โครงการ 'รับน้องคุณธรรม' ตัวอย่างกิจกรรมลดความรุนแรงในมหาวิทยาลัย

โครงการ 'รับน้องคุณธรรม' ตัวอย่างกิจกรรมลดความรุนแรงในมหาวิทยาลัย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กิจกรรม รับน้อง ถือเป็นกิจกรรมที่เหล่าบรรดานักศึกษาทำติดต่อกันมานานจนกลายเป็นประเพณี โดยรุ่นพี่ในทุกสถาบันจะสรรหากิจกรรมแปลกๆ มาใช้ต้อนรับนักศึกษาใหม่ เพื่อวัตถุประสงค์ให้น้องใหม่ ได้มาเรียนรู้วัฒนธรรมประเพณี และระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างรุ่นพี่ รุ่นน้อง ตลอดจนฝึกจิตใจให้พร้อมกับปัญหาที่จะเกิดทั้งการเรียนและการทำงาน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการรับน้องก็มีอยู่อีกมาก ซึ่งมีรุ่นพี่จากหลายๆ มหาวิทยาลัยที่เห็นความสำคัญของการรับน้อง และสามารถจัดกิจกรรมออกมาได้อย่างสร้างสรรค์ สนุกสนาน และปลอดภัย สามารถสร้างความสามัคคี และความประทับใจให้แก่รุ่นน้องได้ อีกทั้งยังมีคำสอน คำอวยพรดีๆ ในการเรียนและการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย เป็นของขวัญแถมให้น้องๆ ในกิจกรรมรับน้องใหม่นี้ด้วย ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ หรือ IBS ซึ่งเป็นชมรมที่ส่งเสริมด้านศีลธรรมให้แก่นิสิต นักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยในทุกปีที่ผ่านมานิสิต นักศึกษาจากชมรมพุทธศาสตร์ ได้เห็นถึงข้อดีในประเพณีรับน้องใหม่ และเห็นด้วยกับทุกๆ มหาวิทยาลัยในการจัดรับน้องอย่างสร้างสรรค์ จึงจัดโครงการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการรับน้องใหม่อย่างมีคุณธรรมโดยมี 2 กิจกรรมหลัก กิจกรรมตักบาตรเฟรชชี่ และกิจกรรมไหว้ครู ในเครือข่ายหลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ อาทิเช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฯลฯ และโครงการที่เพิ่งเริ่มต้นไปที่กำลังจะพัฒนาต่อไป คือ การจัดค่ายน้องใหม่ ซึ่งเป็นการรับน้องคุณธรรม ที่เน้นการปลูกฝังศีลธรรมให้แก่น้องนักศึกษาปี 1 "หงส์" นิตยา หินวิเศษ ชั้นปีที่ 4 คณะกรรมการชมรมส่งเสริมสมาธิและจริยธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น บอกว่า เห็นด้วยที่จัดให้มีการรับน้อง แต่ไม่ควรใช้ความรุนแรงเพราะอาจจะทำให้น้องรู้สึกกดดัน ตนคิดว่าควรใช้การหล่อหลอมรวมใจน้องอย่างสร้างสรรค์ได้ เช่น การเข้าค่ายคุณธรรมที่นอกจากฝึกวินัยแล้ว ยังช่วยเรื่องสมาธิที่นำไปใช้ในการเรียนได้ด้วย ขณะที่ "เปิ้ล" ธนัชพร ดั่งเจริญทรัพย์ ปี 6 ที่ปรึกษาชมรมพุทธศาสตร์ และประเพณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดว่าวัตถุประสงค์ในการรับน้องนั้นดี ที่ทำให้พี่กับน้องได้รู้จักกันตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งการรับน้องที่ดีมีหลายวิธี เช่น จับเข่าคุยกัน หรือ มีกิจกรรมพิเศษที่จะทำให้น้องประทับใจในตัวรุ่นพี่ไปตลอดการศึกษา ว่ารุ่นพี่เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นแรงบันดาลใจในการให้เขาทำสิ่งที่ดีได้ เช่น การรับน้องโดยสอดแทรกคุณธรรมพื้นฐาน ได้แก่ การมีวินัยของการเป็นนิสิต และความรับผิดชอบ โดยวิธีที่สนุกสนาน อย่างเช่น ถ้าเราต้องการให้เขาอดทนก็ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการที่รุนแรง แต่ทำให้เขาต้องทำอะไรเหนื่อยๆ หนักๆ แต่ใช้กิจกรรมที่แทรกให้เขาเกิดข้อคิดดีๆ ก็ได้ ส่วน "ยีนส์" สุพิชฌาย์ เดชสิทธิ์ปวีรา ปี 5 ที่ปรึกษาชมรมพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เสริมว่าในแต่ละมหาวิทยาลัยก็มีรูปแบบการรับน้องที่แตกต่างกันไป สำหรับการรับน้องที่รุนแรงนั้นก็มี แต่เป็นส่วนที่น้อยมาก จะแก้ปัญหานี้ทุกฝ่ายควรร่วมมือกัน ทั้งครู อาจารย์และรุ่นพี่จากหลายๆ คณะ ควรมาประชุมปรึกษา เพื่อหาวิธีการรับน้องที่เหมาะสม เช่น กิจกรรมนันทนาการที่สร้างสรรค์ ซึ่งแบบนี้จะทำให้เราได้กิจกรรมสร้างสรรค์ในทุกปี "เอ๋" เอกชัย ขลิบพุดซา ปี 4 ประธานชมรมพุทธศาสตร์และวัฒนธรรมไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพฯ คิดว่าการรับน้องช่วยให้น้องที่ไม่รู้อะไรเลย ได้มีความรู้ ช่วยเชื่อมความสัมพันธ์กับรุ่นพี่ได้ เมื่อมีปัญหาอะไรน้องเค้าก็จะปรึกษารุ่นพี่ก่อน สำหรับมหาวิทยาลัยของตนก็มีพี่ๆ ที่เห็นความสำคัญของการรับน้องอย่างมีคุณธรรม เช่น คณะวิศวกรรมโยธา และคณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ ก็จะจัดค่ายคุณธรรมน้องใหม่ขึ้น ซึ่งปีที่แล้วจัดที่ชมรมพุทธศาสตร์สากล เพื่อหล่อหลอมให้น้องเข้าใจธรรมะ และนำธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะสมาธิที่นำไปใช้กับการเรียนได้มาก การรับน้องคงไม่ใช่ปัญหาที่ต้องมานั่งถกเถียงกัน หากทั้งรุ่นพี่ รุ่นน้อง ตลอดจนคณาจารย์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง หันมาให้ความสำคัญ ปัญหาในด้านลบก็จะไม่เกิดขึ้น และกิจกรรม "รับน้องคุณธรรม" อาจจะเป็นหนึ่งในทางเลือกของการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook