วีธีกำจัดเหาบนศีรษะด้วย malathion แชมพู

วีธีกำจัดเหาบนศีรษะด้วย malathion แชมพู

วีธีกำจัดเหาบนศีรษะด้วย malathion แชมพู
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เหาบนศีรษะเป็นปัญหาที่พบบ่อยและพบได้ทั่วไปในประเทศไทย การแพร่กระจายของเหาเกิดขึ้นได้ในทุกที่ที่มีคนอยู่อาศัย หรือทำงาน และเล่นใกล้ชิดกัน มักจะพบเหาระบาดอยู่ในกลุ่มนักเรียนในโรงเรียนซึ่งส่วนใหญ่การระบาดมักจะเริ่มขึ้นในช่วงเปิดเทอมและจะแพร่กระจายจากโรงเรียนไปสู่ ที่บ้านของเด็กด้วย

จากการสำรวจของกองกีฏวิทยาทางการการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า เด็กนักเรียนในโรงเรียน ยังเป็นเหากันมาก อัตราการเป็นเหาเฉลี่ยของเด็กนักเรียนทั่วประเทศ สูงถึงร้อยละ 48.8 นักเรียนบางคนมีเหามากถึง 2,091 ตัว โดยเด็กนักเรียนที่เป็นเหามากจะเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมปีที่ 2-5 (อายุระหว่าง 7-11 ปี)

เหา, กำจัดเหา, กำจัดเห่า, โรคเหา, ศีรษะ, ความรู้เรื่องเหา, รักษาเหา

เหาเกิดจากเชื้อปาราสิต ชื่อว่า "Pediculus humanus" ซึ่งมีการติดเชื้อจำเพาะเจาะจงในมนุษย์เท่านั้น จะอาศัยอยู่บนหนังศีรษะ เส้นผม ส่วนใหญ่จะพบบริเวณท้ายทอย หลังหูและขมับ แต่ก็พบได้ทั้งศีรษะ ปาราสิตชนิดนี้จะคอยดูดเลือดกินเป็นอาหาร น้ำลายของเหาทำให้เกิดอาการคันได้ เหาจะวางไข่บนเส้นผม โดยหลั่งสารไคติน หุ้มปลายหนึ่งของไข่ ให้เกาะติดแน่นอยู่กับเส้นผม มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไข่จะฟักเป็นตัวภายในเวลา 7-10 วัน เหาตัวอ่อนใช้เวลาประมาณ 10 วันหลังจากฟักออกจากไข่เจริญเติบโตเป็นเหาเต็มวัยและพร้อมจะสืบพันธุ์ได้ เหาจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นอกตัวมนุษย์ พบว่าเหาที่อยู่นอกร่างกายมนุษย์จะมีชีวิตอยู่ได้แค่ 1-2 วันเท่านั้น อาการหลัก ๆ ของคนที่เป็นเหา คือ อาการคันและระคายเคืองบริเวณหนังศีรษะและเกา เมื่อไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมหาก็จะสามารถติดต่อไปสู่บุคคลอื่นได้ และแผลที่เกิดจากการเกาอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียตามมาได้ และมีต่อมน้ำเหลืองข้างคอและายทอยโตได้ เหาติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ เป็นการติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรง เหากระโดดไม่ได้ เหาจะเคลื่อนตัวไปตามเส้นผมจากศีรษะของคนที่เป็นไปยังเส้นผมของอีกคนหนึ่ง หรืออาจเกิดจากการที่ใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หวี หมวก หมอน ที่นอน เสื้อผ้า แต่ส่วนมากก็จะติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงมากกว่า การป้องกันการแพร่กระจายของเหา สามารถทำได้โดยการแยกเด็กที่เป็นเหาออกจากเด็กคนอื่นที่ยังไม่ติดเหา และต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ยาขจัดเหามีหลายชนิด สำหรับยารักษาเหาที่แพร่หลายและรู้จักกันมานาน ได้แก่ benzyl benzoate และ gamma benzyl hexachloride ซึ่งวิธีใช้ยาทั้งสองชนิดนี้ ต้องหมักผมทิ้งไว้ 12-24 ชั่วโมง และต้องใช้หวีซี่ถี่สางผมเพื่อเอาไข่เหาออก แต่ข้อจำกัดของยาข้างต้นคือ จะทำให้ผู้ใช้มีอาการแสบ คัน ระคายเคือง ยิ่งในกรณีที่มีแผลที่เกิดจากการเกา อาการระคายเคืองจะรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากบริเวณที่ใช้ยาดังกล่าวอยู่ใกล้จมูกและยามีกลิ่นแรง ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะได้ ยาทั้งสองชนิดจะกำจัดได้แค่เพียงตัวเหาเท่านั้น ไม่สามารถกำจัดไข่ได้ ดังนั้นต้องมีการใช้ซ้ำอีกครั้ง 7 วันต่อมา เมื่อไข่เหาที่ไม่ถูกกำจัดฟักตัวออกมา และ ในประเทศที่มีการใช้ยาเหล่านี้มาก ๆ พบรายงานว่า เหาสามารถปรับตัวดื้อต่อยา gamma benzyl hexachloride ได้

เหา, กำจัดเหา, กำจัดเห่า, โรคเหา, ศีรษะ, ความรู้เรื่องเหา, รักษาเหา

การกำจัดเหาด้วย malathion ซึ่งอยู่ในรูปแชมพูนั้น ผู้ใช้หมักผมทิ้งไว้เพียง 10 นาที นอกจากจะกำจัดได้ทั้งตัวเหาและไข่เหาได้แล้ว ยังเป็นยาที่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ การที่ตัวยาถูกเตรียมให้อยู่ในรูปแชมพูที่มีกลิ่นอ่อนๆ ทำให้คนส่วนใหญ่คุ้นเคยมากกว่ายาขจัดเหาที่เป็นครีมหรือโลชั่น นอกจากนี้การใช้เวลาหมักก่อนะเพียง 10 นาที ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกสบายและประหยัดเวลา พญ. วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์ หัวหน้างานวิจัยและพัฒนา กลุ่มงานเทคโนโลยีและสนับสนุนวิชาการ และหัวหน้ากลุ่มงานไบโอเอ็นจิเนียริ่ง สถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า สถานการณ์ของการแพร่ระบาดของเหาในเด็กวัยเรียนในประเทศไทยในขณะนี้ถือว่ายังเป็นปัญหาโดยเฉพาะเด็กวัยประถม เพราะเป็นวัยที่เด็กเล่นคลุกคลีใกล้ชิดกันมากที่สุด ดังนั้นเมื่อมีเด็กคนหนึ่งคนใดเป็นเหาก็มักจะทำให้เด็กทั้งกลุ่มเป็นเหากันหมด เด็กที่เป็นเหาจะมีอาการคันศีรษะ และเมื่อเกามากๆ จะทำให้เกิดแผลและอาจเกิดการติดเชื้อตามมาได้ และอาจลุกลามทำให้มีต่อมน้ำเหลืองหลังหูท้ายทอย หรือที่คอโต นอกจากนี้บางรายที่ติดเชื้อเหารุนแรง อาจพบเป็นแผลแฉะ มีสะเก็ดกรังบริเวณศีรษะ อาการดังกล่าวจะรบกวนเด็กเวลานอนและทำให้เด็กขาดสมาธิในการเรียน ยากำจัดเหามีหลายชนิดดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สำหรับยา malathion นั้นถือว่าเป็นยากำจัดเหาที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย มีประสิทธิภาพกำจัดได้ทั้งตัวเหาและไข่เหา malathion ตัวยาสามารถซึมเข้าไปในเคอราตินของเส้นผมจึงมีผลการรักษาค้างอยู่นานถึง 6 สัปดาห์ จึงสามารถป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ

อัลบั้มภาพ 3 ภาพ ของ วีธีกำจัดเหาบนศีรษะด้วย malathion แชมพู

วีธีกำจัดเหาบนศีรษะด้วย malathion แชมพู
วีธีกำจัดเหาบนศีรษะด้วย malathion แชมพู
วีธีกำจัดเหาบนศีรษะด้วย malathion แชมพู
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook