ไขความลับ ความหมาย เลขบัตรประชาชน 13 หลัก มีไว้ทำอะไร

ไขความลับ ความหมาย เลขบัตรประชาชน 13 หลัก มีไว้ทำอะไร

ไขความลับ ความหมาย เลขบัตรประชาชน 13 หลัก มีไว้ทำอะไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บัตรประชาชนนั้นเรียกว่าเป็นเอกสารสำคัญที่เราต้องพกติดตัวอยู่ตลอด เพื่อเอาไว้ใช้แสดงและยืนยันตัวตน เวลาติดต่อราชการหรือหน่วยงานต่างๆ โดยในบัตรประชาชนนั้นนอกจาก ชื่อ วันเกิด ที่อยู่ของเราแล้ว สิ่งที่เรียกว่าสำคัญไม่แพ้ข้อมูลอื่นๆ นั่นก็คือ เลขบัตรประชาชน 13 หลัก นั่นเอง

หลายๆ คนอาจจะเกิดความสงสัย ว่า เลขบัตรประชาชน 13 หลัก นั้นมีไว้ทำอะไร ตัวเลขนั้นสามารถบอกอะไรได้บ้าง วันนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ มาทำความเข้าใจกับ ความหมาย เลขบัตรประชาชน 13 หลัก ว่ามันคืออะไร บอกอะไรได้บ้าง

ทำบัตรประชาชนใหม่ ทำบัตรหาย ต้องใช้เอกสารอะไร ทำได้ที่ไหนบ้าง

กระทรวงมหาดไทย อธิบายเลขบัตรประชาชน 13 หลักไว้ว่า เลขทั้งหมด 13 หลักนั้น (X-XXXX-XXXXX-XX-X) แบ่งออกเป็น 5 ส่วน คือ

  • ส่วนที่ 1 - มีเลข 1 หลัก เลขเพียงหนึ่งตัวนี้หมายถึง ประเภทบุคคล ประกอบด้วย 8 ประเภท
  • ส่วนที่ 2 - มีเลขทั้งหมด 4 หลักเรียงติดกัน หมายถึง สำนักทะเบียนที่ออกเลขประจำตัวประชาชน หากนับจากทางซ้ายมือ เลขตัวที่ 2-3 เป็นการบอกจังหวัด ส่วนเลขตัวที่ 4-5 เป็นการบอกอำเภอ เขต เทศบาล หรือเมืองพัทยา
  • ส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 - มีเลขทั้งหมด 7 หลัก บ่งบอกลำดับของบุคคลในแต่ละประเภทของแต่ละสำนักทะเบียน
  • ส่วนที่ 5 - มีเลข 1 หลัก หมายถึงเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำตัวประชาชนทั้งหมด

ขณะที่เลขหลังบัตรนั้น เป็นเลขที่กรมการปกครองใช้ควบคุมการจ่ายบัตรประจำตัวประชาชน ที่แจกจ่ายให้กับที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาลและเมืองพัทยา ไม่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนจะอยู่ด้านหน้าบัตรเท่านั้น

159308006851

ในส่วนของ หมายเลขหลักที่ 1 หรือหมายเลขตัวแรกที่บ่งบอกประเภทบุคคล ซึ่งแยกย่อยเป็น 8 ประเภท คือ

  • ประเภทที่ 1 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นวันแรกหลังจากมีการประกาศให้ประชาชนทุกคนต้องมีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ภายในระยะเวลา 15 วันนับตั้งแต่วันเกิดตามที่กฎหมายกำหนด จะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1 เป็นต้น
  • ประเภทที่ 2 คือ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย และได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527 เป็นต้นไป แต่ไม่ได้แจ้งเกิดภายใน 15 วันนับตั้งแต่วันเกิดตามที่กฎหมายกำหนด
  • ประเภทที่ 3 คือ คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย ก่อน 31 พฤษภาคม 2527
  • ประเภทที่ 4 คือ คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้าโดยที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน (ซึ่งต้องอยู่ในช่วงกำหนดระยะเวลา 1 มกราคม-31 พฤษภาคม 2527) ยกตัวอย่างเช่น คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว อยู่อาศัยในพื้นที่หนึ่ง ต่อมาได้ย้ายไปพื้นที่อื่น แต่ยังไม่ได้เลขประจำตัว ก็จะเข้าข่ายเป็นบุคคลประเภทที่ 4
  • ประเภทที่ 5 คือ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่นๆ
  • ประเภทที่ 6 คือ ผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว และยังไม่ได้สัญชาติไทย เนื่องจากทางการยังไม่รองรับตามกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยหรือชาวเขาตามชายแดน ชาวต่างชาติที่มีสามีหรือภรรยาเป็นคนไทย ซึ่งอาจไปขอทำทะเบียนประวัติเพื่อให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของสามีหรือภรรยาคนไทย
  • ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ที่เกิดในประเทศไทย
  • ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย และคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทยหลัง 31 พฤษภาคม 2557
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook