สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (KMITL)

ก่อตั้ง: พ.ศ. 2528
ต้นไม้ประจำสถาบัน: ต้นแคแสด
สีประจำสถาบัน: สีแสด
จำนวนคณะ: 8 คณะ 1 วิทยาลัย
จำนวนนักศึกษา: ประมาณ 21,736 คน
อัตราค่าเล่าเรียน: เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 14,000-20,000 บาท
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์:
วิทยาเขตลาดกระบัง 3 หมู่ที่ 2 ถนนฉลองกรุง แขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง
กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2737 3000
- วิทยาเขตชุมพร 17/1 หมู่ที่ 6 ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
โทร. 0 7759 1445, 0 7750 6410
วิทยาเขตระยอง ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
เว็บไซต์: www.kmitl.ac.th


ประวัติ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นมหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2528 บนเนื้อที่กว่า 850 ไร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การศึกษา การค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง มีจุดเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2503 จาก ศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้ปรับฐานะเป็นวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ในปี 2570 หลังจากนั้นในปี 2514 ได้มีการก่อตั้ง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าขึ้น โดยมีวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรีเป็นวิทยาเขตนนทบุรี รวมกับอีก 2 วิทยาเขตคือ วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทลัยเทคนิคธนบุรี และในปีเดียวกันนี้ได้ย้ายมาอยู่ที่ลาดกระบัง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ต่อมาในปี 2515 วิทยาลัยโทรคมนาคมยกฐานะขึ้นมาเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ และยังมีวิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง โอนมาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และเปลี่ยนชื่อเป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และในปี 2520 ได้จัดตั้งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ขึ้น หลังจากนั้นหนึ่งปี วิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร เป็นอีกสถาบันหนึ่งที่ถูกโอนมาสังกัดสถาบันนี้ โดยเปลี่ยนชื่อเป็นคณะเทคโนโลยีการเกษตร

จนกระทั่งปี 2528 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ และมีชื่อเต็มว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลากกระบัง" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "พระจอมเกล้าลาดกระบัง"
นอกจากที่ลาดกระบังแล้ว ยังมีหน่วยงานระดับวิทยาเขตอีก 2 แห่งคือที่ วิทยาเขตชุมพร และวิทยาเขตระยอง อีกด้วย

สัญลักษณ์
ชื่อสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลากกระบัง ประกอบด้วยพระนาม "พระจอมเกล้า" ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมนามาภิไธยแห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญตรา "พระมหามงกุฏ" มาเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบัน ส่วนคำว่า "เจ้าคุณทหาร" นั้นมีไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ท่านเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วรบุนนาค) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "เจ้าคุณทหาร" ตามที่ท่านเลี่ยม พรตพิทยพยัต ทายาทของท่านได้แจ้งความประสงค์ไว้ในการบริจาคที่ดินที่เป็นที่ตั้งปัจจุบันของสถาบัน
ต้นไม้ประจำสถาบันได้แก่ "ต้นแคแสด" และสีประจำสถาบันคือ "สีแสด" ซึ่งเป็นสีประจำรัชกาลที่ 4

มีอะไรเรียนบ้าง
วิทยาเขตลาดกระบัง
1. คณะวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
วิศวกรรมโทรคมนาคม
วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมระบบควบคุม
วิศวกรรมการวัดคุม
วิศวกรรมโยธา
วิศวกรรมเกษตร
วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรมสารสนเทศ
วิศวกรรมอุตสาหการ
วิศวกรรมอาหาร
2. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมภายใน
ศิลปะอุตสาหกรรม
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต
นิเทศศิลป์
ภาพยนตร์และวิดีโอ
การถ่ายภาพ
จิตรกรรม
ประติมากรรม
ภาพพิมพ์
3. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
หลักสูตรครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต
ครุศาสตร์การออกแบบ (5 ปี)
ครุศาสตร์วิศวกรรม (5 ปี)
ครุศาสตร์สภาพแวดล้อมภายใน (5 ปี)
คอมพิวเตอร์ (ต่อเนื่อง)
เทคโนโลยีการเกษตร-การผลิตพืช (ต่อเนื่อง)
เทคโนโลยีการเกษตร-การผลิตสัตว์ (ต่อเนื่อง)
เทคโนโลยีการวัดคุมทางอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง)
วิศวกรรมโทรคมนาคม (ต่อเนื่อง)
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง)
ศิลปะอุตสาหกรรม (ต่อเนื่อง)
สถาปัตยกรรม (ต่อเนื่อง)
สถาปัตยกรรมภายใน (ต่อเนื่อง)
อุตสาหกรรมเกษตร (ต่อเนื่อง)
หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต
ภาษาญี่ปุ่น
ภาษาอังกฤษ
4. คณะเทคโนโลยีการเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
การจัดการสิ่งแวดล้อมพืชสวน
การจัดการทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีการจัดการ
เทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช
นิเทศศาสตร์เกษตร (ต่อเนื่อง)
บริหารธุรกิจเกษตร
ปฐพีวิทยา
พัฒนาการเกษตร (ปกติ และต่อเนื่อง)
พืชไร่ (เทคโนโลยีการผลิตพืช)
พืชสวน
วิทยาศาสตร์การประมง
สัตวศาสตร์
บริหารธุรกิจและการจัดการทรัพยากร
5. คณะวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
คณิตศาสตร์
เคมีสิ่งแวดล้อม
เคมีอุตสาหกรรม
เคมีอุตสาหกรรม เครื่องมือวิเคราะห์
จุลชีววิทยาอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีชีวภาพ
ฟิสิกส์ประยุกต์
วิทยาการคอมพิวเตอร์ (ปกติ และนานาชาติ)
สถิติประยุกต์
เทคโนโลยีปิโตรเคมี (นานาชาติ)
6. คณะอุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เทคโนโลยีการหมัก
วิศวกรรมแปรรูปอาหาร
อุตสาหกรรมเกษตร
7. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
หลัสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต
เทคโนโลยรสารสนเทศ
8. บัณฑิตวิทยาลัย
9. วิทยาลัยนานาชาติ
Bachelor or Engineering in Software Engineering

วิทยาเขตชุมพร
1. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต
วิศวกรรมเกษตร
วิศวกรรมเครื่องกล
วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2. สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
พืชสวน
เทคโนโลยีการผลิตพืช
สัตวศาสตร์
เทคโนโลยีการผลิตสัตว์
วิทยาศาสตร์การประมง
3. สำนักวิชาวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- เทคโนโลยีชีวภาพ


ค่าใช้จ่าย
นักศึกษาปริญญาตรีต้องจ่ายธรรมเนียมการศึกษาด้วยระบบเหมาจ่ายดังนี้คือ ในภาคการศึกษาปกติ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ภาคการศึกษาละ 14,000 บาท ยกเว้นสาขาวิชาบริหารธุรกิจ และสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ ที่เหมาจ่ายภาคละ 15,000 บาท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และครุศาสตร์อุตสาหกรรม ภาคละ 16,000 บาท คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ภาคละ 17,000 บาท คณะวิทยาศาสตร์ ภาคละ 19,000 บาท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคละ 20,000 บาท ส่วนภาคฤดูร้อนทุกคณะเหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 3,000 บาท และหลักสูตรนานาชาติ ภาคละ 67,000 บาท และ 15,000 บาทสำหรับภาคฤดูร้อน


สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน
- หอสมุดกลาง นักศึกษาจะต้องสมัครเป็นสมาชิกห้องสมุดโดยยื่นในสมัคร พร้อมในเสร็จการลงทะเบียน แต่ทั้งนี้แต่ละคณะก็มีห้องสมุดของตัวเองเพิ่มด้วย ที่หอสมุดกลาง จะให้บริการยืม-คืน และสืบค้นหนังสือ สิ่งตีพิมพ์อื่นๆ โสดทัศนศึกษา บริการจองหนังสือ บริการหนังสือสำรอง บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการข่าวสารทันสมัย บริการนำชมห้องสมุด เป็นต้น
- ศูนย์คอมพิวเตอร์ ให้บริการ User Account, IP Address, E-mail Address และ Wireless Lan ตลอดจนให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ 24 ชม. การใช้เครื่องพล็อตเตอร์ การพิมพ์เอกสาร การซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ การให้พื้นที่สำหรับทำเว็บไซต์ หรือแม้กระทั่งให้บริการถ่ายทอดสดผ่านอินเทอร์เน็ต
- ศูนย์สารนิเทศนักศึกษา มีไว้รองรับนักศึกษาที่มีความสนใจในการเขียนข่าว ถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ ทำโปรโมเตอร์แนะนำสถาบัน เขียนสคริปต์ และงานมัลติมีเดียอื่นๆ ได้ทดลองปฏิบัติงานจริง
- ศูนย์กีฬาพระจอมเกล้า มีสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน พร้อมอัฒจันทร์ขนาดใหญ่ ลู่วิ่งยางสังเคราะห์ ลู่กระโดดไกล สนามตะกร้อ 2 สนาม สนามเทนนิส สนามรักบี้ฟุตบอล สนามเปตอง สระว่ายน้ำสมเด็จพระเทพฯ นอกจากนี้ยังมีอาคารยิมเนเซียม 1-2 ที่ประกอบด้วย สนามวอลเลย์บอล สนามบาสเกตบอล สนามแบดมินตัน และโต๊ะปิงปอง
- โรงอาหาร แต่ละคณะจะมีโรงอาหารของตัวเอง 1-2 โรงขึ้นไป แต่โรงอาหารวิศวะ จะได้รับความนิยมมาก และที่หรูขึ้นมาอีกหน่อยก็คือ โรงอาหารติดแอร์ของคณะวิทยาศาสตร์ ชื่อโรงอาหารชงโค
- หน่วยอนามัย จัดขึ้นเพื่อดูแล ป้องกัน รักษา และแนะนำนักศึกษาเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองและชุมชน และเป็นหน่วยงานที่นักศึกษาได้มีโอกาสมาใช้ในยามเจ็บป่วย
- หอพักนักศึกษา ทางสถาบันฯ ได้จัดให้มีหอพักสำหรับนักศึกษา แต่เนื่องจากมีห้องพักไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องคัดเลือก โดยจะรับนักศึกษาทุกชั้นปีที่มาจากต่างจังหวัด นักศึกษาเอนทรานซ์ และนักศึกษาโควตา ที่มีฐานะยากจน สภาพร่างกายพิการ หรือมีโรคประจำตัว แบ่งเป็น หอพักชาย 2 อาคารๆ ละ 25 ห้องๆ ละ 4 คน รับนักศึกษาได้ 200 คน และหอพักหญิง 4 อาคารๆ ละ 77 ห้องๆ ละ 2-3 คน รับนักศึกษาได้ 600 คน
นอกจากหอพักภายในสถาบันแล้ว ยังมีหอพักเครือข่าย สจล. ซึ่งเป็นหอพักเอกชนแต่อยู่ในความดูแลของสถาบัน หอพักเครือข่ายนี้มีอยู่หลายแห่ง ได้แก่ บริเวณซอยเกกีงาม 1-3 บริเวณถนนฉลองกรุง บริเวณถนนไปรษณีย์ และบริเวณถนนลาดกระบัง-อ่อนนุช

ทุนการศึกษา
มีทุนการศึกษาทั้งของสถาบันและหน่วยงานภายนอก ได้แก่ ทุนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ทุนยกเว้นค่าหน่วยกิต และทุนแบบให้เปล่า นักศึกษาที่ประสงค์จะขอทุนสามารถสอบถามได้ที่กองกิจการนักศึกษา หรืองานกิจกรรมนักศึกษาของทุกคณะ

ชีวิตนักศึกษา
นับว่าเป็นสถานที่เรียนที่ไกลจากจุดศูนย์กลางของเมืองพอควร การเดินทางมาเรียนที่วิทยาเขตลาดกระบังสามารถทำได้ดังนี้
1. ทางรถไฟ โดยรถไฟสายตะวันออก ลงที่สถานีพระจอมเกล้า ตารางเวลาการเดินรถไฟ สอบถามได้ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) และสถานีตามเส้นทาง
2. ทางรถโดยสารประจำทางสาย ปอ. 517, ปอ. 1013, ปอพ. 23, 517, 143, 151, 1013
3. รถตู้โดยสารประจำทาง บางกะปิ-มีนบุรี-หัวตะเข้, บางกะปิ-พัฒนาการ-อ่อนนุช-หัวตะเข้, มีนบุรี-หัวตะเข้, หมอชิต 2-หัวตะเข้ (ทางด่วน, ฟิวเจอร์รังสิต-หัวตะเข้ (ทางด่วนวงแหวน)
ส่วนการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยนั้น นักศึกษามักใช้จักรยานเป็นพาหนะคู่ชีพ
นักศึกษาที่นี่บางคนทั้งๆ ที่เรียนสายวิทย์ ก็ยังใช้วิธีการบนเป็นกำลังใจเวลาสอบ โดยส่วนมากจะบนที่พระบรมรูปพระจอมเกล้า หรือที่รู้จักกันในหมู่นักศึกษาว่า "ลานพระจอม" ซึ่งเป็นลานกว้างรอบพระรูป กว้างประมาณ 5 เมตร ส่วนการแก้บนก็คือการวิ่ง ซึ่งนิยมวิ่งไปซีคอน หรือหากเรื่องที่ขอไว้เป็นเรื่องใหญ่ก็อาจต้องวิ่งไปสยาม
สังคมลาดกระบังเป็นแบบพี่น้อง บางครั้งคนภายนอกมักมองเด็กลาดกระบังเป็นแบบเฮฮา มีชื่อเสียงทางด้านสันทนาการมากๆ แต่จริงๆ แล้วพี่ๆ มักจะมีการจัดติวให้น้องๆ ปี 1 เพื่อช่วยในการเรียน และนักศึกษาที่ต้องการข้อมูลเพิ่ทเติมเกี่ยวกับการเรียนหรือเรื่องอะไรก็ตาม ก็สามารถเข้าไปสอบถามรุ่นพี่ใน web board ของแต่ละคณะได้เลย และเนื่องจากนักศึกษาเยอะมาก ทางรุ่นพี่จึงจัดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะ เช่น งานแรกพบ เป็นสันทนาการของแต่ละคณะมารับน้องร่วมกัน พาน้องทัศนศึกษาแต่ละคณะ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook