พอล อดีตนักเรียนแลกเปลี่ยน AISE ฉายเดี่ยวเด็กไทยคนเดียวในเมือง Gold

พอล อดีตนักเรียนแลกเปลี่ยน AISE ฉายเดี่ยวเด็กไทยคนเดียวในเมือง Gold

พอล อดีตนักเรียนแลกเปลี่ยน AISE ฉายเดี่ยวเด็กไทยคนเดียวในเมือง Gold
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เป็นพระเอกระดับแนวหน้าของเมืองไทย หลายคนชื่นชอบไปกับบทบาทตัวละครนั้น ๆ ล่าสุดกับละครเรื่อง ศิลามณี ทางช่อง 7 ?พอล-ภัทรพล ศิลปาจารย์? นอกจากจะเป็นนักแสดงฝีมือดีแล้ว พอลยังควบตำแหน่งการเป็นพิธีกรชั้นนำของวงการบันเทิงอีกด้วย อาทิ รายการวีไอพี ทางช่อง 9 หรือแม้จะแต่การเป็นพิธีกรรับเชิญในงานอีเว้นท์ต่าง ๆ พอล-ภัทรพล ศิลปาจารย์ส่วนใหญ่เราจะได้เห็นข่าวคราวของเขาในแง่มุมต่าง ๆ แต่น้อยครั้งที่เราจะเคยได้รับรู้เรื่องราวของหนุ่มพอลในเรื่องของการเรียน ซึ่งฉบับนี้เองคนดังนั่งคุยมีโอกาสได้ต้อนรับหนุ่มคนนี้มาเป็นแขกรับเชิญประจำคอลัมน์ และเราจะพาทุกคนไปร่วมย้อนความประทับของพอลเมื่อวันวานที่เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนในประเทศสหรัฐอเมริกา พอลเล่าถึงประวัติการศึกษาของตัวเองว่า เขาเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ต่อจากนั้นตอนม.4 พอลสอบชิงทุนของ AISE (American Intercultural Student Exchange) ไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนยังอเมริกา 1 ปีของชีวิตเด็กไทยในมลรัฐ Pennsylvania, Gold ?ช่วงนั้นผมเรียนม.4 กำลังจะขึ้นม.5 ครับ จำได้ว่าเรียนม.5 ได้นิดเดียวเอง ผมสอบชิงทุนของสมาคมไทย-อเมริกัน AISE ได้ เลยมีโอกาสได้ไปเรียนที่อเมริกา 1 ปีเต็ม ไปอยู่ที่รัฐ Pennsylvania ถือว่าเป็นความโชคดีของผมด้วยครับ (ยิ้ม) ส่วนขั้นตอนการสอบเป็นการสัมภาษณ์และให้เรานำเสนอความสามารถพิเศษต่าง ๆ แต่ทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษครับ ต้องบอกก่อนว่าภาษาอังกฤษของผมนั้นไม่ได้ดีมาก แต่ผมไปเรียนเพิ่มมาก่อนบ้าง และผมจะบอกเลยว่า สำหรับใครที่คิดจะไปเรียนต่างประเทศและภาษาอังกฤษไม่ได้เก่งมาก ทุกอย่างเป็นไปได้ครับ อยู่ที่ความตั้งใจของเรามากกว่า สถานการณ์จะปรับตัวให้เราสามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้น อยู่ที่ความตั้งใจและการขวนขวายของเราเอง บางคนไปเรียนพร้อม ๆ กัน แต่ความรู้เรื่องภาษากลับมาไม่เท่ากัน บางคนอยู่ 5-10 ปี แต่ไม่ได้อะไรเท่าไหร่ เพราะเขาไปอยู่กับสังคมคนไทย ซึ่งผมไม่ได้หมายความว่าไม่ดี แต่ในแง่ของภาษาอังกฤษมันไม่ได้อะไรเลย? พอล-ภัทรพล ศิลปาจารย์อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้หนุ่มคนนี้ตัดสินใจไปสอบชิงทุน AISE ?ผมไม่ใช่คนเรียนเก่งอะไรนะครับ ตอนม.ต้น ผมได้เกรดเฉลี่ยประมาณ 3 ต้น ๆ แต่พอขึ้นม.ปลาย เกรดเฉลี่ยผมเหลือแค่ 1 ปลาย ๆ เท่านั้นครับ (หัวเราะ) เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงวัยรุ่นด้วย และช่วงนี้เองทำให้คุณพ่อคุณแม่เริ่มเป็นห่วงลูกคนนี้ว่าจะสอบเอ็นทรานซ์ติดหรือเปล่า ประกอบกับพี่สาวผมเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนของ AFS เหมือนกัน และตอนที่พี่สาวกลับมาเมืองไทย ดูเขามีความมั่นใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษาอังกฤษและเรื่องของบุคลิกภาพ ตรงนี้แหละที่ทางบ้านผมเขาเห็นว่าถ้าผมได้ไปอีกคนคงจะดี และผมเห็นด้วยเลยไปสอบครับ? เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนเพียงแค่ 1 ปี แต่หลังจากที่พอลได้ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองนี้ ทำให้เขาติดใจกลับมาเรียนต่อจนจบ High School ?จริง ๆ แล้วนักเรียนแลกเปลี่ยนจะเรียนกันแค่ปีเดียวเท่านั้น แต่ด้วยความที่ผมชอบและประทับใจในเมืองที่ไปอยู่ ชอบไลฟ์สไตล์ของคนอเมริกัน การเรียนการสอนของคนที่โน้น เด็กนักเรียนอเมริกันเกือบทุกคนจะกล้าแสดงความคิดเห็น และที่สำคัญที่ผมชอบมากคือ เด็กวัยรุ่นอเมริกันจะทำงานด้วยและเรียนไปด้วย ผมไปอยู่กับ Host Family ซึ่งเป็นครอบครัวที่ใจดีมาก ก่อนกลับจากเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ผมขอเขาว่าถ้าผมจะขอกลับมาอยู่ด้วยอีก 1 ปีจะได้หรือเปล่า ทาง Host เขายินดี ทำให้ผมตัดสินใจผมเรียนต่อจนจบ High School ที่อเมริกาเลย เพราะถ้ากลับมาเรียนที่เมืองไทยต้องเรียนซ้ำอีก 1 ปี? พอล-ภัทรพล ศิลปาจารย์พอลบอกว่าเขาคือเด็กไทยคนเดียวในเมือง Gold ?Pennsylvania เป็นรัฐที่อยู่ใต้รัฐนิวยอร์ก อยู่ทางด้านตะวันออกของอเมริกาและเมืองที่ผมไปเรียนนั้นเรียกบ้าน ๆ ว่าบ้านนอกเลยครับ (หัวเราะ) เป็นเมืองที่หนาวนิดหนึ่ง ชื่อเมืองว่า Gold ภาษาไทยแปลว่าทองครับ (ยิ้ม) เมืองนี้คล้าย ๆ เชียงใหม่บ้านเรา คนไทยไม่มีเลยครับ ไม่มีเลยแม้แต่คนเดียว เมืองนี้เป็นเมืองเล็กมาก บ้านแต่ละหลังห่างกันประมาณ 5 กิโลเมตร บรรยากาศมีแต่ทุ่งหญ้ากับวัวเดินอยู่เต็มไปหมด เรียกว่าถ้าเขาขับรถสวนกัน ทุกคนรู้จักกันหมดครับ อย่างวันแรกที่ผมไปถึงบ้านของ Host เขาพาผมไปทานอาหาร จำได้เลยว่าเหมือนในหนังที่เคยดูครับ เพียงแค่ผมเปิดประตูเข้าไปนั้นทุกคนมองผมเป็นตาเดียวเลย นี่หรือคนเอเชีย เพราะเขาไม่เคยเห็นกันจริง ๆ (หัวเราะ) คนส่วนใหญ่ของเมืองนี้จะเป็น Farmer? จากเด็กไทยคนเดียวท่ามกลางคนแปลกหน้า แปลกถิ่น และแตกต่างในเรื่องของภาษา ดูเหมือนเป็นเรื่องน่าหนักใจมาก แต่พอลสามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ ?ช่วงแรกคิดถึงบ้านมาก เขียนจดหมายถึงเพื่อนที่อยู่รัฐอื่นเป็นประจำ ส่วนใหญ่จะเปรียบเทียบชีวิตกันและกันมากกว่า รวมถึงปัญหาของแต่ละคนเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากนั้นผ่านไป 3 เดือน ผมเริ่มปรับตัวได้ ภาษาอังกฤษเริ่มเรียนรู้เรื่อง ฟังเข้าใจ จากที่โทร.หาที่บ้านบ่อย หลัง ๆ เริ่มไม่ค่อยโทร.แล้วครับ (หัวเราะ)? ?ส่วนในเรื่องของการเรียนแรก ๆ จะบ่นกับเพื่อนทางจดหมายว่าเรียนไม่รู้เรื่องเลย แต่ผมได้รับการแนะนำมาก่อนว่า เราควรจะต้องแนะนำตัวกับอาจารย์ครับ แนะนำว่าเราเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน อาจารย์เขาจะได้เอ็นดูเรา เวลาที่เราเรียนไม่เข้าใจ อาจารย์จะช่วยเหลือเราได้ มีให้สอบซ่อมบ้าง เข้าหาอาจารย์บ่อย ๆ เป็นทางออกที่สามารถช่วยเราได้ครับ? สำหรับเทคนิคในการฝึกปรือภาษาอังกฤษให้เข้าใจได้เร็ว และพูดได้ชัดเจนใกล้เคียงกับเจ้าของภาษานั้น พอลแนะว่าต้องเข้าชมรมหรือร่วมกิจกรรมเยอะ ๆ ?ถ้าเราเรียนอย่างเดียว ภาษาจะได้คำศัพท์แบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ แต่ถ้าเราทำกิจกรรมเยอะ ๆ เล่นกีฬา หรือเข้าชมรม เราจะได้ในเรื่องของการพูดคุย อย่างผมอยู่ชมรมฟุตบอล จะมีภาษากีฬาที่เพื่อน ๆ พูดกัน ซึ่งผมไม่เคยรู้มาก่อน จนได้มาลงสนามกับเพื่อน ๆ ถึงได้เข้าใจ อย่างคำว่า Give and Go ถ้าเราแปลตรงตัวคือให้และก็ไป หมายถึงเราส่งลูกให้เขาแล้วเราวิ่งนำไป จะตรงกับภาษาไทยแปลว่า ชิ่ง ครับ ตอนแรกงงมากเลยเพื่อนพูดว่าอะไร สุดท้ายเริ่มเข้าใจได้เอง ผมจึงสอนภาษาไทยให้เพื่อนรู้ด้วยว่ามันคือคำว่า ชิ่ง หลัง ๆ เพื่อนฝรั่งพูดคำว่าชิ่งกันเต็มสนามเลย เอาไว้หลอกคู่ต่อสู้ (หัวเราะ)? ?หรือถ้าเราอยากพูดเก่งเร็ว ๆ ต้องดูทีวี.เยอะ ๆ อย่างผมดูซีรี่ส์ของอเมริกัน ผมดูจนพูดสำเนียงเดียวกับเขาได้เลย ผมจะบอกว่ารายการโทรทัศน์มีอิทธิพลมากจริง ๆ อ่านข่าว อ่านหนังสือเยอะ ๆ แล้วทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนของเราจะพูดได้อย่างเจ้าของสำเนียงเลย ใช้ชีวิตอยู่ต่างแดนนาน 2 ปีเต็ม หนุ่มคนนี้มีเหตุการณ์ที่ประทับใจมาเล่าสู่กันฟังให้เราได้อมยิ้มกันด้วย ?เหตุการณ์ที่ประทับใจ ตอนเรียนผมกับเพื่อน ๆ ชอบลอกการบ้าน ซึ่งมันเป็นสิ่งไม่ดีเลย มีเพื่อนของผมคนหนึ่งซึ่งเขาเป็นคนเรียนเก่งมาก วันหนึ่งเขามาเห็นผมลอกการบ้านเขาอยู่ สีหน้าจากที่เขาเคยช่วยเหลือผม เคยคุยเล่น เปลี่ยนไปเป็นคนละคนเลย คือเขาบอกกับผมว่าทำแบบนี้ไม่ถูกนะ นี่คือเด็กอเมริกัน ในเรื่องของการเรียน เขาจะตรงมาก ๆ? ?กับอีกเหตุการณ์ที่ผมตั้งชื่อว่า Locker Room คือการเรียนในระดับ High School พอเล่นกีฬาเสร็จปุ๊บ เขาจะเผื่อเวลาไว้ให้เราได้อาบน้ำ ทุกคนเดินเข้าไปในห้องที่มีที่เก็บของส่วนตัว จากนั้นทุกคนจะเริ่มถอดชิ้นส่วนออกจากร่างกายหมดเลย ตอนแรกผมงงมาก เฮ้ย! (หัวเราะ) ทำไมถึงต้องแก้ผ้าอาบน้ำด้วย ใช้เวลามึน ๆ (หัวเราะ) และปรับตัวพอสมควรครับ แรก ๆ ผมจะใส่ชั้นในอาบก่อน เพราะยังเขิน ๆ อยู่ แต่พอสักไม่กี่อาทิตย์ผมเดินถอดเสื้อผ้าคนแรกเลยครับ (หัวเราะ) ทำให้เห็นว่านี่คือความแตกต่างในเรื่องของวัฒนธรรมระหว่างเรากับเขา? หลังจากที่พอลเรียนจบ High School แล้ว เขากลับมาเรียนต่อปริญญาตรีจนจบที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ?จากการที่ผมไปเรียนในต่างประเทศในเรื่องของภาษาอังกฤษทำให้ผมค่อนข้างเรียนรู้เรื่องมากกว่าเพื่อนคนไทย หรืออย่างเรียนจบแล้ว ผมมีโอกาสได้เข้ามาทำงานเป็นดีเจ เป็นพิธีกร ซึ่งบางครั้งเขาจำเป็นต้องหาพิธีกรที่พูดภาษาอังกฤษได้ ตรงนี้ทำให้ผมได้รับโอกาสมากกว่าคนอื่น ผมกล้าพูดได้เลยนะครับว่าภาษาอังกฤษทำให้ผมมีวันนี้ได้เลยนะ? สุดท้ายพี่พอลฝากถึงน้อง ๆ ที่กำลังจะไปศึกษาต่อต่างประเทศ ขอให้ตั้งใจเรียนกันเยอะ ๆ นอกเหนือจากวิชาการแล้ว สิ่งที่ได้กลับมาคือคุณได้ประสบการณ์ภายนอกที่เราจะหาซื้อจากที่ไหนไม่ได้ ที่มา " เรียนรอบโลก " ผู้เขียน : oakky วิไลรัตน์ ต่ายประยูร ช่างภาพ : พี่หนึ่ง ++ สาระ ความรู้ การเรียน การศึกษา แฟชั่นอินเทรนด์ คลิก!!! http://campus.sanook.com/
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook