มวล. จัดสัมมนา

มวล. จัดสัมมนา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
อาศรมวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ อ่านร้อยกรองทำนองไทย ร้องเรือ เพลงบอก ลิเกป่า โนรา ถึงเสภาไทย เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ ศิลปะการอ่านร้อยกรองของคนไทย และอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติเอาไว้ ระหว่างวันที่ 21-22 มกราคม 2553 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุม 1 อาคารวิจัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งได้รับความสนใจจากครู อาจารย์และนักเรียน จากโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดใกล้เคียง เข้าร่วมกว่า 100 คน โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นศิลปินดังในสาขาเพลงบอก เพลงร้องเรือเด็ก มโนห์รา ลิเกป่า และเสภา ให้การอบรม โอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารวย เมฆานวกุล รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ให้เกียรติกล่าวในพิธีเปิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม ที่ผ่านมา ความว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตระหนักถึงความสำคัญ ในภารกิจการอนุรักษ์และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม และได้ปฏิบัติภาทางด้านภาษาของชาติ ซึ่งภาษาไทยเป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมที่บรรพชนไทยได้สร้างสรรค์เอาไว้มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการอ่านร้อยกรองและทำนองเสนาะที่มีลีลาจังหวะ ท่วงทำนองและเสียงสูงต่ำแตกต่างจากภาษาอื่นอย่างมีเอกลักษณ์ ดังนั้นคนไทยทุกคนจะต้องช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมอันสวยงามดังกล่าวเอาไว้ให้คงอยู่คู่คนไทยตราบนานเท่านาน ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.สืบพงศ์ ธรรมชาติ ผู้อำนวยการอาศรมวัฒนธรรม กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดสัมมนาในครั้งนี้ว่า จัดขึ้นเพื่อการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปะการอ่านร้อยกรองแก่บุคลากรด้านภาษาไทย เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในฉันทลักษณ์ คำประพันธ์ และศิลปะทางภาษา นอกจากนี้ในฐานะที่เราเป็นคนไทย จะต้องรู้จักใช้ศิลปะดังกล่าวให้ถูกต้อง เพื่อช่วยส่งเสริมสถาบันชาติ ช่วยจรรโลงภาษา เอกลักษณ์และวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นเอาไว้เพื่อให้คนรุ่นหลัรู้จักและรู้สึกภาคภูมิใจร่วมกันต่อไป สำหรับกิจกรรมในการอบรมปฏิบัติการอ่านร้อยกรองทำนองไทย ประกอบด้วย การบรรยาย เรื่อง พูดคุยลุยทำนองร้อยกรองไทย โดย ดร.วัฒนะ บุญจับและดร.เทวี บุญจับ จากกรมศิลปากร การอภิปรายหัวข้อ สืบทอดอ่านร้อยกรองทำนองไทยภาคใต้(ร้องเรือเด็ก- ลิเกป่า-โนรา-เพลงบอก)โดยนายสมใจ อู่ทอง (ศิลปินเพลงบอก) นายตรึก ปลอดฤทธิ์ (ลิเกป่า ) ผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น นางเกษร เขตนิคม(โนรา) ผู้ใช้ภาษาไทยพื้นบ้านดีเด่นภาคใต้ นายโสภณ พูลสวัสดิ์ (ชนะเลิศการประกวดงานเดือน ๑๐ ปี ๒๕๕๒ )นอกจากนี้ยังมีการแบ่งกลุ่มย่อยอบรมเชิงปฏิบัติการตามประเภทที่สนใจ โดยมีวิทยากรดังกล่าวให้การแนะนำอย่างใกล้ชิดอีกด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook