ม.รังสิต ชูธง ผลิตบัณฑิตด้านแอนิเมชั่นครบวงจร

ม.รังสิต ชูธง ผลิตบัณฑิตด้านแอนิเมชั่นครบวงจร

ม.รังสิต ชูธง ผลิตบัณฑิตด้านแอนิเมชั่นครบวงจร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มหาวิทยาลัยรังสิต ชูธงเปิดคณะ Digital Art รับเปิดเทอม หวังผลิตบัณฑิตป้อนตลาดภาพยนตร์ 3 มิติ และแอนิเมชั่น รองรับเทคโนโลยี Motion Capture คาดปี 54 สามารถเปิดได้อีก 2 สาขาวิชา


อาจารย์อำนวยวุฒิ สาระศาลิน คณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยรังสิต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่กำลังเติบโตอยู่ในขณะนี้ ประกอบกับเป็นนโยบายของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ที่ต้องการเห็นการพัฒนาที่มีวิสัยทัศน์อันก้าวไกลของวงการการศึกษา โดยการจัดตั้งคณะ Digital Art และแยกสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต ออกมาจากคณะศิลปะและการออกแบบ ให้อยู่ภายใต้คณะ Digital Art โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ มุ่งเน้นการสร้างแอนิเมชั่นที่เป็นทั้ง 2D และ 3D ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการทรัพยากรบุคคลด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์และแอนิเมชั่นที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก


"สมัยก่อนหากต้องการล้างฟิล์มหรือสร้างความสมจริงในภาพยนตร์จำเป็นต้องส่งออกสู่ต่างประเทศ ต้องจ้างชาวต่างชาติเป็นคนทำ เนื่องจากไม่สามารถทำเองได้ ทำให้เม็ดเงินไหลออกสู่ต่างประเทศ ประกอบกับในปัจจุบันวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์มีความก้าวไกลมากกว่าสมัยก่อน โดยมีการใช้เทคนิคพิเศษที่เรียกว่า Computer Graphic (CG) เพิ่มเติมลงไปทำให้ภาพยนตร์เกิดความสมจริงมากขึ้น การสร้างภาพยนตร์ 3 มิติ (3D) ที่ให้อรรถรสในการรับชม หรือแม้แต่การสร้างตัวละคร Animation ที่สามารถเคลื่อนไหวได้ราวกับมีชีวิต ซึ่งแท้จริงแล้วคนไทยมีความสามารถไม่แพ้ต่างชาติ หากเพียงแต่เราเริ่มต้นช้าไป"


ทั้งนี้ หลักสูตรในปีการศึกษา 1/2553 จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับ 2D, 3D และ Animation ส่วนหลักสูตรปี 2554 จะมีการเปิดสาขาวิชาเพิ่มเติม ได้แก่ สาขาวิชา Visual Effect และสาขาวิชา Digital Illustration สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนนั้น ทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้มีการดำเนินการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ McIntosh ที่เหมาะสำหรับการทำงานประเภท 3D นอกจากนี้ ได้มีการสั่งซื้อเครื่อง Motion Capture ซึ่งเป็นเครื่องที่ มีเซนเซอร์จับการเคลื่อนไหว เพื่อประมวลผลมายังจอคอมพิวเตอร์ และพล็อตเป็นโครงสร้าง จากนั้นทำการประมวลผลแบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยร่นเวลาในการแอนิเมทและสร้างความสมจริงให้กับสิ่งที่เราต้องการ เช่น การเลียนแบบสัตว์ หรือ ตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง Avatar เป็นต้น เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับการสร้างผลงาน สำหรับบุคลากรจะเป็นอาจารย์จากสาขาวิชาคอมพิวเตอร์อาร์ต ซึ่งมีทั้งอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษที่พร้อมให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่


"ในปีถัดไปเราจะเพิ่มศักยภาพทางด้านการทำแอนิเมชั่นให้ครบวงจรโดยเปิดอีก 2 สาขาวิชา คือ สาขาวิชา Visual Effect และ สาขาวิชา Digital Illustration มากขึ้น เนื่องจากเป็นสาขาวิชาที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ Animation หลายคนที่เคยชมภาพยนตร์เรื่อง 2012 หรือ อวตารมาแล้ว เมื่อมาเรียนที่คณะ Digital Art ก็จะได้ทำงานในสายอาชีพแบบนั้น สำหรับจุดเด่นของคณะคือ การผลิตบัณฑิตให้สามารถทำงานในสายอาชีพ Production ได้อย่างครบวงจร กล่าวคือ Production ในอนาคตจะมีครบทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่าย Pre-production เป็นการทำงานจากสาขาวิชา Digital Illustration ซึ่งทำหน้าที่จัดทำ Story Board และออกแบบ Concept ก่อนถ่ายทำ ส่วนของ Production มาจากสาขาวิชามพิวเตอร์อาร์ต1 ซึ่งมีหน้าที่สร้าง Animation สร้างตัวการ์ตูนหรือสร้างภาพยนตร์มารองรับ และส่วนส่วนสุดท้ายคือ Post-production โดยมาจากสาขาวิชา Visual Effect ทำหน้าที่รองรับตัว Animation อีกขั้น เพื่อเพิ่มเติมในส่วนที่ขาดหรือต้องการความเสมือนจริงมากขึ้น ถือเป็นการผลิตบัณฑิตเพื่อป้อนตลาดแอนิเมชั่นได้อย่างครบวงจร ซึ่งสามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี" คณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook