นักศึกษาม.วลัยลักษณ์ พบสาเหตุที่ทำให้กุ้งกุลาดำเติบโตช้าเนื่องจากคุณสมบัติของดินและน้ำ

นักศึกษาม.วลัยลักษณ์ พบสาเหตุที่ทำให้กุ้งกุลาดำเติบโตช้าเนื่องจากคุณสมบัติของดินและน้ำ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
นักศึกษาปริญญาโท 2 คน ของหน่วยวิจัยกุ้ง สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ศึกษาพบสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กุ้งกุลาดำเจริญเติบโตช้า เนื่องมาจากคุณสมบัติของดินและน้ำ นายสัญธิพร พุ่มคง พบว่าดินที่ทำให้กุ้งกุลาดำเจริญเติบโตได้ดี ต้องมีปริมาณแมกนีเซียม แคลเซียม แอมโมเนีย และไนเตรทสูง ดินที่ปรับปรุงคุณภาพแล้วจะทำให้กุ้งมีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 2.34 เท่า นอกจากนี้นางสาวสุพันธ์ณี สุวรรณภักดี ยังพบว่าแอมโมเนียในน้ำเลี้ยงที่แต่เดิมคนเลี้ยงกุ้งคิดว่าเป็นสิ่งไม่ดีสำหรับกุ้งนั้น แต่จากการศึกษากลับพบว่าหากในระบบการเลี้ยงกุ้งมีปริมาณแอมโมเนียน้อยเกินไป จะทำให้ระบบนิเวศไม่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กุ้งเจริญเติบโตช้าเช่นกัน จึงได้ทดลองเติมยูเรียลงไป พบว่ายูเรียในอัตราส่วน 2 กก./ไร่ เหมาะสมสำหรับการใช้ในบ่อดินที่มีปริมาณไนโตรเจนต่ำ ทำให้กุ้งกุลาดำมีอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ได้นำเสนอผลการศึกษาในการประชุม 5 th World Fisheries Congress ที่จัดขึ้น ที่เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างวันที่ 20 25 ตุลาคม 2551 ผู้สนใจและต้องการสอบถามรายละเอียดสามารถติดต่อได้ที่ หน่วยวิจัยกุ้ง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อ. ท่าศาลา จ. นครศรีธรรมราช โทรศัพท์ 075-672390 โทรสาร 075-672390 E-mail: sru@wu.ac.th
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook