ใช้คอมฯ นานเสี่ยง โรคซีวีเอส

ใช้คอมฯ นานเสี่ยง โรคซีวีเอส

ใช้คอมฯ นานเสี่ยง โรคซีวีเอส
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เหตุใช้ผิดวิธี ทำลาย! สุขภาพ

ซีวีเอส, คอมฯ, คอมพิวเตอร์, คีย์บอร์ด, คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม

ปัจจุบันไม่ว่าจะทำงานอะไร อาชีพอะไร ส่วนใหญ่ล้วนแต่ต้องเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์แทบทั้งสิ้น อีกทั้งยังเป้นเครื่องมือที่เอื้ออำนวยความสะดวกได้หลากหลาย จนบางคนแทบจะขาดไม่ได้ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า!! บนความสะดวกสบายนี้สามารถ ทำลาย สุขภาพคุณโดยไม่รู้ตัว หากใช้มันอย่างผิดวิธีหรือใช้นานจนเกินไป... ไม่ต้องสงสัย??

 ...เพราะหลายคนอาจกำลังมีอาการ ปวดที่กระดูกข้อมือ กล้ามเนื้อ ตามต้นคอ หัวไหล่ สะบักรวมถึงหลัง หรือมักมีอาการปวดตา แสบตา ตามัว หากใช้สายตาจ้องหน้าจอนาน ๆ และบ่อยครั้งที่จะมีอาการปวดหัว ซึ่งนั่นแสดงว่าคุณกำลังเป็น โรคซีวีเอส หรือ คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม โดยบริเวณที่เกิดอาการอาจคลำพบกล้ามเนื้อแข็งตึงและอาจมีจุดกดเจ็บ ทำให้เมื่อเคลื่อนไหวแล้วอาจพบอาการเจ็บปวดมากขึ้น แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนด้วย ซึ่งสาเหตุของโรคนี้มาจาก การติดตั้ง จัดวาง คีย์บอร์ด จอมอนิเตอร์ เม้าส์ และเก้าอี้ ตลอดจนการปรับระดับแสงที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เราเกิดอาการอย่างที่กล่าวมานี้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องปรับสภาพแวดล้อมในโต๊ะทำงานใหม่ให้เหมาะสมกับร่างกายของเรา ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหรือความเมื่อยล้าจากการทำงานลงได้ สามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจาก...

คีย์บอร์ด หลายคนคงไม่คิดว่า แค่คีย์บอร์ดจะทำให้เจ็บป่วยอะไรได้มากมาย แต่หากคุณใช้ไม่ถูกวิธีล่ะก็...จะส่งผลให้คุณมีอาการปวดไหล่ และที่ร้ายแรงไปกว่านั้นก็คือ ระยะยาว อาจจะทำให้คุณเกิดปัญหาปวดข้อมือเรื้อรังได้ บางคนอาจเป็นถึงขั้นนิ้วล๊อก ต้องทำการผ่าตัดกันเลยทีเดียว บางคนอาจจะเห็นว่ามันจะไม่สำคัญ หรืออาจจะไม่รู้สึกเจ็บป่วย แต่ก็ควรเรียนรู้เกี่ยวกับ วิธีการป้องกันเอาไว้ล่วงหน้า

การวางคีย์บอร์ดที่ถูกต้องนั้น แขนต้องอยู่ในมุมตั้งฉาก ไม่สูงเกินไป หรือไม่ต่ำจนเกินไป ไหล่ไม่ห่อ ถ้าคุณเป็นคนไหล่กว้างขอแนะนำให้คุณใช้คีย์บอร์ดแบบแยก เพราะมันจะให้คุณทำงานได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ปล่อยให้ข้อมืออยู่เป็นธรรมชาติอย่างอขึ้นหรืองอลง ส่วนลำตัวให้อยู่บริเวณส่วนกลางของคีย์บอร์ดอย่าเอียงไปทางซ้ายหรือขวามากเกินไป..

จอคอมพิวเตอร์ก็เช่นกันอาจทำให้คุณปวดข้อ ปวดไหล่ หรือเกิดอาการแสบตาได้ ซึ่งการวางจอในลักษณะที่ถูกต้องนั้นควรเริ่มจากตั้งจอให้อยู่ตรงกลาง ด้านบนของจอมอนิเตอร์อยู่ในระดับสายตาของคุณ ปรับหน้าจอให้แหงนขึ้นเล็กน้อย เพราะจะทำให้คุณไม่เมื่อยคอในการเอียงคอดูจอ อย่าให้มีแสงสะท้อนบนหน้าจอ พยายามนั่งห่างจากจอประมาณ 1 ช่วงแขน หากคุณมีจอใหญ่กว่า 20 นิ้ว ก็ควรถอยห่างออกไปอีก ก็จะเป็นการดีและเป็นการถนอมสายตาด้วย และที่สำคัญควรพักเบรกสายตาเป็นพักๆ หากต้องอยู่กับคอมนานๆ

เม้าส์ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คุณมีอาการเจ็บป่วย เพราะการทำอะไรซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือมีการเกร็งอวัยวะใดซ้ำๆ กัน ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บที่โพรงกระดูกข้อมือได้ ขณะที่เคลื่อนไหวข้อมือ ขนาดของโพรงกระดูกข้อมือก็มีการเปลี่ยนแปลง สร้างความกดดันให้กับเส้นประสาทตรงกลาง ถ้าคุณทำงานตลอดวัน โดยที่ข้อมืองอและกดทับบนโต๊ะ ก็สามารถทำให้เส้นเอ็น หรือเส้นประสาทที่ข้อมือเกิดอาการปวดได้ ในระยะยาวอาจทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งนำไปสู่การปวด ชา และปวดรุนแรงที่นิ้วมือได้ ซึ่งวิธีที่จะทำให้ลดอัตราการเกิดอาการเหล่านั้นได้ ไม่ต่างจากคีย์บอร์ดมากนัก ที่สำคัญควรหาวัสดุนิ่มๆ มารองเพื่อลดแรงเสียดสีและกดทับเส้นประสาท ยังไม่หมดเพียงเท่านี้!!! ยังมี เก้าอี้ ที่คุณใช้นั่งทำงานเป็นกันวันๆ อีก ที่มีส่วนในการทำลายสุขภาพของคุณ ซึ่งเก้าอี้ที่ดีนั้นเวลาคุณนั่งจะรู้สึกสบาย พนักพิงควรราบไปกับหลัง ปรับระดับความสูงได้ ควรนั่งพิงพนักให้เต็ม และเก้าอี้ควรมีขนาดพอดีตัวไม่เล็กเกินไป เบาะก็ควรจะขนานกับพื้น นั่งให้เป็นมุม 90 องศา หัวเข่าตั้งฉากกับพื้น ฝ่าเท้าแนบขนานกับพื้น นั่งให้ตัวตรง และที่สำคัญควรเดินไปทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดอาการเมื่อยล้า

เห็นแล้วใช่มั้ยครับว่า...โรคภัย...มีอยู่รอบตัวเรา เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว!! คุณคงจะไม่รีรอที่จะจัดการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมบนโต๊ะทำงานของคุณเสียใหม่โดยเร็ว เพื่อจะได้ห่างไกลบ่อนทำลายสุขภาพ...

เรื่องโดย: ณัฏฐ์ ตุ้มภู่ Team content www.thaihealth.or.th

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ ใช้คอมฯ นานเสี่ยง โรคซีวีเอส

ใช้คอมฯ นานเสี่ยง โรคซีวีเอส
ใช้คอมฯ นานเสี่ยง โรคซีวีเอส
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook