มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (มจ.)

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (มจ.)

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (มจ.)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Maejo University (MJU)

ก่อตั้ง: พ.ศ. 2539
ต้นไม่ประจำสถาบัน: ต้นอินทนิล
สีประจำสถาบัน: สีเขียว-ขาว-เหลือง
จำนวนคณะ: 11 คณะ 1 วิทยาลัย
จำนวนนักศึกษา: ประมาณ 13,140 คน
อัตราค่าเล่าเรียน: หน่วยกิตละ 100-200 บาท
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์:
วิทยาเขตเชียงใหม่ ถนนเชียงใหม่-พร้าว ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย
จังหวัดเชียวใหม่ โทร. 0 5387 3000
วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ 17 หมู่ 3 ตำบลแม่ทราย อำเภอร้อยกวาง จังหวัดแพร่
โทร. 0 5464 8593
วิทยาเขตชุมพร 99 หมู่ 5 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
โทร. 0 7754 9238
เว็บไซต์: www.mju.ac.th, www.phrae.mju.ac.th (แพร่),
www.chumphon.mju.ac.th (ชุมพร)


ประวัติ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยหลักและเก่าแก่แห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ โดยมีจุดกำเนิดมาจาก "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง" ซึ่งจัดตั้งโดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในปี พ.ศ. 2460 โดยตั้งอยู่ที่บริเวณหอวัง หรือบ้านสวนหลวงสระประทุม (บริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบัน) โรงเรียนแห่งนี้ต่อมาเป็นรากฐานความคิดและกิจกรรมของรัฐด้านให้การศึกษาแผนใหม่ทางการเกษตร

ต่อมาในปี พ.ศ. 2477 กระทรวงธรรมการได้จัดตั้ง "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ" ขึ้นโดยมีพระช่วงเกษตรศิลปะการ ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ใหญ่ และในปี 2479 กระทรวงธรรมการได้จัดตั้ง "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือ" ขึ้นในพื้นที่บริเวณเดียวกัน

ปี 2481 กระทรวงธรรมการได้ยุบโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคใต้ ที่สงขลา โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคกลาง ที่บางกอกน้อย และโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคอีสาน ที่นครราชสีมา และโอนกิจการโรงเรียนเหล่านั้นทั้งหมดมารวมกันที่โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือที่แม่โจ้เพียงแห่งเดียว ในปีเดียวกันนี้ โรงเรียนได้ย้ายไปอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรตราธิการ และเปลี่ยนสถานะมาเป็น "วิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้"

หลังจากที่ ม.เกษตร บางเขน ได้จัดตั้งขึ้นในปี 2482 วิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ได้เปลี่ยนเป็น "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ในอีก 4 ปีหลังจากนั้น และก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาและเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเกษตรศาสตร์แม่โจ้" ในปี 2491 และยกฐานะเป็น "วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่" ในปี 2499 ก่อนที่จะได้รับการสถาปนาเป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร" ในปี 2518 จนกระทั่ง พ.ศ. 2525 สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้" สุดท้ายก็ได้รับการจัดตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแม่โจ้" เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539

มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันผลิตบัณฑิตสาขาวิชาเกษตรที่มีชื่อเสียงมาโดยตลอด และเพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานที่หลากหลายในยุคนี้ ม.แม่โจ้จึงได้ขยายการเรียนการสอนออกไปอีกหลายแขนงที่นอกเหนือจากการเกษตร โดยนอกจากที่เชียงใหม่แล้ว ม.แม่โจ้ยังได้ขยายการเรียนการสอนออกไปอีก 2 วิทยาเขตคือ วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ และวิทยาเขตชุมพร

สัญลักษณ์
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย คือ "พระพิรุณทรงนาค" เช่นเดียวกับของ ม.เกษตรศาสตร์ แต่จะต่างกันตรง พ.ศ.ด้านล่าง คือของแม่โจ้จะเป็น พ.ศ. 2477
ต้นไม้ประจำสถาบันคือ "อินทนิล" เป็นพรรณไม้ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและเจริญเติบโตในทุกภาคของประเทศไทย มีความหมายถึงความรุ่งเรือง อายุยืนนาน มีฉายาว่าเป็น "ราชินีดอกไม้" คณะกรรมการมหาวิทยาลัยได้ลงมติเลือกอินทนิลเป็นไม้ประจำสถานบันเพราะ มีนามเป็นมงคล และช่อดอกเกาะกันเป็นกลุ่มแน่น สีสวยสด แทนความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งน้ำใจเดียวกัน แทนความผูกพันอยู่กับมหาวิทยาลัยของศิษย์เก่าตลอดเวลาที่ออกไปประกอบอาชีพอยู่ทุกหนทุกแห่ง อีกทั้งต้น เปลือก และใบ ใช้เป็นยาสมันไพรได้ ดุจคุณค่าของบรรดาลูกแม่โจ้ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติ

มีอะไรเรียนบ้าง
วิทยาเขตเชียงใหม่

1. คณะวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
คณิตศาสตร์
เคมี
เทคโนโลยีสารสนเทศ
วิทยาการคอมพิวเตอร์
สถิติ
เทคโนโลยีชีวภาพ
วัสดุศาสตร์
2. คณะผลิตกรรมการเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
อารักขาพืช
ปฐพีศาสตร์
สัตวศาสตร์
เกษตรศาสตร์ (พืชไร่)
พืชศาสตร์ (พืชสวน)
เกษตรเคมี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
(2 ปีเทียบเข้าเรียน)
- สัตว์ศาสตร์ (สัตว์ปีก, โคนม-โคเนื้อ, การผลิตสุกร)
- เกษตรศาสตร์ (พืชไร่)
- พืชศาสตร์ (พืชสวนประดับ, พืชผัก, ไม้ผล)
- ส่งเสริมการเกษตร
3. คณะวิศวะกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
วิทยาศาสตร์และเทคโนโยลีการอาหาร
วัสดุศาสตร์ (อุตสาหกรรมยาง)
วิศวกรรมเกษตร
วิศวกรรมอาหาร
เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
4.คณะพัฒนาการท่องเที่ยว
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
พัฒนาการท่องเที่ยว
5. คณะเศรษฐศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
เศรษฐศาสตร์สหกรณ์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม
เศรษฐศาสตร์เกษตร
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
เศรษฐศาสตร์
6. คณะบริหารธุรกิจ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
การบัญชี
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
การเงิน
บริหารธุรกิจ
เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
การจัดการทั่วไป
การตลาด
เทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ
7. คณะศิลปศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
นิเทศศาสตร์บูรณาการ
ภาษาอังกฤษ
8. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
การประมง
9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
หลักสูตรเทคโนโลยีภูมิทัศนบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
เทคโนโลยีภูมิทัศน์
หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
ภูมิสถาปัตยกรรม
2.คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
3.บัณฑิตวิทยาลัย

วิทยาเขตแพร่ เฉลิมพระเกียรติ/ชุมพร/วิทยาลัย
บริหารศาสตร์
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
(ปกติ และ 2 ปีเทียบเข้าเรียน)
การจัดการชุมชน
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
เทคโนโลยีการผลิตสัตว์
เทคโนโลยีการผลิตพืช
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
(2 ปีเทียบเข้าเรียน)
- เทคโนโลยีการผลิตสัตว์
เกษตรป่าไม้

ค่าใช้จ่าย
ปกติหน่วยกิตละ 100 บาท และหากเป็นวิชาปฏิบัติจะอยู่ที่ 200 บาท นอกนั้นก็เป็นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 700 บาทต่อเทอม ค่าบำรุงกิจกรรมนักศึกษา 300 บาทต่อเทอม และค่าประกันของเสียหาย 400 บาท

สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน
- สำนักหอสมุด มีระบบห้องสมุดออนไลน์ สามารถหาหนังสือได้ทางอินเทอร์เน็ต และยังมีห้องสมุดดิจิตัลที่ให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิดส์ด้วย
- ศูนย์คอมพิวเตอร์กลาง มีห้องคอมพิวเตอร์ 2 ห้อง และมีจุดบริการคอมพิวเตอร์กระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ เช่น ชั้นบนของโรงอาหาร ด้านล่างหอพัก ห้องสมุด และตามคณะต่างๆ แม่โจ้จะใช้อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแม่ข่าย ทำให้บางครั้งอินเทอร์เน็ตของที่นี่จะค่อนข้างช้า
- คาวบอยมาร์เก็ต เป็นศุนย์ที่ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก และได้ทดลองปฏิบัติงานจริงเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดี นักศึกษาสามารถนำผลผลิตการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร และสินค้า OTOP มาจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปได้ ดูรายละเอียดได้ที่ www.cowboymarket.mju.ac.th
- มีห้องฟิตเนส และนักศึกษาจะนิยมเล่นกีฬา บาสเก็ตบอล เทนนิส ซึ่งที่มหาวิทยาลัยจะมีคอร์ทเทนนิส 2 คอร์ท บางคนก็นิยมจ๊อกกิ้ง
- ร้านถ่ายเอกสาร มีตามจุดต่างๆ แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับนักศึกษา
- โรงอาหาร มีตามจุดต่างๆ ทั่วมหาวิทยาลัย แต่ที่ได้รับความนิยมจะเป็นโรงอาหารหลักชื่อ โรงอาหารเทิดกสิกิจ แล้วก็ยังมีโรงอาหารที่อยู่ตามสโมสรอีกด้วย
- วิทยุเพื่อการศึกษา ม.แม่โจ้ FM 95.50 MHz "เสียงจากแม่โจ้" ใช้เป็นสื่อการศึกษาทั้งในและนอกระบบของสถาบัน นอกจากนี้ยังใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์ข่าวของมหาวิทยาลัยด้วย
- หอพักนักศึกษา นักศึกษาปี 1 ต้องอยู่หอพักภายใน 1 ห้อง จะนอนได้ 4 คน มีห้องน้ำรวม บรรยากาศเหมือนโรงเรียนประจำ ราคาคนละ 1,200-4,800 บาทต่อภาคเรียน ปัจจุบันมีหอพักจำนวน 9 อาคาร รองรับนักศึกษาได้ 2,492 คน มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก นักศึกษาสามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานได้กรณีศึกษาอยู่ในสาชาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้น

ทุนการศึกษา
มหาวิทยาลัยมีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นของรัฐบาล และทุนการศึกษาทั่วไป ซึ่งเป็นทุนที่บุคคล องค์กรเอกชน พิจารณามอบให้มหาวิทยาลัยนำมาจัดสรรให้กับนักศึกษา ภายใต้เงื่อนไขที่เจ้าของทุนนั้นกำหนด

ชีวิตนักศึกษา
บรรยากาศของมหาวิทยาลัยร่มรื่นมาก ต้นไม้เยอะ สงบเงียบ อากาศดี รอบมหาวิทยาลัยจะไม่มีสถานเริงรมย์อะไร ดังนั้นนักศึกษาที่นี่จะได้เห็นธรรมชาติที่หาดูได้ยากมากในปัจจุบัน ตัวมหาวิทยาลัยมีประตูเข้าออกทั้งหมด 5 ประตู แต่จะติดถนนเพียง 2 ด้าน ประตูใหญ่จะเป็นประตูหลักสำหรับเข้าออก ตรงข้ามประตูนี้มีร้านเซเว่นให้บริหารอยู่ นอกจากนั้นยังมีประตูบางเขน ซึ่งอยู่ด้านข้างใกล้กับหอพัก ทำให้เป็นประตูที่นักศึกษาที่พักอยู่ในหอบริเวณนั้นนิยมใช้เข้าออก และเนื่องจากสมัยก่อนมหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นวิทยาลัยอาชีวะ นักศึกษาที่จะเรียนต่อริญญาตรีก็ต้องออกไปหาเรียนที่มหาวิทยาลัยอื่นต่ออีก 2 ปี ซึ่งมหาวิทยาลัยที่นิยมมากคือ เกษตรศษสตร์ ดังนั้นจึงมีความเชื่อว่าถ้าใครได้เดินผ่านประตูบางเขนนี้ก็จะได้ไปเรียนต่อที่เกษตรศาสตร์ได้สำเร็จด้วย นอกจากนั้นก็จะมีประตูตรงศาลเจ้าแม่ อยู่ด้านหน้า ตรงกันข้ามจะเรียกว่าโซนเหลือง ซึ่งเป็นแหล่งขายอาหารด้านนอก

ยานพาหนะที่เป็นที่นิยมในหมู่นักศึกษาคือเวสป้า ถึงขนาดมีชมรมเวสป้าด้วย หรือหากขับรถก็นิยมรถเก่า เช่น ฮอนด้ารุ่นเก่า หรือโฟล์ครุ่นเก่า แต่หากใครไม่มีรถ หรือเวสป้า หรือมอเตอร์ไซค์ ก็สามารถใช้บริการรถเมล์เขียวสายแม่แฝก สายใหม่ ขึ้นได้ในตัวมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเร็วๆ นี้นักศึกษาของ ม. แม่โจ้ ได้เป็นผู้นำเทรนด์การเดินทางแบบใหม่เพื่อให้เข้ากับยุคน้ำมันแพง นั่นก็คือ การขี่ม้ามาเรียน แถมทางมหาวิทยาลัยยังจัดตั้งชมรมขี่ม้าให้อีกต่างหากด้วย
ยามว่างนักศึกษาสามารถทำงานนอกเวลาภายในมหาวิทยาลัยได้โดยอาจเป็นนักศึกษาฝึกงาน หากไม่อยากทำงาน บางคนก็เข้าห้องสมุด และบางคนที่มีฐานะหน่อยก็จะเปิดธุรกิจทำร้านอาหารอยู่บริเวณรอบนอกมหาวิทยาลัยด้วย หรือถ้าไม่รู้จะทำอะไรดี หลายคนก็เลือกที่จะเดินเล่นกันที่ เซ็นทรัลกาดสวนแก้ว เซ็นทรัลแอร์พอร์ตกาดหลวง และตลาดวโรรส (ซึ่งบรรยากาศจะคล้ายกับโบ๊เบ๊ของกรุงเทพฯ อยู่ห่างจากตัวมหาวิทยาลัยประมาณ 10 กม.)

กิจกรรมนักศึกษาที่เด่น ได้แก่ งานรับน้อง งานยี่เป็ง งานลอยกระทง งานวันเกษตรสลับกับงานวันกล้วยไม้ปีเว้นปี และงานกีฬาแม่โจ้สัมพันธ์ ส่วนสถานที่ที่เป็นที่สักการบูชา ไม่ว่าใครจะบนเรื่องอะไร โดยเฉพาะนักศึกษาปีสุดท้ายแทบทุกคนต้องเคยมาบนที่ "ศาลเจ้าแม่โจ้" เพื่อขอให้จบการศึกษา มักแก้บนโดยใช้ดอกไม้สีขาว และนอกจากนี้ก็ยังมีสถานที่เคารพอื่นๆ ได้แก่ "องค์พ่อพิรุณ" และอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญของแม่โจ้ในอดีตอย่างอนุสาวรีย์พระช่วงเกษตรศิลปะการ หรือ อนุสาวรีย์ ศ.ดร. วิภาต บุญศรี วังซ้าย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook