แหล่งทุนเมืองไทย

แหล่งทุนเมืองไทย

แหล่งทุนเมืองไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การศึกษา

ทุนสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) วัตถุประสงค์ 1. จัดเตรียมและพัฒนากำลังคนในภาคราชการให้มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของภาคราชการที่จะต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม และเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต 2. ทดแทนกำลังคนของภาคราชการที่มีความรู้ความสามารถสูงที่พ้นไปจากภาคราชการ และทดแทนทุนความช่วยเหลือจากต่างประเทศที่ลดลง 3. โน้มน้าวและจูงใจคนเก่งรุ่นใหม่ให้เข้ารับราชการ รายละเอียดทุน ก. ทุนระยะที่ 1 1. ทุนเล่าเรียนหลวง 2. ทุนรัฐบาลสำหรับผู้เคยรับทุนเล่าเรียนหลวง 3. ทุนการศึกษาต่อสำหรับนักเรียนทุนรัฐบาลที่มีผลการเรียนดีเด่น 4. ทุนไทยพัฒน์ 5. ทุนกลางระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ทุนกลางญี่ปุ่น) 6. ทุนกลางสตรีศึกษา หรือ Gender Studies 7. ทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของคนพิการ 8. ทุนสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศหรือได้รับการตอบรับให้เข้าศึกษาจากสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงในสาขาวิชาต่าง ๆ 9. ทุนตามความต้องการของส่วนข้าราชการ 9.1 ทุนทั่วไป 9.1.1 ทุนระบุสังกัด 9.1.2. ทุนไม่ระบุสังกัด 9.2 ทุนพัฒนาข้าราชการ 9 2.1. ทุนระบุสังกัด 9.2.2. ทุนไม่ระบุสังกัด ข. ทุนระยะที่ 2 ทุนสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกแล้ว จากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ คุณสมบัติของผู้รับทุน ทุนเล่าเรียนหลวง 1. เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ยกเว้นในกรณีเรื่องอายุตาม (2) ของมาตรา 30 นี้ ผู้สมัครมีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้ 2. เป็นผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปี 3. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษาที่ประกาศ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทุกภาคการศึกษาเท่าที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 3.50 และเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ประจำปีการศึกษาที่ประกาศ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของกระทรวงศึกษาธิการ ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (สพพ.) หรือตามโครงการลงทะเบียนเรียนตามเวลาและความสามารถของนักเรียน (ลบส.) โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทุกภาคการศึกษาเท่าที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 3.50 และต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษาที่ประกาศ โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอด หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.50 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษาที่ประกาศ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของกระทรวงศึกษาธิการตามโครงการลงทะเบียนเรียนตามเวลาและความสามารถของนักเรียน (ลบส.) หลักสูตร 2 ปีครึ่ง โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.50 4. เป็นผู้ไม่สอบตกในวิชาใดวิขาหนึ่งตลอดหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 5. เป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี 6. เป็นผู้ไม่อยู่ในระหว่างรับทุนที่มีสัญญาผูกพันในการปฏิบัติงานชดใช้ทุนใด ๆ ทุนไทยพัฒน์ 1. เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ยกเว้นในกรณีเรื่องอายุตาม (2) ของมาตรา 30 นี้ ผู้สมัครมีอายุต่ำกว่า 18 ปีได้ 2. เป็นผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปี 3. เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษาที่ประกาศ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทุกภาคการศึกษาเท่าที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 3.50 และเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว จะต้องได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ประจำปีการศึกษาที่ประกาศ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของกระทรวงศึกษาธิการ ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (สพพ.) หรือตามโครงการลงทะเบียนเรียนตามเวลาและความสามารถของนักเรียน (ลบส.) โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทุกภาคการศึกษาเท่าที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 3.50 และต้องสำเร็จการศึกษาในมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษาที่ประกาศ โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต่ำกว่า 3.50 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษาที่ประกาศตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของกระทรวงศึกษาธิการตามโครงการลงทะเบียนเรียนตามเวลาและความสามารถของนักเรียน (ลบส.) หลักสูตร 2 ปีครึ่ง โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต่ำกว่า 3.50 4. เป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี 5. เป็นผู้ไม่อยู่ในระหว่างรับทุนที่มีสัญญาผูกพันในการปฏิบัติงานชดใช้ทุนใด ๆ ทุนส่วนราชการ ผู้มีสิทธิ์สมัครสอบต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 และเป็นผู้มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วย ทุนระดับปริญญาโท หรือปริญญาโท-เอก เป็นผู้ได้รับปริญญาตรีหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาตรี และมีผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือ 3.00 แล้วแต่กรณี ซึ่งกำหนดไว้ในแต่ละหน่วยแนบท้ายประกาศ (ในระบบการวัดผลที่คิดคะแนนให้ A = 4, B=3, C = 2, D = 1, E หรือ F = 0) ทุนศึกษาระดับปริญญาเอก 1. เป็นผู้ได้รับปริญญาโทหรือประกาศนียบัตรเทียบเท่าปริญญาโท และมีผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรการศึกษาไม่ต่ำกว่า 3.50 (ในระบบการวัดผลที่คิดคะแนนให้ A = 4, B=3, C = 2, D = 1, E หรือ F = 0) หรือร้อยละ 85.00 หรือเทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ และมีอายุไม่เกิน 40 ปี 2. กรณีผู้สมัครสอบที่มีผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรการศึกษาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามข้อ 3.1.2 หรือข้อ 3.1.3 จะต้องมีหนังสือรับรองผลการเรียนจากสถานศึกษามาแสดงว่าเป็นผู้มีผลการเรียนเทียบเท่ากับผลการเรียนที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยแนบท้ายประกาศนี้ หากผู้ใดไม่มีหนังสือรับรองผลการเรียนมาแสดง จะถือว่าไม่มีสิทธิ์ในการสมัครสอบครั้งนี้ 3. สำหรับทุนที่ให้ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ซึ่งไม่เคยได้รับปริญญาโท หรือเทียบเท่าปริญญาโทในสาขา หรือวิชาเอก หรือเน้นทางเดียวกับทุนที่จะไปศึกษา 4. กรณีผู้สมัครสอบเป็นผู้รับทุนรัฐบาลซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ไม่มีสิทธิ์สมัครสอบในครั้งนี้ หรือผู้สมัครสอบที่เคยใดรับทุนรัฐบาลไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศมาแล้ว จะต้องเป็นผู้ซึ่งหมดภาระผูกพันในการปฏิบัติราชการชดใช้ทุนตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับ ก.พ. หรือส่วนราชการแล้ว สำหรับผู้สมัครสอบที่ได้รับทุนอื่น ๆ เพื่อศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ หรือในประเทศและยังมีข้อผูกพันในการปฏิบัติราชการชดใช้ทุน ให้แสดงหนังสืออนุญาตให้สมัครสอบ และยินยอมให้โอนไปปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ได้รับทุนจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือหัวหน้าหน่วยงานเจ้าของทุน หากมิได้แสดงหนังสือดังกล่าว ก.พ. จะพิจารณาไม่ให้มีสิทธิ์สมัครสอบ หรือเพิกถอนการให้ทุน 5. ผู้สมัครสอบที่เป็นข้าราชการซึ่งมีข้อผูกพันในกรณีอื่น ๆ กับส่วนราชการในการปฏิบัติราชการชดใช้นั้น จะต้องแสดงหนังสืออนุญาตให้สมัครสอบ และยินยอมให้โอนไปปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ได้รับทุนจากหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด หากมิได้แสดงหนังสือดังกล่าว ก.พ. จะพิจารณาไม่ให้มีสิทธิ์สมัครสอบ หรือสิทธิ์เพิกถอนการให้ทุน ทุนกลาง ม. ปลาย 1. เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ยกเว้นในกรณีเรื่องอายุตาม (2) ของมาตรา 30 นี้ ผู้สมัครมีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้ 2. คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครสอบ -- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษาที่ประกาศตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของกระทรวงศึกษาธิการ หรือหลักสูตรอื่นที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าและรับรอง โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทุกภาคการศึกษาเท่าที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 3.50 หรือ -- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 ประจำปีการศึกษาที่ประกาศตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของกระทรวงศึกษาธิการ ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในการเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (สพพ.) หรือตามโครงการลงทะเบียนเรียนตามเวลาและความสามารถของนักเรียน (ลบส.) โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมทุกภาคการศึกษาเท่าที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 3.50 และต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในปีการศึกษาที่ประกาศ หรือ -- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษาที่ประกาศ ตามหลกสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พ.ศ. 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของกระทรวงศึกษาธิการ ตามโครงการลงทะเบียนเรียนตามเวลาและความสามารถของนักเรียน (ลบส.) หลักสูตร 2 ปีครึ่ง โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่ต่ำกว่า 3.50 3. เป็นผู้มีอายุไม่เกิน 20 ปี 4. เป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี 5. เป็นผู้ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองให้ไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศได้ เฉพาะหน่วยทุนที่ 5001-5005) 6. เป็นผู้ไม่อยู่ในระหว่างการรับทุนที่มีสัญญาผูกพันในการปฏิบัติงานชดใช้ทุนใด ๆ ทุนพัฒนาข้าราชการ ไม่ระบุสังกัด 1. เป็นผู้มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วย 2. เป็นข้าราชการพลเรือนในสังกัด กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่ได้ปฏิบัติราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 3. มีความรู้ภาษาอังกฤษดีพอที่จะไปศึกษาต่อวิชา ณ ต่างประเทศได้ 4. เป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี 5. เป็นผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ อุทิศและเสียสละ 6. เป็นผู้ที่ส่วนราชการเห็นว่าเหมาะสม และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเพียงพอ สมควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะกลับมาเป็นกำลังสำคัญของส่วนราชการ 7. สำหรับทุนที่ให้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ซึ่งไม่เคยได้รับปริญญาโท หรือเทียบเท่าปริญญาโทในสาขา หรือวิชาเอก หรือเน้นทางเดียวกับทุนที่จะไปศึกษา ทุนพัฒนาข้าราชการ 1. เป็นผู้มีคุณสมบัติเฉพาะตามที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วย 2. เป็นข้าราชการที่ได้ปฏิบัติราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี 3. มีความรู้ภาษาอังกฤษดีพอที่จะไปศึกษาต่อวิชา ณ ต่างประเทศได้ 4. เป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี 5. เป็นผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ อุทิศ และเสียสละ 6. เป็นผู้ที่ส่วนราชการเห็นว่าเหมาะสม และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเพียงพอ สมควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะกลับมาเป็นกำลังสำคัญของส่วนราชการ 7. สำหรับทุนที่ให้ไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ผู้สมัครจะต้องเป็นผู้ซึ่งไม่เคยได้รับปริญญาโท หรือเทียบเท่าปริญญาโทในสาขา หรือวิชาเอก หรือเน้นทางเดียวกับทุนที่จะไปศึกษา ทุนระดับมัธยมศึกษา (ทุนกลางญี่ปุ่น) 1. เป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 ยกเว้นในกรณีเรื่องอายุตาม (2) ของมาตรา 30 นี้ ผู้สมัครมีอายุต่ำกว่า 18 ปีได้ 2. คุณสมบัติเฉพาะของผู้สมัครสอบ -- เป็นผู้กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษาที่ประกาศ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นรวมทุกภาคการศึกษาเท่าที่ผ่านมาไม่ต่ำกว่า 3.50 -- เป็นผู้มีอายุไม่เกิน 18 ปี 3. เป็นผู้มีศีลธรรม วัฒนธรรม และความประพฤติดี 4. เป็นผู้ได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองให้ไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศได้ 5. เป็นผู้ไม่อยู่ในระหว่างการรับทุนที่มีสัญญาผูกพันในการปฏิบัติงานชดใช้ทุนใด ๆ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์สรรหาและเลือกสรร สำนักงาน ก.พ. จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 0-2547-1329, 0-2547-1330, 0-2547-1345 หรือศูนย์แนะแนวการศึกษาและข่าวสาร สำนักงาน ก.พ. ถ. พิษณุโลก กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2281-3333 หรือ 1786 และศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ สำนักงาน ก.พ. สยามสแควร์ซอย 7 (ตรงข้ามสถานีย่อยปทุมวัน) กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2252-9737-8 และ www.ocsc.go.th, www.studyabroad.ocsc.go.th ทุนโครงการ พสวท. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และโครงการ พสวท. รับสมัครนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้น ม. 3 เพื่อคัดเลือกเป็นนักเรียนทุน พสวท. รับสมัครช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี คุณสมบัติของผู้สมัคร 1. กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษานั้น ๆ 2. มีผลการเรียน ดังนี้ 2.1 ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และ 2 ไม่ต่ำกว่า 3.00 2.2 ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมวิชา ว101-ว204 ไม่ต่ำกว่า 3.00 2.3 ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมวิชา ค101-ค204 ไม่ต่ำกว่า 3.00 2.4 ในกรณีที่ผู้สมัครขาดคุณสมบัติตามข้อ 2.1 ขณะศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ต้องได้รับรางวัลจากการประกวดหรือแข่งขันตามข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ 2.4.1 การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับประเทศหรือระดับภาค 2.4.2 การสอบแข่งขันทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระดับประเทศหรือระดับเขต 2.4.3 การสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของสมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณสมบัติตามข้อ 2.4 นี้ ต้องส่งหลักฐานและ/หรือคำรับรองจากผู้บริหารโรงเรียนไปแสดงด้วย 3. มีสัญชาติไทย 4. ไม่เป็นโรคติดต่อหรือเป็นโรคร้ายแรงซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา 5. มีความขยันหมั่นเพียร ความประพฤติดี และมีบุคลิกภาพเหมาะสม 6. มีความตั้งใจเข้าโครงการ และได้รับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง หลักฐานการสมัคร 1. รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก ขนาด 1 นิ้ว ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป ทากาวติดบัตรประจำตัวสอบ 2. ใบสมัคร บัตรประจำตัวผู้สมัครสอบ กรอกชื่อนามสกุลจังหวัดและลงลายมือชื่อผู้สมัครให้เรียบร้อย สถานที่ขอข้อมูลและรับใบสมัคร 1. โรงเรียนที่นักเรียนศึกษาอยู่ 2. สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดที่ผู้สมัครสอบศึกษาอยู่ (สำหรับส่วนภูมิภาค) 3. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สำหรับเขตกรุงเทพมหานคร) เลขที่ 924 ถ. สุขุมวิท คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เลขที่ 924 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2392-4021 ต่อ 2308-2311 www.ipst.ac.th/dpst/ ทุนโครงการมิตรภาพเยาวชนอาเซียน-ญี่ปุ่น สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับสมัครเยาวชนไทย เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการมิตรภาพเยาวชนอาเซียน-ญี่ปุ่น โดยมีระเบียบและวิธีการรับสมัคร ดังนี้ 1. คุณสมบัติทั่วไป ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติดังนี้ -- เป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในสาขาใดสาขาหนึ่งในกลุ่มที่ระบุ -- อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 20-35 ปี สัญชาติไทยตามหลักฐานทะเบียนบ้านของทางราชการ -- สามารถปรับตัวในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นเป็นกลุ่มในระยะเวลานานได้ -- ไม่อยู่ในระหว่างการขอรับทุนหรือกำลังรับทุนเดินทางไปต่างประเทศอื่นใด -- มีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษหรือภาษาญี่ปุ่น ในระดับพอสมควร ในกรณีสมัครแบบกลุ่มประเทศเดี่ยว (SINGLE COUNTRY COMPONENT) -- มีความสามารถพูดและเขียนภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีใกล้เคียงระดับที่โครงการฯ คาดหวังไว้ ในกรณีสมัครแบบกลุ่ม (ASEAN COMPONENT) -- มีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการอย่างกระตือรือร้น -- ต้องไม่สังกัดกระทรวงกลาโหม เนื่องจากเป็นกฎระเบียบของทางรัฐบาลญี่ปุ่นเจ้าของโครงการ -- สำหรับพระภิกษุหรือสามเณร สท. ไม่รับสอบและไม่อาจให้เข้าสอบคัดเลือกได้ -- ตามหลักการแล้ว ไม่เคยเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นมาก่อน ผู้ที่เคยไปต่างประเทศในโครงการใด ๆ ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) จะต้องเดินทางกลับมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันเดินทางกลับประเทศไทย จนถึงวันปิดรับสมัคร จึงจะมีสิทธิ์สมัคร -- เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยและมีระเบียบวินัย 2. คุณสมบัติเฉพาะกลุ่ม ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตามด้าน/สาขาที่สมัคร นอกเหนือจากคุณสมบัติทั่วไปตาม ข้อ 1. โดยจะต้องมีประสบการณ์ปฏิบัติงานในด้าน/สาขาที่เกี่ยวข้องกับที่สมัคร ติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ดังนี้ กลุ่มสาขาอาชีพ (รุ่นที่ 1) รับจำนวน 45 คน เข้าร่วมโครงการ ณ ประเทศญี่ปุ่น ช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม สาขา คุณสมบัติเฉพาะ 1. สวัสดิการสังคม (สวัสดิการคนพิการ) Social Welfare (People with Disabilities) จำนวน 24 คน -- ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้พิการ Officers or staffs in charge of welfare providing for people with disabilities -- บุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการจัด สวัสดิการสำหรับผู้พิการ Persons engaged in promoting the Social Participation of people with disabilities 2. บริการทางการแพทย์และ อนามัย (อนามัยชุมชน) Health and Medical Service (Community Medical Care) จำนวน 21 คน -- ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านให้บริการด้านการแพทย์และอนามัย Civil Servants in charge of Health and Medical Services : Community Medical Care - บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านการจัดบริการด้าน การแพทย์และอนามัย (อนามัยชุมชน) Persons engaged in promoting the Community Medical Care หมายเหตุ ไม่รวมแพทย์และพยาบาล กลุ่มสาขาอาชีพ (รุ่นที่ 2) รับจำนวน 63 คน เข้าร่วมโครงการ ณ ประเทศญี่ปุ่น ช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน สาขา คุณสมบัติเฉพาะ 1. การเกษตรกรรม (Agriculture) จำนวน 21 คน -- ข้าราชการที่รับผิดชอบงานด้านส่งเสริมเกษตร Civil servants in charge of farming in implementing level -- บุคคลที่ทำงานด้านการเกษตร Persons engaged in farming in implementing level 2. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) จำนวน 21 คน -- ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ Officers / staffs in charge of Information technology Management -- บุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ Persons engaged in information technology 3. ป้องกันสาธารณภัย (Disaster Prevention at Community Level) จำนวน 21 คน -- ข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการป้องกันสาธารณภัยในระดับชุมชน Officers/staffs in charge of Disaster Prevention at Community Level -- บุคคลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันสาธารณภัยในระดับชุมชน Persons engaged in Disaster Prevention at Community Level 3. การรับสมัคร (รับสมัครเยาวชนทั่วไป) ผู้สมัครสามารถยื่นใบสมัครได้ 2 วิธี คือ ยื่นใบสมัครด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ โดยสามารถเลือกสมัครได้เพียง 1 สาขาทั้งนี้ ในการสมัครผู้สมัครต้องตรวจสอบด้วยตนเองว่า มีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะครบถ้วนตามที่ระบุข้างต้น แล้วจึงยื่นใบสมัคร หากปรากฏในภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งหรือตรวจสอบพบว่าเอกสารที่ใช้ในการสมัครเป็นเอกสารเท็จจะถูกตัดสิทธิ์ในการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้ แม้ว่าจะผ่านกระบวนการสอบคัดเลือกแล้วก็ตาม 4. หลักฐานประกอบการสมัคร 4.1 ใบสมัครที่กรอกข้อความชัดเจนและครบถ้วนด้วยตัวบรรจง 4.2 รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว หน้าตรง ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ จำนวน 1 รูป ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน โดยติดรูปถ่ายลงในใบสมัครให้เรียบร้อย 4.3 หนังสือรับรองการทำงานของผู้สมัคร (แสดงถึงการทำงานในด้าน/สาขานั้นของผู้สมัคร) 4.4 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ 1 ชุด (ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง) 4.5 สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด (ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง) โปรดเรียงหลักฐานประกอบการสมัคร ตามลำดับข้อ 4.1-4.5 หากไม่ครบถ้วน จะไม่รับสมัครและถูกตัดสิทธิ์ในการสมัครสอบคัดเลือก สำหรับเอกสารเพิ่มเติม (ถ้ามี) ให้จัดทำแยกชุดออกไปโดยจะต้องระบุชื่อให้ชัดเจน 5. กำหนดวันรับสมัครและสอบคัดเลือก 1. กลุ่มสาขาอาชีพ รุ่นที่ 1 -- สาขาสวัสดิการสังคม (สวัสดิการคนพิการ) -- สาขาการบริการทางการแพทย์และอนามัย (อนามัยชุมชน) -- สมัครด้วยตนเอง มีนาคม-เมษายน -- สมัครทางไปรษณีย์ มีนาคม -- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ เมษายน -- สอบคัดเลือก เมษายน -- ประกาศผลการคัดเลือก เมษายน 2. กลุ่มสาขาอาชีพ รุ่นที่ 2 -- สาขาการเกษตรกรรม -- สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ -- สาขาการป้องกันสาธารณภัย -- สมัครด้วยตนเอง พฤษภาคม -- สมัครทางไปรษณีย์ พฤษภาคม -- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ มิถุนายน -- สอบคัดเลือก มิถุนายน -- ประกาศผลการคัดเลือก มิถุนายน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ (สท.) เลขที่ 618/1 ถนนนิคมมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 0-2651-6534, 0-2255-5850-7 ต่อ 178, 179 www.opp.go.th ทุนไจก้า องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency - JICA) หรือที่เรียกกันว่า ไจก้า นั้น เป็นหน่วยราชการของประเทศญี่ปุ่น มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ตามข้อตกลงของรัฐบาลประเทศที่กำลังพัฒนา บทบาทสำคัญของไจก้า -- ติดต่อ ประสานงาน ศึกษาโครงการที่หน่วยงานเสนอมาเพื่อขอรับความร่วมมือ -- ประสานงานกับหน่วยราชการญี่ปุ่น ในการพิจารณาอนุมัติโครงการความร่วมมือจากประเทศญี่ปุ่น -- ติดต่อประสานกับหน่วยราชการญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อการส่งผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัครญี่ปุ่น ไปปฏิบัติงานในประเทศกำลังพัฒนา -- กำกับดูแล บริหาร ติดตาม และประเมินผลโครงการความร่วมมือต่าง ๆ รูปแบบของความร่วมมือ ความร่วมมือที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีต่อรัฐบาล ประเทศกำลังพัฒนามีอยู่ 2 ประเภทที่อยู่ในความรับผิดชอบของไจก้า คือ 1. โปรแกรมความร่วมมือแบบให้เปล่า (Grant Aid Program) เป็นความช่วยเหลือในรูปเงินทุนให้แก่ประเทศที่กำลังพัฒนาโดยไม่ต้องชำระคืน ความร่วมมือประเภทนี้ให้ทุนเพื่อการก่อสร้าง หรือเพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือในโครงการ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศกำลังพัฒนา ปัจจุบันไจก้าได้ยุติการให้ความร่วมมือประเภทนี้แก่ประเทศไทยแล้ว ด้วยเหุตผลที่ว่าประเทศไทยได้พัฒนาจนมีฐานะทางเศรษฐกิจที่เติบโตในระดับแนวหน้า 2. โปรแกรมความร่วมมือทางวิชาการ (Technical Cooperation Program) ไจก้า ได้ให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่ประเทศไทยอย่างกว้างขวาง ในรูปแบบดังนี้ 2.1 ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ไจก้าจะส่งผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นตามคำขอของรัฐบาลไทย ทั้งที่เป็นผู้เชี่ยวชาญระยะสั้น และผู้เชี่ยวชาญระยะยาวมาประจำหน่วยงานของไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเฉพาะด้านแก่เจ้าหน้าที่ของไทย ในแต่ละปีจะมีผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นมาปฏิบัติงานในไทย 200 คน 2.2 ทุนฝึกอบรม (Training Program) กิจกรรมที่ไจก้ารับผิดชอบภายใต้โปรแกรมนี้มี 3 แบบ ได้แก่ -- ทุนฝึกอบรมในประเทศญี่ปุ่น (Training in Japan) -- ทุนฝึกอบรมในประเทศที่สาม (Third County Training program) -- โครงการมิตรภาพประจำศตวรรษที่ 21 (Friendship Program for the 21st Century) 3. ความร่วมมือแบบเบ็ดเสร็จ (Project-Type Technical Cooperation) 4. การศึกษาเพื่อการพัฒนา (Development Study Program) 5. อาสาสมัครญี่ปุน (JOCV) สาขาที่ไจก้าให้ความร่วมมือ โครงการความร่วมมือต่าง ๆ ที่ไจก้าให้ความสนับสนุน ได้แก่ 1. การวางแผนและการบริหาร 2. การโยคและสาธารณูปโภค 3. การเกษตร ป่าไม้ และประมง 4. การเหมืองแร่ และการอุตสาหกรรม 5. การพลังงาน 6. การค้าและการท่องเที่ยว 7. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 8. สาธารณสุขและการแพทย์ 9. สวัสดิการสังคม โดยสาขาความร่วมมือที่ไจก้าให้ความสำคัญลำดับต้น จะต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของไทย ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินกิจกรรมดังนี้ -- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านอุตสาหกรรม -- การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และที่ดินเนื่องจากการพัฒนาที่รวดเร็ว -- แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้ได้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและระดับโครงสร้างทางอุตสาหกรรม -- การพัฒนาในระดับจังหวัดและภูมิภาค เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกรุงเทพฯ กับพื้นที่ในชนบท -- ขยายบริการสาธารณสุขพื้นฐาน สนับสนุนรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์และอื่น ๆ การขอรับความร่วมมือของไจก้า เนื่องจากความร่วมมือทุก ๆ ประเภทของไจก้า เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ การขอรับความร่วมมือในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขอผู้เชี่ยวชาญมาประจำในหน่วยงาน การขอทุน อบรมต้องจัดทำอย่างเป็นทางการ โดยหน่วยงานที่สนใจจะขอรับความร่วมมือ ต้องส่งแบบคำขอรับความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานไปยังกรมวิเทศสหการ เพื่อกรมวิเทศสหการจะได้พิจารณา และส่งแบบคำขอไปยังสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อประสานงานในระดับต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency-JICA) สำนักงานประเทศไทยเลขที่ 1674/1 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ 10320 โทรศัพท์ : 0-2251-1655 โทรสาร : 0-2255-8086 www.jica.go.jp/thailand/english/index.html ทุนธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงไทย มีนโยบายให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทมากถึง 14 ทุน แต่เว้นการให้ทุนไประยะหนึ่งในช่วงเกิดวิกฤตกระทั่งในปี 2549 จึงกลับเริ่มให้ทุนใหม่ โดยมีระยะเวลาต่อเนื่องไปอีกนานถึง 10 ปี เหตุผลที่สำคัญในการให้ทุนของธนาคารกรุงไทย คือต้องการพัฒนาคนรุ่นใหม่ก้าวเข้ามารองรับการขยายธุรกิจ โดยเปิดรับทั้งพนักงานของธนาคารกรุงไทยและบุคคลภายนอก จำนวนทุนที่กำหนดในปีล่าสุด 8 ทุน เน้นไปที่สาขาวิขา Finance Marketingและ Operational Research เป็นทุนที่ให้กับผู้ที่เข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยระดับ Top-twenty five ของประเทศสหรัฐอเมริกาและมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและจีน ในสาขาที่กำหนด แม้ธนาคารกรุงไทยกำหนดจำนวนทุนที่ให้ไว้ 8 ทุน แต่การสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยระดับ Top-twenty five ของอเมริกาหรือมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศที่กำหนดไว้ไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้เป้าหมายจำนวนผู้ได้รับทุนที่คาดไว้อย่างน้อยปีละ 4 ทุน รวมระยะเวลา 10 ปี มีผู้ได้รับทุนอย่างน้อย 40 คน โดยมีค่าใช้จ่ายต่อทุนอย่างน้อย 4 ล้านบาท ครอบคลุมค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินไป-กลับค่าใช้จ่ายประจำเดือน ค่าเล่าเรียน ค่าเครื่องแต่งกาย ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมเบ็ดเสร็จแล้วธนาคารกรุงไทย ต้องจ่ายปีละ 16ล้านบาท หรือถ้าเป็นไปตามนโยบายให้ทุนปริญญาโทต่อเนื่องไปถึง 10 ปี ต้องใช้งบประมาณสนับสนุนไม่น้อยกว่า 160 ล้านบาท ประเภททุนการศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 สำหรับผู้ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข หรือผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาในระดับปริญญาโท ซึ่งธนาคารกรุงไทย พร้อมที่จะเข้าไปชดใช้ทุนให้เพื่อมารับทุนของธนาคารกรุงไทย และเมื่อสำเร็จการศึกษาพร้อมเข้ามาทำงานกับทางธนาคาร ประเภทที่ 2 ยังไม่ได้เข้าไปเรียนแต่ได้รับการตอบรับเข้าเป็นนักศึกษาปริญญาโทจากมหาวิทยาลัย Top-twenty five ประเภทที่ 3 จบปริญญาตรี กำลังหาทุนเรียนต่อ สมัครได้เช่นเดียวกัน โดยผ่านกระบวนการสอบคัดเลือก เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้วต้องสมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ได้ ส่วนเกณฑ์คัดเลือกเป็นไปตามเงื่อนไขที่ธนาคารกรุงไทยกำหนด ทั้งในแง่การเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำบุคลิกท่าทาง การพูด และความพร้อมที่จะเข้ามาทำงานกับธนาคารกรุงไทย กรณีผู้สมัครรับทุนประเภทแรกที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท ประเทศสหรัฐอเมริกา อาจใช้วิธีตั้งคณะกรรมการจากสาขาที่ตั้งอยู่อเมริกาเพื่อความสะดวกในการดำเนินการคัดเลือก ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกได้รับทุนเรียนต่อ เมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องปฏิบัติงานกับธนาคารกรุงไทย ในอดีตกำหนดระยะเวลาชดใช้ทุน 3 เท่า คือ ทำงานที่ธนาคารกรุงไทย 6 ปี ถ้าไม่ประสงค์เข้าทำงานกับธนาคารกรุงไทย ต้องชดใช้เงินคืน 3 เท่าเช่นกัน เท่าที่ผ่านมาผู้สมัครขอรับทุนจบมาในสายบัญชี การเงินเศรษฐศาสตร์ บริหาร กฎหมาย บริหารงานบุคคล สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดนอกจากความรู้ความสามารถแล้ว ธนาคารกรุงไทยต้องการคนเก่งและดี ไม่ใช่แค่เก่งอย่างเดียว กระบว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook