เรียน ณ แดนแห่งเสียงดนตรี กับทุน AUSTRIA

เรียน ณ แดนแห่งเสียงดนตรี กับทุน AUSTRIA

เรียน ณ แดนแห่งเสียงดนตรี กับทุน AUSTRIA
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ประเทศแห่งเทือกเขาแอลป์ และเลื่องชื่อเรื่องศิลปะดนตรีที่ตั้งอู่บริเวณยุโรปตอนกลางคล้อยมาทางใต้ ก็คือ ออสเตรีย ซึ่งเป็นชาติที่แม้จะไม่ล้ำหน้าเรื่องเทคโนโลยีเหมือนบางชาติในยุโรป แต่ก็มีดีหลาย ๆ อย่างที่ท้าทายคนรักศิลปะ และการศึกษา โดยออสเตรียเป็นอีกชาติที่มีทุนการศึกษาให้กับคนไทยทุกปี ตั้งแต่ทุนระดับปริญญาตรีไปถึงปริญญาเอก โดยเฉพาะทุนฝึกอบรมดุริยางคศิลป์ (คลาสสิก) น่าจะถือได้ว่าคือสิ่งน่าสนใจอย่างยิ่ง สำรหรับคนที่ชื่อชอบศาสตร์ทางด้านดนตรี

Rankweil, Austria

ทุนของสาธารณรัฐออสเตรีย เครือข่าย ASIA UNINET มีทั้งทุนฝึกอบรมดุริยางคศิลป์ (คลาสสิก) สำหรับอาจารย์ และ น.ศ. ปี 4 ทุนปริญญาเอก ทุนวิจัย รวมทั้งวิจัยหลังปริญญาเอก ในชื่อว่า North South Dialogue กับ Technology Grants เริ่มกันด้วย ทุน Nort South Dialogue ซึ่งค่อนข้างเปิดกว้างครอบคลุมแทบทุกสาขา ยกเว้นเกี่ยวกับพยาบาล มนุษศาสตร์ ดนตรี และศิลปะ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่จบระดับปริญญาโทไปทำปริญญาเอก หรือทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย ตามช่วงเวลาที่กำหนด ออสเตรียเป็นดินแดนแห่งเทือกเขาแอลป์ และตำนานแห่งเสียงเพลง มีภูมิทัศน์ที่ดึงดูดผู้คนให้มาท่องเที่ยวมากมาย โดยคนที่นี่กว่า 98 เปอร์เซ็นต์ พูดภาษาเยอรมัน ในส่วนของการศึกษา ออสเตรียมีมหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 19 แห่ง กระจายอยู่ตามเมืองต่าง ๆ รวม 8 เมือง นับไล่เรียงระหว่างเมือง Innsbruck ในเทือกเขาแอลป์ไปถึงกรุงเวียนนาเหนือแม่น้ำดานู้บ ทำให้ในปีหนึ่ง ๆ มีนักศึกษากว่า 230,000 คน ทั้งจากถิ่นฐานออสเตรียเอง และจากต่างประเทศมีโอกาสได้ศึกษาในหลายสาขาวิชา ในส่วนของทุนปริญญาเอก ในโครงการ North South Dialogue นั้น จะรับทุกสาขา ยกเว้นสาขาพยาบาลศาสตร์ มนุษยศาสตร์ เทวนิยม ดนตรี และศิลปะ โดยระยะเวลาของทุน กำหนดไว้ไม่เกิน 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 เป็นต้นไป คุณสมบัติของผู้สมัคร 1.อายุไม่เกิน 35 ปี โดยนับถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2548 2.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่า 3.ในกรณีที่ผู้สมัครสำเร็จการศึกษาจากประเทศที่พัฒนาแล้ว จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานในประเทศกำลังพัฒนาไม่น้อยกว่า 3 ปี (นับหถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2548) 4.เป็นผู้ปฎิบัติงานในสาขาที่สมัคร 5.มีความรู้ภาษาอังกฤษดี และควรมีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาเยอรมัน 6.ไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในออสเตรีย ับการเสนอชื่อจากสถาบันอุดมศึกาต้นสังกัด รัฐบาลออสเตรียจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ได้แก่ ค่าเล่าเรียน ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก และค่าประกันสุขภาพ และอุบัติเหตุ ยกเว้นค่าเดินระหว่างประเทศ ซึ่งผู้รับทุนจะต้องรับผิดชอบเอง ในการคัดเลือก จะทำโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานเรื่องทุนความร่วมมือระหว่างไทยกับออสเตรีย เป็นผู้พิจารณาคัดเลือกเบื้องต้น โดยการสอบสัมภาษณ์ และคณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาเสนอชื่อให้รับทุน North South Dialogue ได้ตามความเหมาะสม ผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกขั้นสุดท้ายจากคณะกรรมการฝ่ายออสเตรีย สำหรับทุนปริญญาเอก การพิจารณาจะให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ กับผู้สมัครที่สมัครหลักสูตร Sandwich-programmes หรือในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาขอไทยที่นั้น ๆ มีความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาของออสเตรีย ในเรื่องของเงื่อนไขการขอรับทุนมี 2 หัวข้อหลัก ๆ ที่สำคัญ โดยประการแรก หัวข้อของงานวิจัย หรือวิทยานพนธ์ต้องเป็นประโยชน์ต่อสถาบันต้นสังกัด ประการที่สอง ผู้ผ่านการพิจารณาขั้นสุดท้ายจะต้องทำสัญญาเพื่อรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับฝ่ายออสเตรีย หากแจ้งสละสิทธิกระชั้นชิด (น้อยกว่า 60 วันก่อนไปศึกษา / วิจัย) ทางด้านทุนวิจัยถือเป็นทุน Norh South Dialogue เช่นกัน โดยคุณสมบัติและเงื่อนไขส่วนใหญ่เหมือนกับทุนปริญญาเอก รวมทั้งรับในทุกสาขา และยกเว้นสาขาที่ระบุเช่นเดียวกัน แต่มายละเอดียบางอย่างที่แตกต่างออกไป เช่น ระยะเวลาของทุนวิจัย จะอยู่ระหว่าง 3 12 เดือน (เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548) ส่วนคุณสมบัติมีที่ไม่เหมือนกันก็คือ ไม่จำกัดเรื่องอายุของผู้สมัคร และเป็นผู้ปฎิบัติงานในสาขาที่สมัครเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี โดยหลักฐานของทุนทั้งปริญญาเอก และทุนวิจัย ต้องเรียงลำดับ และมีทั้งหมด 10 ชุด (ถ่ายเอกสาร) และส่งสมัครด้วยตนเอง ภายในวันที่ 29 ต.ค.48 โดยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โทร. 0 2354 5614 5 หรือ 0 2354 5500 19 ต่อ 748 216 หรือดูรายละเอียดทุนทั้งของ North South Dialogue กับ Technology Grants ได้ทาง http://www.inter.mua.go.th

City Hall, Vienna, Austria

สำหรับทุนฝึกอบรมด้านดุริยางคศิลป์ (คลาสสิก) เป็นทุนสำหรับอาจารย์ และ น.ศ.ปี 4 เป็นทุะยะเวลา 1 ปี คุณสมบัติของผู้สมัคร ประกอบไปด้วย 1.เป็นอาจารย์ของสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือ 2.เป็นนิสิตชั้นปี 4 สาขาดุริยางคศิลป์ (คลาสสิก) 3.อายุไม่เกิน 30 ปี สำหรับประเภท Voice 4.อายุไม่เกิน 35 ปี สำหรับประเภท Instrument 5.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าขึ้นไป สาขาดุริยางคศิลป์ (คลาสสิก) 6.สามารถขับร้องเพลง หรือเล่นเครื่องดนตรีสากลที่สมัครได้อย่างดีเยี่ยม ค่าใช้จ่าย ทางกระทรวงการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมประเทศออสเตรีย จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายภายในประเทศออสเตรีย ได้แก่ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก และค่าประกันสุขภาพ ส่วน สกอ. จะรับผิดชอบค่าโดยสาร เครื่องบินไป กลับ ชั้นประหยัด กรุงเทพ ออสเตรีย การพิจารณาคัดเลือก สกอ.ร่วมกับ มหาวิทยาลัยในประเทศออสเตรีย จะพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครโดยการสัมภาษณ์ และให้ผู้สมัครแสดงความสามารถในการขับร้อง หรือเล่นเครื่องดนตรีสากล 2. ในกรณีที่มีผู้สมัครจำนวนมาก สกอ. จะพิจารณาคัดกรองเบื้องต้น ชั้นหนึ่งก่อน ส่งใบสมัครด้วยตนเอง ณ สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ (สยต.) ชั้น 10 สกอ. ดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://www.inter.mua.go.th (ทุนการศึกษา) โทรศัพท์ 0 2354 5500 19 ต่อ 748, 216 โทรศัพท์สายตรง 0 0354 5614 5
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook