ผัก-ผลไม้แก้หิว

ผัก-ผลไม้แก้หิว

ผัก-ผลไม้แก้หิว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร British Journal of Psychiatry เมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ผู้ที่กินของหวาน อาหารประเภททอด เนื้อสัตว์ผ่านการปรุง ธัญพืชขัดขาว และผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยไขมัน จะมีอาการซึมเศร้ามากกว่าผู้ที่จำกัดการกินอาหารประเภทดังกล่าว ซึ่งการศึกษานี้ได้มีการทดลองกับผู้หญิงและผู้ชายจำนวน 3,500คน เพราะฉะนั้น ทางเลือกที่ฉลาดสำหรับผู้ที่ต้องการมีสุขภาพดีก็คือ เลือกกินผักหรือผลไม้ในยามที่หิวแทนอาหารประเภทที่อุดมไปด้วยไขมันต่างๆ ข้างต้น ดร.Tasnime N. Akbaraly ผู้นำทางด้านการศึกษาในเรื่องนี้กล่าวว่า สารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในผักและผลไม้ รวมทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่อยู่ในปลา มีส่วนช่วยลดอัตราการเสี่ยงของการเป็นโรคซึมเศร้า เช่นเดียวกับโฟเลต วิตามินบีที่พบได้ในผักสีเขียวเข้ม อาทิ ผักโขม ถั่ว และผลไม้จำพวกส้ม หรือมะนาว เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสารสื่อประสาทที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ของคนทั้งสิ้น

แป้ง กินได้ไม่อ้วน
จากการศึกษาล่าสุดใน Archives of Internal Medicine พบว่า คนที่ไดเอตด้วยวิธีการกินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตให้ต่ำมากๆ (Low-Carb Diet) คือได้รับคาร์โบไฮเดรตต่อวันเพียง 20-40 กรัม หรือเทียบได้กับกินข้าวแค่ครึ่งถ้วยกับขนมปังอีกเพียงหนึ่งแผ่น จะก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า หวาดวิตก และก้าวร้าวมากกว่าคนที่ไดเอตแบบประเภทที่กินอาหารไขมันต่ำ (Low-Fat) แต่เน้นคาร์โบไฮเดรตสูง (High-Carb) อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันต่ำ ธัญพืชไม่ขัดขาว ผลไม้ และถั่ว นักวิจัยกล่าวว่า คาร์โบไฮเดรตอาจมีส่วนช่วยสร้างสารเซโรโธนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีโครงสร้างทางเคมี ที่ประมาณ 80-90% ของปริมาณเซโรโธนินจะพบใน Enterochromaffin Cells ที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร และอีก 10-20% จะถูกสังเคราะห์ในระบบประสาทส่วนกลางจากเซลล์ประสาท ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท มีบทบาทหลายหน้าที่ เช่น ช่วยในการควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ ทั้งนี้ สารเซโรโธนินยังพบในเห็ดและพืชผักผลไม้ต่างๆ อีกด้วย ดังนั้น ถ้าคนเราได้รับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่ไม่พอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันแล้ว ย่อมจะส่งผลกระทบกับอารมณ์ในเชิงลบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อารมณ์ดี เพราะช็อกโกแลต
การกินช็อกโกแลตวันละประมาณ 39.62 กรัม หรือ 1.4 ออนซ์ (1 ออนซ์ เท่ากับ 28.3 กรัม) ทุกวันเป็นเวลาสองอาทิตย์ จะช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติโซน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดลงได้ ทั้งนี้ ถ้าคนเราอยู่ในภาวะเครียด จะมีแนวโน้มสูงที่จะอ้วนขึ้น นั่นเป็นเพราะฮอร์โมนคอร์ติโซนจะไปทำให้อัตราเมตาบอลิซึ่มในร่างกายทำงานช้าลง จากการศึกษาของศูนย์วิจัยเนสท์เล่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ล่าสุดพบว่า ‘สารโพลีฟีนอล (Polyphenols) หรือแอนตี้ออกซิแดนซ์ (Antioxidants) ที่พบในช็อกโกแลต หรือแม้แต่ผักผลไม้จะมีส่วนที่ก่อให้เกิดความเครียดลดลง’ อย่างไรก็ตาม สาวๆ ก็ควรกินช็อกโกแลตในปริมาณที่พอดีในแต่ละวัน เนื่องจากช็อกโกแลตจะให้ปริมาณแคลอรีสูง ซึ่งสามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปในแต่ละวัน

update by supermoon

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook