Dunning–Kruger effect อาการของคนเก่งไม่จริง แต่ชอบอวดเก่ง

Dunning–Kruger effect อาการของคนเก่งไม่จริง แต่ชอบอวดเก่ง

Dunning–Kruger effect อาการของคนเก่งไม่จริง แต่ชอบอวดเก่ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Dunning–Kruger effect เป็นอีกหนึ่งคำที่น่าสนใจ มันคืออาการที่เกี่ยวกับ การรับรู้ การเรียนรู้ มันหมายถึง การที่ใครคนหนึ่งคิดว่าตัวเองเก่งมาก แต่จริงๆแล้วไม่ใช่แบบนั้น เขาไม่รู้ตัวเอง ใครเคยเจอคนแบบนี้บ้าง วันนี้มีบทความสั้นๆมาให้เรียนรู้ไปพร้อมกัน

Dunning–Kruger effect

หากให้เข้าใจง่ายมันอาจจะเรียกว่า อวดเก่ง โง่แต่อวดฉลาด มันเป็นความคิดที่คิดว่าตัวเองเก่งจนไม่ประเมินความเข้าใจ ความผิดพลาดของตัวเอง

Dunning-Kruger effect ตั้งชื่อตามเจ้าของผลงานวิจัยที่มีชื่อว่า เดวิด ดันนิง และ จัสติน ครูเกอร์ งานวิจัยนี้ว่าด้วยเรื่อง ระดับความรู้ที่มีอยู่ในคน คนหนึ่งจะมีผลต่อการประเมินตัวเราเองว่ารู้มากน้อยแค่ไหน

มันคือการวิจัยว่า อคติ ทำให้ไม่สามารถประเมินความสามารถที่แท้จริงของตัวเองได้ ผลวิจัยที่น่าสนใจชี้ว่า เรามักประเมินทักษะของตัวเองสูงกว่าและเก่งกว่าคนอื่นเสมอ

ปัญหานี้มันเกิดจากความรู้ไม่จริง คิดว่าตัวเองเก่ง จนทำให้ผิดพลาดอยู่บ่อยๆ เรามักจะเห็นได้ในคนที่รู้น้อย เข้าใจในเพียงเล็กน้อยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วชอบทำให้ความรู้อันน้อยนิดนั้นมาบดบังความคิดตัวเอง

ใครที่เจอคนแบบนี้หรือรู้สึกว่าเราเป็นแบบนี้ก็แก้ได้ง่ายๆ แค่ศึกษา ทำความเข้าใจกับเรื่องนั้นให้เยอะขึ้น แล้วเราจะเริ่มตระหนักกับตัวเองว่าที่ผ่านมาความรู้ของเรานั้นมันช่างน้อยนิดจริงๆ

ยกตัวอย่างง่ายๆ ตอนแรกเราอาจจะมั่วๆทำอะไรบางอย่าง แล้วเรารู้สึกว่าเห้ยนี้ละ เจ๋งสุด ๆพอวันหนึ่งเราได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง จากผู้ที่เชี่ยวชาญ เราก็จะอ่อ เห้ยที่ผ่านมามันไม่ใช่แบบที่เราเข้าใจ และเราต้องเรียนรู้อีกเยอะ

Dunning–Kruger effect อาจจะถูกตีความง่ายๆว่า มั่นใจ อวดเก่งเกินไป แต่ก็คงไม่ผิดเท่าไร ยังไงก็ขอให้แน่ใจในสิ่งที่พูด การตอบว่าไม่รู้แล้วไปหาข้อมูลเพิ่มเติม มันก็ดีกว่าไม่รู้แล้วพูดมั่วๆออกไป ติดตามบทความอื่นๆได้ที่ iNN

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook