มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ ไมโครซอฟท์ พัฒนาบุคลากรด้านไอทีสู่มืออาชีพ

มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ ไมโครซอฟท์ พัฒนาบุคลากรด้านไอทีสู่มืออาชีพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ลงนามความร่วมมือ กับบริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้โครงการ Academic Alliance โดยไมโครซอฟท์จะทำการมอบลิขสิทธิ์ในการใช้งานเทคโนโลยี .Net ให้แก่มหาวิทยาลัยรังสิต รวมถึงการถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านเว็บเซอร์วิสให้กับทางมหาวิทยาลัยเป็นเวลาหนึ่งปี เพื่อสร้างทักษะสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ ดร. ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ ให้ความเห็นว่า เว็บเซอร์วิสจะมีผลกับการดำรงชีวิตของเราทุกคน และจะเป็นเฟืองจักรสำคัญที่เชื่อมโยงผู้คน ระบบ และอุปกรณ์ทั้งหลายเข้าด้วยกัน ในฐานะที่มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเอกชนที่เติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย นักศึกษาของเราจึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะเป็นหัวใจสำคัญในอนาคต ทั้งนี้ในขณะที่นักศึกษาของเราจะต้องใช้เครื่องมือในการสร้างโปรแกรมเว็บเซอร์วิสที่หลากหลาย เทคโนโลยี .Net ของไมโครซอฟท์ จึงนับเป็นแพล็ตฟอร์มการพัฒนาชั้นเลิศที่ใช้มาตรฐานเปิด XML ในการทำงานบนโปรแกรมแอพพลิเคชั่นเว็บเซอร์วิส ซึ่งในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยรังสิต ยังสามารถมั่นใจได้ว่านักศึกษาของมหาวิทยาลัยจะได้รับประโยชน์จากหลักสูตรเสริมผ่านการบรรยายเรื่อง .Net และการจัดตั้งชมรมนักศึกษาเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมและความตื่นตัวในเรื่องเทคโนโลยี .Net และเว็บเซอร์วิส โดยทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรังสิต สามารถเข้าร่วมการแข่งขัน Imagine Cup 2006 ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับโลกของไมโครซอฟท์ได้ โดยสามารถใช้ประโยชน์จากทักษะ และอุปกรณ์ที่ได้รับอย่างเต็มเปี่ยมจากโครงการ Academic Alliance อีกด้วย ผศ.ดร. ชนวัฒน์ ศรีสอ้าน อธิการบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่ามหาวิทยาลัยรังสิตทำงานอย่างหนักเพื่อพัฒนาตร .Net ไว้สำหรับสร้างนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพพร้อมสำหรับการเข้าสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เรามุ่งมั่นพัฒนาสาขาวิชาเฉพาะทางที่สำคัญ 3 สาขา ได้แก่ ไอที คอมพิวเตอร์ และเกม ดังนั้นเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิสจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสาขาวิชาเหล่านี้ ประกอบกับรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีอยู่ในแพล็ตฟอร์ม .Net ของไมโครซอฟท์ จะเป็นหัวใจหลักที่จะเสริมสร้างความมั่นใจให้กับนักศึกษาของเราในอนาคต เขาจะประสบความสำเร็จเมื่อก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยหวังว่าความร่วมมือดังกล่าวฯ จะช่วยให้มหาวิทยาลัยรังสิต พัฒนานักพัฒนาหน้าใหม่ไฟแรงให้กับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ นางสาวสิริพร นิจศรีวงษ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้ใฝ่ฝันถึงอนาคตในการเป็นนักพัฒนา กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์และมหาวิทยาลัยรังสิต สามารถช่วยสร้างหลักสูตรที่สามารถใช้งานได้จริง บนแพลตฟอร์ม .Net ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับนักพัฒนาเว็บเซอร์วิส นี่ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับดิฉันและเพื่อน ๆ ในการเสริมสร้างทักษะเพื่อก้าวไปสู่การเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์แถวหน้าในอนาคต มร. แอนดรูว์ แม็คบีน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า การสร้างทักษะผ่านโครงการที่ช่วยเสริมการเรียนรู้อย่างไม่มีวันสิ้นสุดถือเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จ การเข้าร่วมโครงการ Academic Alliance ซึ่งเป็นโครงการที่สำคัญภายใต้โครงการ Thailand.Net ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำอีก 12 แห่ง สำหรับมหาวิทยาลัยรังสิตในครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยในการผลักดันให้อาจารย์ไทย 10,000 ท่าน ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรไอซีที สามารถถ่ายทอดทักษะดังกล่าวให้กับนักเรียนนักศึกษาอีกกว่า 420,0คน นอกจากสนับสนุนนักเรียนนักศึกษาให้พัฒนาทักษะด้านไอซีทีแล้ว ไมโครซอฟท์ยังได้ส่งเสริม นักพัฒนาที่มีศักยภาพให้ศึกษาหาความรู้เพื่อเพิ่มคุณสมบัติสู่ความเป็นมืออาชีพผ่านโครงการ 5-Star ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนาได้รับการรับรองในระดับสากลผ่านการเข้าทดสอบในระบบออนไลน์ โดยแบ่งระดับการทดสอบออกเป็น 5 ขั้น ซึ่งนักพัฒนาสามารถทำการทดสอบจากที่ใดก็ได้ ทั้งนี้เว็บไซต์ดังกล่าวซึ่งได้รับการพัฒนาเป็นภาษาไทยแล้ว และออกแบบมาเพื่อช่วยพัฒนานักพัฒนาเว็บเซอร์วิสให้ได้ถึง 69,000 คน และรับรองการพัฒนานักพัฒนามืออาชีพสู่มาตรฐานสากล ให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้คือไว้คือ 2,600 คน สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังที่ไมโครซอฟท์ได้ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้ง 12 แห่งไปก่อนหน้านี้แล้ว สำหรับความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรังสิตก็เช่นเดียวกัน ไมโครซอฟท์ได้เตรียมการสนับสนุนหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับอาจารย์ อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับหลักสูตร .Net วิทยากรรับเชิญสำหรับมหาวิทยาลัย รวมถึงการเปิดโอกาสให้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรังสิต ได้เข้าร่วมโครงการวิจัยของไมโครซอฟท์ นอกจากนี้นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ยังจะได้รับประโยชน์จากการเรียนในหลักสูตรใหม่ทางด้านเว็บเซอร์วิส และจะมีการจัดเตรียมอุปกรณ์สนับสนุนรวมถึงแหล่งข้อมูลอื่นๆ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนอีกด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook