มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Rattana Bundit University (RBAC)

ก่อตั้ง : พ.ศ. 2546
ต้นไม้ประจำสถาบัน : -
สีประจำสถาบัน : สีน้ำเงินกรมท่า-ทอง
จำนวนคณะ : 5 คณะ
จำนวนนักศึกษา : ประมาณ 10,504 คน
อัตราค่าเล่าเรียน : หน่วยกิตละ 900-1,100 บาท
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ : 306 ซอยลาดพร้าว 107 ถนนลาดพร้าว แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2375 4480-6
เว็บไซต์ : www.rbac.ac.th

ประวัติ

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถือกำเนิดขึ้นภายใต้ความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของ อาจารย์ ประชุม รัตนเพียร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอาจารย์ วิจิตรา รัตนเพียร ที่ต้องการจะพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้กอปรด้วยความรู้ความสามารถในอันที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป
ท่านอาจารย์ทั้งสองได้เริ่มก่อตั้งโรงเรียนดุสิตพณิชยการ ในปี พ.ศ.2505 ในย่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โรงเรียนพณิชยการสีลม ในปี พ.ศ. 2508 บนถนนสีลม โรงเรียนรัตนพณิชยการ ในปี พ.ศ. 2523 ที่ถนนลาดพร้าว ซอย 104 โรงเรียนนันทนวรวิทย์ ในปี พ.ศ. 2532 และโรงเรียนดุสิตพณิชยการนนทบุรี ในปี พ.ศ. 2537
ต่อมาในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ก็ได้รับอนุญาตจัดตั้ง "วิทยาลัยรัตนบัณฑิต" จากทบวงมหาวิทยาลัย และเปลี่ยนเป็น "มหาวิทยาลัยรัจนบัณฑิต วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2546 โดยรวมกิจการเข้ากับวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ส่งผลให้มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นในการจัดการศึกษาให้ได้ระดับมาตรฐานสากล และเป็นความภาคภูมิใจของผู้ก่อตั้ง ผู้บริหาร และคณาจารย์ อย่างสูงสุดในการที่มีโอกาสจัดการศึกษาอย่างครบถ้วนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับอุดมศึกษา

สัญลักษณ์

"สัญลักษณ์รูปโล่" เป็นภาพสะท้อนปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยอันเป็นพื้นฐานของความคิดอุดมศึกษาในปัจจุบัน ส่วนล่างด้านขวาภายในโล่เป็น "รูปหนังสือ" หมายถึง การสอน การให้ความรู้สาขาต่างๆแก่นิสิตเพื่อพัฒนาตนเองสู่ความเป็นเลิศ ส่วนล่างด้านซ้ายเป็น "รูปตะเกียง" หมายถึง การจุดประกายส่องสว่างในการให้บริการแก่สังคม ส่วนบนด้านขวาเป็น "รูปเรือสำเภา" หมายถึง การวิจัยอันจะนำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ และส่วนบนด้านซ้ายเป็น "รูปต้นไม้" หมายถึง ความเจริญงอกงามที่ยั่งยืนทั้งตัวบัณฑิต สถาบัน และสังคม ที่จะอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข ซึ่งทั้งหมดนี้แทนความหมายของภารกิจ 4 ส่วนของมหาวิทยาลัย ทั้งในด้านการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ

มีอะไรเรียนบ้าง

1. คณะบริหารธุรกิจ
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
- การตลาด (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
-การบัญชี (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- การเงินและการธนาคาร ( ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- การจัดการ (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- การจัดการการโรงแรมและการท่องเที่ยว
- ธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)

2. คณะศิลปะศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- ภาษาอังกฤษธุรกิจ

3. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- วิทยาการคอมพิวเตอร์
- เทคโนโลยีสารสนเทศ
- สถิติประยุกต์

4. คณะนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสรบัณฑิต
- นิติศาสตร์

5. คณะนิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
- การประชาสัมพันธ์

ค่าใช้จ่าย

วิชาบรรยายหน่วยกิตละ 900 บาท วิชาปฏิบัติหน่วยกิตละ 1,100 บาท ค่าใช้จ่ายโดยประมาณอยู่ที่ภาคการศึกษาละ 23,000 บาท

สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน

* หอสมุดกลาง หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่าสำนักบรรณาสารวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่เน้นในการศึกษาค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยนำเอาระบบ IT (Information Technology) มาใช้เพื่อสืบค้นข้อมูล ปัจจุบันสำนักบรรณสารตั้งอยู่ที่ตึก G
* ศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือ e-Center มีคอมพิวเตอร์ 400 เครื่อง สามารถใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ และยังมีบริการห้อง Digital Lab ซึ่งนักศึกษาสามารถเข้าไปใช้บริการดูภาพยนตร์ ฟังเพลง เป็นห้องพักผ่อนไปด้วยในตัว และนักศึกษายังสามารถใช้บริการที่ตึก D ได้ด้วยที่ชั้น 1 และ 2
* ศูนย์ภาษา ตั้งอยู่ที่ห้อง F102 มีหน้าที่ให้บริการวิชาการทางภาษาต่างประเทศแก่นักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย รวมถึงบุคคลทั่วไป
* RBAC Hotspot สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษาได้เปิดให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สายเพื่อให้บริการแก่นักศึกษาและบุคลการของมหาวิทยาลัย
* คลินิกของมหาวิทยาลัยในเครือของโรงพยาบาลเวชธานี ซึ่งเป็นศูนย์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
* มีลานอเนกประสงค์ โรงยิม และสปอร์ตอารีน่า สำหรับเล่นกีฬา เช่น บาสเกตบอล ตะกร้อ วอลเล่ย์บอล
* มีโรงอาหารภายใน ซึ่งมีร้านประมาณ 10 ร้าน
* หอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิตแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. หอพักใน RBAC Place ตั้งอยู่ที่ ซ.ลาดพร้าว 107 เป็นหอพักนิสิตหญิง 12 ตึก มีห้องพักทั้งหมด 1,140 ห้อง รับนิสิตได้ 4,356 คน
2. หอพักนอก ซึ่งมหาวิทยาลัยไปเช่าอาคารที่พักจากเอกชนเพื่อให้นิสิตพักอาศัยมี 4 แห่ง โดยแยกออกเป็นหอชาย 3 แห่ง หญิง 1 แห่ง ได้แก่ หอพักที่ 9 และ 11 เป็นหอชาย ตั้งอยู่ที่ ซ.ลาดพร้าว 101 รับนิสิตได้ 408 คน หอพักที่ 16 เป็นหอชาย ตั้งอยู่ที่ ซ. จิตต์ภักดี ถ.นวมินทร์ คลองกุ่ม รับนิสิตได้ 968 คน และหอพักที่ 15 เป็นหอพักหญิง ตั้งอยู่ที่ ซ. สินธนา ถ.นวมินทร์ คลองกุ่ม รับนิสิตได้ 804 คน

ทุนการศึกษา

มีทุนการศึกษาทั้งของภายในและจากภายนิกมหาวิทยาลัย

ชีวิตนักศึกษา

หากไม่มีเรียน นักศึกษานิยมไปเดินเที่ยวที่โลตัสบางกะปิ และเดอะมอลล์บางกะปิ โดยส่วนใหญ่ มักจะออกทางด้านประตูหลังมหาวิทยาลัย เพราะเป็นทางลัดออกบริเวณแฮปปี้แลนด์ ขึ้นรถเมล์บริเวณนั้น 5 นาทีก็ถึงทางออกถนนลาดพร้าว
"พ่อปู่ขาว" เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัย เป็นธรรมเนียมว่าพ่อปู่ขาวจะทานผลไม้กับน้ำแดงเท่านั้น ไม่ทานเนื้อสัตว์

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook