5 มิ.ย.วันสิ่งแวดล้อมโลก

5 มิ.ย.วันสิ่งแวดล้อมโลก

5 มิ.ย.วันสิ่งแวดล้อมโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกวันนี้เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งแวดล้อมของโลกกำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤติ...ส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เห็นได้ชัดจากสภาพอากาศที่แปรปรวนผิดปกติ ร้อนมาก หนาวมาก และฤดูกาลต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงปัญหาโลกร้อนที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น...ซึ่งเป็นสัญญาณ บ่งบอกและกระตุ้นให้คนทั่วโลกหันมาใส่ใจกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจังเสียที....!

ความเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตลอดหลายปีที่ผ่านมา องค์การสหประชาชาติ (UN) จึงกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี เป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day)" และได้มีการสถาปนาวันสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรก ปี พ.ศ. 2515 โดยในปีนี้ได้กำหนดให้มีคำขวัญว่า "ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤติชีวิตโลก (Many Species One Planet One Future)"

สำหรับประเทศไทยเอง ก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นในปี 2518 เป็นฉบับแรก เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พุทธศักราช 2518 ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติฯ ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2521 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ.2522 ต่อมาในสมัยรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้นใหม่ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน 2535 เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ และกรมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อกระตุ้นให้คนไทยเห็นความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม

 

 

และจากการสำรวจของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เรื่อง "ความคิดเห็นของประชาชนกับสิ่งแวดล้อมในวันนี้" ช่วงระหว่างวันที่ 2-3 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่า มีประชาชนถึง 55.06% ที่ไม่ทราบว่า วันที่ 5 มิถุนายน คือวันสิ่งแวดล้อมโลก ขณะที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกที่ประชาชนคิดว่ารุนแรงที่สุด 3 อันดับแรก ประกอบด้วย ภาวะโลกร้อน อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น 68.22% การเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้ ถูกทำลาย 8.80% ปัญหามลพิษทางอากาศ ฝุ่น การปล่อยควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ไฟไหม้ป่า ภูเขาไฟระเบิด 8.80% และปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศที่รุนแรงมากที่สุดในความเห็นของคนไทย 3 อันดับแรก คือ ภาวะโลกร้อน อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้น 27.26% การเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าไม้ ถูกทำลาย 20.72% และปัญหามลพิษทางอากาศ ฝุ่น ควันจากการจราจร โรงงานอุตสาหกรรม ไฟไหม้ป่า 20.25%

นอกจากนี้ยังมองว่าโอกาสและความเป็นไปได้ที่โลกจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งใหญ่ในอนาคตอันใกล้นี้ มีสูงถึง 31.39% ที่เชื่อว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้ค่อนข้างมาก เพราะมีเหตุแผ่นดินไหวบ่อยครั้งในรอบปี สภาพอากาศที่แปรปรวน ร้อนจัด เกิดอุทกภัยอย่างหนักทั่วโลก

วิกฤติสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่า ใครคนใดคนหนึ่ง จะสามารถแก้ไขได้ ดังนั้น การจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคนที่จะต้องช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ... ด้วยการช่วยกันประหยัดทรัพยากรที่อยู่รอบ ๆ อย่างน้ำ ไฟ ควรใช้อย่างคุ้มค่า ช่วยกันลดปริมาณขยะ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า และไม่ทำสิ่งใดที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ และทางเสียง รวมทั้งช่วยกันปลูกป่า ปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลกของเรา

เพียงเท่านี้ ก็สามารถช่วยให้สิ่งแวดล้อมที่ดี อยู่กับเราไปได้อีกนาน...^^

--------------------------------------------

 


ประวัติวันสิ่งแวดล้อมโลก

 

5 มิถุนายน ของทุกปี ถือเป็น วันสิ่งแวดล้อมโลก "World Environment Day" และได้มีการสถาปนาวันสิ่งแวดล้อมขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2515 หรือเมื่อราว 33 ปีที่ผ่านมา โดยได้ทำการจัดการประชุมที่เรียกว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อม" (UN Conference on the Human Environment) ณ กรุงสตอกโฮม ประเทศสวีเดน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมพิจารณาหามาตรการในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ต่างๆ ที่แต่ละประเทศสมาชิกกำลังประสบอยู่อย่างเร่งด่วน ซึ่งประเด็นสำคัญในการหารือก็คือ ทุกๆ ประเทศสมาชิกต่างต้องสรรหาวิธีการดูแลแก้ไขปัญหา และให้ความตื่นตัวเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของทุกภูมิภาคทั่วโลก อย่างจริงจัง ภายใต้การกำกับดูแลของ องค์การสหประชาชาติ (United Nations)

ความเป็นมาวันสิ่งแวดล้อมโลก

วันที่ 5 -16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 สหประชาชาติร่วมกับรัฐบาลประเทศสวีเดน ได้จัดการประชุมที่เรียกว่า "การประชุมสหประชาชาติเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์" (UN Conference on The Humen Environment) ที่กรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยใช้เวลาเตรียมการประชุมครั้งนี้ถึง 3 ปี เพื่อจัดทำร่างข้อเสนอต่างๆ รวมทั้งแผนดำเนินการและปฏิญญาว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ มีผู้เข้าร่วมประชุม 1,200 คน จาก 113 ประเทศ ผู้สังเกตุการณ์มากกว่า 1,500 คน จากหน่วยงานรัฐ องค์กรเอกชนและสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ รวมทั้งตัวแทนเยาวชนและกลุ่มนักศึกษาจากทั่วโลก

ผลการประชุมนับว่าประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เพราะเป็นครั้งแรกที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้หันหน้าเข้าหากันเพื่อร่วมขจัดภยันตรายด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลัง คุกคามของเรา

ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงจุดเริ่มต้นของการร่วมมือระหว่างชาติทั่วโลก จึงได้มีการกำหนดให้วันแรกของการประชุม คือ วันที่ 5 มิถุนายน เป็น "วันสิ่งแวดล้อมโลก" (World Environment Day)พร้อมทั้งได้จัดตั้ง "โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ" หรือเรียกย่อว่า "ยูเนป" (UNEP : United Nation Environment Programe) ขึ้น ซึ่งรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ก็ได้รับข้อตกลงจากการประชุมคราวนั้น และจัดตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน ซึ่งในปี 2547 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาติ ได้กำหนดหัวข้อการรณรงค์ เพื่อใช้ร่วมกันทั่วโลกว่า Wanted ! Sea and Oceans - Dead or Live ? "ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย"

ความเป็นมาของวันสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นในปี 2518 เป็นฉบับแรก เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พุทธศักราช 2518 ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติฯ ฉบับที่ 2 ปี พ.ศ.2521 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พ.ศ.2522 ต่อมาในสมัยรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้นใหม ่โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน2535 เรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ และกรมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช2535 เป็นพระราชบัญญัติที่มุ่งกระจายอำนาจของการวางแผนและปฏิบัติการการสิ่งแวด ล้อมลงสู่ท้องถิ่นและให้ความสำคัญในเรื่องของเรื่องของการติดตาม ตรวจสอบ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการควบคุมมลพิษ

ดังนั้น การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จึงถือเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน ที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

มีหน้าที่ติดตามและประเมินผลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านสิ่ง แวดล้อม รวมทั้งกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี โดยมีความห่วงใยในเรื่องของ ดิน น้ำ มลพิษทางอากาศ ในฐานะที่ทำหน้าที่กระตุ้นเพื่อให้มีการปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม และเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล จึงได้กำหนดวิธีการไว้ ดังนี้คือ

1.การสร้างความตื่นตัวในการเรียนรู้ เรื่องของสิ่งแวดล้อม และให้การศึกษากับประชาชนและนิสิตนักศึกษาทั่วไป

2.ให้การสนับสนุนทางวิชาการเผยแพร่ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อจะได้กระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี

3.ตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเสริมสร้างให้ สถาบันและคนในสถาบันตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป

นอกจากนี้แล้วผลจากการประชุมรัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้รับข้อตกลงจากการประชุมมาดำเนินการจัดตั้ง หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในประเทศของตน รวมทั้งประเทศไทย รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518 และก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็น 3 หน่วยงาน คือ

1.กรมควบคุมมลพิษ
2.กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3.สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

สถาบันการศึกษากับสิ่งแวดล้อม

ในส่วนของสถาบันการศึกษาก็ ได้มีการจัดสอนหลักสูตรด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น ในหลายๆ มหาวิทยาลัย ซึ่งนับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของการตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบทบาทของสื่อมวลชนก็ได้ทำหน้าที่ส่งเสริม และเกื้อหนุนให้เกิดความตื่นตัวและสนใจกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง มากขึ้น

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษยชาติมีความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมด้วยกันทั้งสิ้น เพราะทุกชีวิตต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิต มนุษย์ พืช สัตว์ ทุกชีวิตจำเป็นต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา รวมถึงสิ่งที่มนุษย์คิดค้นสร้างขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย และจาก พฤติกรรมของมนุษย์ ถ้าจำกัดอยู่เพียงเพื่อดำรงชีวิต ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันคงจะไม่เกิดขึ้น แต่เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติมีอย่างจำกัด และทิศทางการพัฒนาประเทศต่างๆทั่วโลกมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม จึงทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างมากมายเพื่อผลิตสินค้า การพัฒนาประเทศก็นำไปสู่การเกิดภาวะมลพิษในที่สุด ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้ส่งผลสะท้อนกลับมาคุกคามการดำรงชีวิตของมนุษย์เอง ในรูปของวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ถึงเวลาแล้วที่หมู่มวลมนุษยชาติควรจะมาร่วมรณรงค์และ ประหยัดทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ร่วมมือร่วมใจกันรักษาสภาพแวดล้อมให้ดีต่อไปในอนาคต เพื่อลูกหลานของเรา โดยที่เรามาช่วยกันเสริมสร้างปลูกจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างทัศนคติในการอนุรักษ์ทรัพยากรกลับมาใช้อย่างรู้คุณค่า เราทุกคนควรมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะและรักษาทรัพยากรสิ่งแวดล้อมให้สดใส สมบูรณ์สำหรับทุกคนในอนาคต

 

-------------------------------------------

รวมคำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก 

พ.ศ. 2528 (1985) เยาวชน ประชากร และสิ่งแวดล้อม Youth, Population and Environment

พ.ศ. 2529 (1986) ต้นไม้เพื่อสันติภาพ A Tree for Peace

พ.ศ. 2530 (1987) Public Participation, Environment Protection and Sustainable Development

พ.ศ. 2531(1988) การมีส่วนร่วมของประชาชน การปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน When people put the environment first, development will last

พ.ศ. 2532 (1989) ภาวะโลกร้อน Global Warming ; Global Warming

พ.ศ. 2533 (1990) เด็ก และสิ่งแวดล้อม Children and the Environment (Our Children, Their Earth)

พ.ศ. 2534 (1991) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change : Need for Global Partnership

พ.ศ. 2535 (1992) Only One Earth : Care and Share

พ.ศ. 2536 (1993) Poverty and the Environment : Breaking the Vicious Circle

พ.ศ. 2537 (1994) โลกใบเดียว ครอบครัวเดียวกัน One Earth, One Family

พ.ศ. 2538 (1995) ประชาชน เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมโลก We The Peoples, United for the Global Environment

พ.ศ. 2539 (1996) รักโลก : ดูแลถิ่นฐานบ้านเรา Our Earth, Our Habitat, Our Home

พ.ศ. 2540 (1997) เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนบนผืนโลก For Life one Earth

พ.ศ. 2541(1998) เศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีวิตยั่งยืน For Life on Earth "Save our Seas"

พ.ศ. 2542 (1999) รักโลก รักอนาคต รักษ์สิ่งแวดล้อม "Our Earth, Our Future...Just Save It"

พ.ศ. 2543 (2000) ปี 2000 สหัสวรรษแห่งชีวิตสิ่งแวดล้อม : ร่วมคิด ร่วมทำ เพื่อโลก เพื่อเรา 2000 The Environment Millennium : Time to Act

พ.ศ. 2544 (2001) เชื่อมโยงโลกกว้าง ร่วมสร้างสานสายใยชีวิต CONNECT with the World Wide Web of Life

พ.ศ. 2545 (2002) ให้โอกาสโลกฟื้น คืนความสดใสให้ชีวิต Give Earth a Chance

พ.ศ. 2546 (2003) รักษ์น้ำเพื่อสรรพชีวิต ก่อนวิกฤตจะมาเยือน Water - Two Billion People are Dying for it!

พ.ศ. 2547 (2004) "Wanted! Sea and Oceans - Dead or Live?" "ร่วมพิทักษ์ ร่วมรักษ์ทะเลไทย"

พ.ศ. 2548 (2005) เมืองเขียวสดใส ร่วมใจวางแผนเพื่อโลก GREEN CITIES PLAN FOR THE PLANET!

พ.ศ. 2549 (2006) เพิ่มความชุ่มชื้น คืนสู่ธรรมชาติ DON'T DESERT DRYLANDS!

พ.ศ. 2550 (2007) หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง MELTING ICE - A HOT TOPIC ?

พ.ศ. 2551 (2008) ลดวิกฤตโลกร้อน : เปลี่ยนพฤติกรรม ปรับแนวคิด สู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ Kick the Habit - Towards a low carbon economy

พ.ศ. 2552 (2009) คุณคือพลัง ช่วยหยุดยั้งภาวะโลกร้อน Your Planet Needs You - Unite to Combat Climate Change

 

พ.ศ. 2553 (2010) ความหลากหลายทางชีวภาพ กู้วิกฤติชีวิตโลก Many Species One Planet One Future

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook