รวม "ศัพท์ไอที" ที่หลายคนเข้าใจผิดว่าบัญญัติจากราชบัณฑิตยสถาน

รวม "ศัพท์ไอที" ที่หลายคนเข้าใจผิดว่าบัญญัติจากราชบัณฑิตยสถาน

รวม "ศัพท์ไอที" ที่หลายคนเข้าใจผิดว่าบัญญัติจากราชบัณฑิตยสถาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศัพท์ไอที เรียกว่าเป็นศัพท์เฉพาะทาง ซึ่งหลายๆ คนอาจจะมีการเข้าใจผิดว่าศัพท์ไอทีบางคำ นั้นมีการแปลเป็นภาษาไทยอย่างเป็นทางการ เพราะศัพท์แต่ละคำนั้นเห็นแล้วชวนหัวเราะและมีความหมายที่ดูกำกวมมากๆ

ซึ่ง นางกาญจนา นาคสกุล ตำแหน่ง ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย ได้ออกมาแถลงว่าศัพท์ที่เราเห็นนั้นไม่เป็นความจริง และสร้างความเข้าใจผิดแก่คนจำนวนมาก เพราะคำแปลจากราชบัณฑิตยสถาน จะเน้นว่าต้องไม่ใช้ภาษากำกวม หยาบคาย หรือสองแง่สองง่าม

โดยทาง ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย ได้ระบุว่าศัพท์ไอที เหล่านี้ ไม่ใช่คำบัญญัติจากราชบัณฑิตยสถาน

  • ละมุนพรรณ แปลจาก ซอฟต์แวร์ (Software)
  • กระด้างพรรณ แปลจาก ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  • จิ๋วระทวย แปลจาก ไมโครซอฟต์ (Microsoft) โดย Micro แปลว่า เล็ก จิ๋ว และ soft แปลว่า อ่อนนุ่ม
  • แท่งหฤหรรษ์ แปลจาก จอยสติ๊ก (Joystick)
  • พหุบัญชร แปลจาก วินโดวส์ (Windows)
  • จุดอิทธิฤทธิ์ แปลจาก พาวเวอร์พอยท์ (Power Point)
  • ภัทร แปลจาก เอ็กซ์เซล (Excel)
  • ปฐมพิศ แปลจาก วิชวลเบสิก (Visual Basic)
  • พหุภาระ แปลจาก มัลติทาสก์กิ้ง (Multitasking)
  • แท่งภาระ แปลจาก ทาสก์บาร์ (Taskbar)
  • ยืนเอกา แปลจาก สแตนอโลน (Standalone)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook