แพทยศาสตร์ ม.บูรพา ตั้งเกณฑ์รับนิสิตแพทย์ ปี54

แพทยศาสตร์ ม.บูรพา ตั้งเกณฑ์รับนิสิตแพทย์ ปี54

แพทยศาสตร์ ม.บูรพา ตั้งเกณฑ์รับนิสิตแพทย์ ปี54
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คณะแพทยศาสตร์ ม.บูรพา ตั้งเกณฑ์รับนิสิตแพทย์ ปี54

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จะเปิดรับสมัครเพื่อคัดเลือกนิสิตแพทย์ ประเภทโควตาประจำปีการศึกษา 2554 จึงได้กำหนดเกณฑ์การพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันขึ้นกอ่นการเปิดรับสมัครจริง ๆ ดังนี้

คุณสมบัติทั่วไป
1. ผู้สมัคร หรือบิดา หรือมารดา มีที่อยู่ตามทะเบียนบ้านใน 9 จังหวัดดังต่อไปนี้ คือ สมุทรปราการ นครนายก ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี และสระแก้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปีต่อเนื่องกันในปัจจุบัน นับถึงวันสมัคร
คุณสมบัติทางการศึกษา
2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าของกระทรวงศึกษาธิการ หรือ
2.2 กำลังศึกษาอยู่และคาดว่าจะจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 4 (มัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6)
3. ไม่เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในมหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐในปีการศึกษา 2553 ตามโครงการพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ยืนยันสิทธิกับสถาบันที่คัดเลือกไว้เรียบร้อยแล้ว
4. ไม่เป็นผู้ที่กำลังศึกษาเกินชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาของรัฐที่เข้าร่วมระบบการคัดเลือกนักศึกษาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ยกเว้นได้ลาออกจากการศึกษาก่อนวันยื่นใบสมัคร (หากมีการลงทะเบียนในรายวิชาบังคับของชั้นปีที่สูงกว่าปีที่ 1 จะถือว่าศึกษาในชั้นปีที่เกินชั้นปีที่ 1)
5. จะต้องมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และปราศจากโรค อาการของโรค หรือความพิการอันเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย อันตรายต่อนิสิตแพทย์เอง อุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังต่อไปนี้
5.1 มีปัญหาทางจิตเวชขั้นรุนแรงอันอาจเป็นอันตรายต่อตนเอง และ/หรือผู้อื่น เช่น โรคจิต (Psychotic Disorders) โรคอารมณ์ผิดปกติ (Mood Disorders) โรคประสาทรุนแรง (Severe Neurotic Disorders) โรคบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorders) โดยเฉพาะ Antisocial Personality Disorders หรือ Borderline Personality Disorders รวมถึงปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
5.2 เป็นโรคติดต่อในระยะติดต่ออันตราย ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย หรือส่งผลให้เกิดความพิการอย่างถาวร อันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
5.3 เป็นโรคไม่ติดต่อหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา ที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง ต่อผู้ป่วย และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
5.4 มีความพิการทางร่างกายอันอาจเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
5.5 มีความผิดปกติในการเห็นภาพ โดยมีอย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
5.5.1 ตาบอดสีชนิดรุนแรงทั้งสองข้าง โดยได้รับการตรวจอย่างละเอียดแล้ว
5.5.2 ระดับการมองเห็นในตาข้างดี แย่กว่า 6/12 หรือ 20/40
5.6 มีความผิดปกติในการได้ยินทั้งสองข้าง โดยมีระดับการได้ยินเฉลี่ยที่ความถี่ 500 - 2,000 เฮิรตซ์ สูงกว่า 40 เดซิเบล และความสามารถในการแยกแยะคำพูด (speech discrimination score) น้อยกว่าร้อยละ 70 จากความผิดปกติของประสาทและเซลล์ประสาทการได้ยิน (sensorineural hearing loss)
5.7 โรคหรือความพิการอื่น ๆ ซึ่งมิได้ระบุไว้ที่คณะกรรมการแพทย์ผู้ตรวจร่างกายเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา การปฏิบัติงาน และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมทั้งนี้ อาจแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค หรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกรณี ตรวจเพิ่มเติมได้
6. เป็นผู้มีสัญชาติไทยและมีคุณสมบัติครบถ้วนที่จะรับราชการได้เมื่อจบการศึกษา ตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้สำหรับข้าราชการพลเรือน การรับราชการจะต้องเข้าระบบการใช้ทุนตามระเบียบของทางราชการ
7. ก่อนเข้าศึกษาต้องสามารถทำสัญญาผูกพันฝ่ายเดียวหรือสัญญาปลายเปิดตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2543 คือ เป็นสัญญาที่กำหนดหน้าที่ของผู้รับทุนที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาการจัดสรรฯ โดยต้องทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีติดต่อกันตามระเบียบและ เงื่อนไขของรัฐบาลกับมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้ผูกพันให้ส่วนราชการต้องบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ หรือเป็นพนักงานในหน่วยงานของรัฐ

 

 

ที่มา "การศึกษาวันนี้"

ผู้เขียน : ภรณ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook