ทัศนคติ (ต่อ)

ทัศนคติ (ต่อ)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อชาวเมือง สารขัณฑ์ ถูกปลูกฝังหรือสั่งสอนให้เชื่อฟังผู้ใหญ่ ดังเช่นสุภาษิต ที่ท่านกล่าว ก็ส่งผลให้เกิดแนวคิด หรือทัศนคติด้านความปลอดภัยฯ ที่ค่อนข้างจำกัด และต้องขอความเห็นต่อผู้อาวุโสอยู่เป็นประจำ ทั้งที่ธรรมชาติแล้ว มนุษย์โลกถูกออกแบบ ให้คิดถึงความปลอดภัยของตนเอง(เพื่อความอยู่รอด)เป็นสิ่งแรกเสมอ เมื่อความคิดบางส่วนถูกกดเอาไว้ ให้เชื่อฟัง เราจึงมักจะพบกับความสูญเสียเนื่องจาก อุบัติเหตุเป็นจำนวนครั้งละมาก ราย ดังเช่น ล่าสุดที่เป็นข่าว เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถไฟตกราง และมีคนบาดเจ็บ และเสียชีวิตตามที่เป็นข่าว การแก้ปัญหาของประเทศสารขัณฑ์ ก็ทำกันไปตามผู้ใหญ่ ทั้งที่ปัญหาเรื่องหนึ่งเกิดจาก การกระทำของ คน และเกิดจากสภาพที่ไม่ปลอดภัยของระบบความปลอดภัย ของรถไฟนั้น ด้วยที่พวกเราชาว สารขัณฑ์ แยกไม่ออกระหว่างความรับผิดชอบต่อความปลอดภัย สาธารณะ กับความปลอดภัยส่วนตัว จึงกลายเป็นโศกนารถตกรรมครั้งใหญ่ จนประเทศที่เจริญแล้ว กล่าวว่า อุบัติเหตุในประเทศสารขัณฑ์ มักจะแบ่งแยกได้ยาก ระหว่างอุบัติกรรม (อุบัติเหตุที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยจริงๆ)หรือ เป็นมาตรกรรมเหตุ(จงใจให้เกิดแล้วอำพรางเป็นอุบัติเหตุ) เนื่องจากระบบการจัดการมีความขัดแย้งกันอย่างมีนัยสำคัญ ตามกระแสข่าว ชาวเมืองสารขัณฑ์ขาดงบประมาณในการพัฒนาการขนส่งระบบราง (ที่ถือว่าปลอดภัยที่สุดทางหนึ่งและมีราคาพอเหมาะกับคนกลุ่มใหญ่) มาอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าผู้บริหารองค์กร ส่วนหนึ่งขัดแย้งกัน แม้กระทั่งหลังจากเกิดเหตุแล้วเรื่องการขัดแย้งก็ยังดำรงค์อยู่ จนเปรายวัน เมื่อเปรียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่เจริญแล้ว ความรับผิดชอบของผู้บริหารสูงสุดเกิดขึ้นก่อน เมื่อมีประชาชนเสียชีวิต เขาจะต้องแสดงความรับผิดชอบ ทันที ไม่ต้องรอให้ใครบอกกล่าว เช่นการลาออก เมื่อลองฟังทั้งสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันแล้ว ในฐานะประชาชนชาวสารขัณฑ์ พอสรุปได้ว่าทั้งสองฝ่ายใช้ ชาวบ้านเป็นตัวประกัน เพื่อความได้เปรียบของแต่ละฝ่าย นั่นคือการทำให้ทัศนคติด้านความปลอดภัยฯเป็นไปในแง่ที่ตกต่ำลงไปอีก มีเพื่อนต่างชาติ(ยุโรป) มาเที่ยวสารขัณฑ์ ประเทศของเรา ได้เห็นเด็กเล็กนั่งซ้อนมอเตอร์ไซด์ มีพ่อ เป็นคนขับและแม่เป็นคนอุ้มเด็ก เห็นคนขับคือพ่อเท่านั้นที่สวมหมวกนิรภัย ส่วนแม่กับลูกไม่สวม เขาแปลกใจว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ก็พบคำตอบส่วนหนึ่งว่า เขายากจน ไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อหมวกนิรภัยให้กันทุกคน หรืออยากจน(แกล้งจนเพราะทัศนคติความปลอดภัยบกพร่องตกต่ำ)

ส่วนหนึ่งก็พบว่าที่พ่อต้องสวมเพราะกฏหมายบังคับให้ผู้ที่ขับต้องสวมหมวกนิรภัย แต่ไม่เคยมีใครบอกว่าต้องสวมทุกคนโดยเฉพาะตามหัวเมืองห่างไกลของสารขัณฑ์ประเทศ นั่นคือทัศนคติด้านความปลอดภัยที่ต้องทำเพราะถูกบังคับหรือกลัวตำรวจเรียกค่าปรับเท่านั้นเอง ความปลอดภัยที่เกิดต้องเกิดจากความสำนึกของเจ้าของเท่านั้นไม่สามารถที่จะใช้กฏข้อบังคับใดๆ ให้เขาเหล่านั้นปฏิบัติได้ และหลายๆกฏข้อบังคับไม่ว่าในเรื่องความปลอดภัย หรือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใดๆ ก็กลายเป็นช่องทางหนึ่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่บังคับใช้กฏหมายเป็นช่องทางทำมาหารายได้เพิ่มขึ้นไปอีก เช่าสุดก็ออกกฏว่าเมา ห้ามขับ แต่ผู้เขียนก็พบว่า ยังมีคนส่วนมากดื่มแล้ว(เมา) ขับรถกันอยู่มากมาย คนสูบบุหรี่ในที่สาธารณะก็จะถูกจับปรับ ทุกวันนี้ก็ยังเห็นกันอยู่ กฏหมายเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ออกมาใช้ก็ยังไม่เป็นผลเพราะว่า ส่วนหนึ่งชาวสารขัณฑ์เองก็ยินดีที่จะยอมจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่บังคับใช้กฏหมายนั้นๆ จึงเป็นเรื่องทัศนคติที่ต้องนำมาปรับปรุงแก้ไขกันอีกในระยะยาว ขอยกตัวอย่างส่วนหนึ่งที่ได้ยินบ่อยๆ คือ "ผู้ใหญ่ขอร้อง" เท่านั้นแหละเจ้าหน้าที่บ้านเมืองซึ่งส่วนใหญ่ยินดีทำตาม แล้วทัศนคติ ด้านความปลอดภัยต่อสารขัณฑ์ประเทศที่ดีจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสาเหตุของอุบัติเหตุสาธารณะเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะโน้มน้าวให้ทุกคนไม่ยอมรับหรือเชื่อฟังผู้ใหญ่ เพราะหลายสิ่งหลายอย่างที่ดีเกิดขึ้นกับทุกคนส่วนใหญ่ก็มาจากความปราถนาดีของผู้ใหญ่ที่รักและเอ็นดูผู้น้อยทุกคน ทำให้ทุกคนเป็นคนดี เพราะเชื่อฟังคำสอน "อาบนำร้อน มาก่อนเจ้า"ยังใช้ได้ดีอยู่เสมอ จะเห็นว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีที่สุดในโลกมากกว่าประเทศใดๆ จนชาวโลกเชื่อมั่นและนิยมชมชอบที่จะมาท่องเที่ยวในประเทศสารขัณฑ์ของเรา มากขึ้นๆ ทุกปี แต่อย่าลืมเด้อ "เชื่อฟังผู้ใหญ่ อาบนำร้อน หมาไม่กัด" สวัสดีครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook