หมุดคณะราษฎร คืออะไร มีกี่หมุด มีเอาไว้ทำอะไร?

หมุดคณะราษฎร คืออะไร มีกี่หมุด มีเอาไว้ทำอะไร?

หมุดคณะราษฎร คืออะไร มีกี่หมุด มีเอาไว้ทำอะไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หมุดก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ หรือเรียกโดยทั่วไปว่า หมุดคณะราษฎร เป็นหมุดทองเหลืองฝังอยู่กับพื้นถนนบนลานพระบรมรูปทรงม้าด้านสนามเสือป่า ณ ตำแหน่งที่พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) อ่านประกาศคณะราษฎร มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ" จัดทำขึ้นโดยกระทรวงมหาดไทย มีพิธีฝังหมุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2479 โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นและหัวหน้าคณะราษฎรเป็นผู้ฝังหมุด

24_june_rivet

ในช่วงปีหลังนี้หมุดคณะราษฎรเป็นสถานที่จัดงานรำลึกเหตุการณ์การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ในวันที่ 24 มิถุนายน ร่วมกับมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในบริเวณนั้น โดยก่อนหน้านี้หมุดคณะราษฎรเคยหายไปจากที่ตั้งในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งมีคำสั่งให้ย้ายหมุดดังกล่าวไป จนกลับมาในสมัยรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร โดยหมุดดังกล่าว ประเสริฐ ปัทมสุคนธ์ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรสมัยนั้น เห็นความสำคัญจึงนำหมุดไปเก็บไว้ที่สภาผู้แทนราษฎร

plaque_celebrating_1932_thai_

สำหรับหมุดใหม่ หรือ หมุดหน้าใส มีข้อความรอบนอกว่า “ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง” ส่วนข้อความในวงด้านใน ระบุว่า “ขอประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาชนสุขสันต์ หน้าใส เพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน”

หมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2

20_september_rivet

หมุดคณะราษฎรหมุดที่ 2 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า หมุดคณะราษฎร 2563 เป็นหมุดทองเหลือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 11.6 นิ้ว ฝังอยู่บนพื้นปูนซีเมนต์ในท้องสนามหลวง ฝั่งถนนหน้าพระลาน

ในวันที่ 20 กันยายน 2563 ระหว่างการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ได้มีการฝังหมุดที่เป็นการอ้างถึงหมุดคณะราษฎร เรียกกันทั่วไปว่าหมุดคณะราษฎร 2563 จารึกข้อความว่า "20 กันยายน 2563 เวลาย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ ผองราษฎรได้แสดงเจตนารมณ์ ประเทศนี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่สมบัติของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง"

119655113_112596653926495_819_1

จัดทำขึ้นโดยกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ในการชุมนุมประท้วง #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร มีพิธีฝังหมุดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2563 โดยมีกลุ่มแกนนำผู้จัดกิจกรรมเป็นผู้ฝังหมุด

อย่างไรก็ตาม หมุดดังกล่าวถูก รื้อถอนออกไป โดยมีปูนซีเมนต์เทปิดทับไว้ ในวันที่ วันที่ 21 กันยายน 2563

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook