้งที่เคยประกอบอาชีพเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน หรือนักบินอีกด้วย หลักสูตรนี้จะเป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต เน้นการเรียนการสอนเชิงการจัดการธุรกิจ และที่สำคัญมีการฝึกปฏิบัติงานทุกปีการศึกษา

การจัดการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

มหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าอากาศดีที่สุด วิวสวยที่สุด และอยู่เหนือที่สุดของประเทศ อย่างมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้เปิดการเรียนการสอนสาขาการจัดการธุรกิจการบิน ซึ่งอยู่ในสำนักวิชาการจัดการ มีการเรียนการสอนเป็นแบบ 2 ภาษา คือเรียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสอนทั้งหมด เจาะลึกในด้านวิชาชีพตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงวิชาชีพขั้นสูง ล่าสุดทางสำนักวิชาได้สร้างห้องปฏิบัติการจำลอง (Mock up) ไว้สำหรับใช้ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาในสาขาฯ โดยจะมีอาจารย์เป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังจะเน้นเรื่องภาษาที่ 3 เพื่อสร้างความได้เปรียบให้ผู้เรียนด้วย

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เปิดสอนเป็นหลักสูตรนานาชาติ มีห้องปฏิบัติการจำลอง (Mock up) ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เสมือนเรียนในสถานที่จริง และด้วยการเรียนการสอนที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ นักศึกษาจะได้ฝึกฝนทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาที่จะต้องใช้ในการทำงานในด้านสายงานนี้อีกด้วย

สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

การเรียนของสาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศของที่นี่จึงเต็มไปด้วยความเข้มข้นทั้งทางทฤษฎี และทางปฏิบัติ ต้องได้เรียนรู้ตั้งแต่วิศวกรรมพื้นฐาน ไปจนถึงศาสตร์เฉพาะทางด้านการบินและอวกาศ เช่น โครงสร้างและวัสดุทางการบินและอวกาศ, ปฏิบัติการวิศวกรรมการบินและอวกาศ, การออกแบบอากาศยาน, การพัฒนาบุคลิกภาพ, การเผาไหม้และการควบคุมมลพิษ ไปจนถึงจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ

สาขาการจัดการธุรกิจการบิน (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

หลักสูตรการจัดการธุรกิจการบิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด เป็นการรวมพื้นฐานหลักการจัดการธุรกิจเข้ากับความรู้ในการปฏิบัติงานของธุรกิจสายการบิน การสอนเน้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสามารถก้าวสู่สายอาชีพด้านบริหารธุรกิจได้อย่างมืออาชีพและครอบคลุมธุรกิจสายการบินในทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การบริการ เทคโนโลยี และการจัดการภาคพื้นดิน พร้อมการฝึกงานในเทอมสุดท้าย 480 ชั่วโมง กับสายการบินชั้นนำทั้งในประเทศและนานาชาติ และมีจุดเด่นที่ผู้เรียนจะได้สัมผัสบรรยากาศและสังคมอินเตอร์ที่มีความหลากหลาย ซึ่งเอื้อต่อการเรียนธุรกิจการบินและการทำงานในอนาคต

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นมืออาชีพ รอบรู้ศาสตร์นวัตกรรมการบริการธุรกิจสายการบิน มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาต่างประเทศ มีคุณธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ ก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook