มหาวิทยาลัยสยาม (มส.)

มหาวิทยาลัยสยาม (มส.)

มหาวิทยาลัยสยาม (มส.)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Siam University (SU)

ก่อตั้ง : พ.ศ. 2526
ต้นไม้ประจำสถาบัน : ต้นหูกวาง
สีประจำสถาบัน : สีเหลือง-น้ำตาล
จำนวนคณะ : 9 คณะ 1 วิทยาลัย
จำนวนนักศึกษา : ประมาณ 12,075 คน
อัตราค่าเล่าเรียน : หน่วยกิตละ 900-1,500 บาท
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ : 235 ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
โทร 0 2457 0068ม 0 2868 6000
เว็บไซต์ : www.siam.ac.th

ประวัติ
มหาวิทยาลัยสยาม เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน 1 ใน 5 สถาบันแรกของประเทศไทย ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยอาจารย์ ดร. ณรงค์ มงคลวนิช มีชื่อเดิมว่า "วิทยาลัยเทคนิคสยาม" ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น "มหาวิทยาลัยเทคนิคสยาม" ในปี พ.ศ. 2526 และต่อมาได้ใช้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยสยาม"
มหาวิทยาลัยสยามก่อตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการของชาติในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อผลิตทรัพยากรบุคคลที่เพียบพร้อมด้วยความเป็นเลิศทางวิชาการ มีทักษะชั้นสูงในการประกอบอาชีพ และกอปรไปด้วยจริยธรรม ปรัชญาประจำสถาบัน คือ "ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน" (Wisdom is an invaluable asset of mankind) ซึ่งก็หมายความว่า ปัญญาเป็นทรัพย์สินที่หาค่ามิได้ของมวลชน

มหาวิทยาลัยสยามยังได้รับการรับรองให้เป็นภาคีของสมาคมวิทยาลัยนานาชาติ (International Association of Universities IAU) สมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศ (International Association of University Presidents) ซึ่งอธิการบดีได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการบริหารสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน และมหาวิทยาลัยยังได้รับการรับรองให้เป็นสมาชิกของสมาคมการศึกษาขั้นอุดมศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Instituations of Higher Learning - ASAIHL) สมาคมสถาบันการศึกษาด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยวแห่งภาคพื้นยุโรป (EUHOFA) และสมาคมฝึกอบรมและพัฒนาองค์กรแห่งภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Asian Regional Training and Development Organization - ARTDO)

นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยสยามยังมีความสัมพันธ์เป็นอย่างดีกับสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศที่มีชื่อเสียงดีเด่นและได้รับการยอมรับ โดยการทำสัญญาความร่วมมือและการสนับสนุน ทางด้านวิชาการและเทคโนโลยี ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศที่มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสยามมีดังนี้ University of Houston, University of Wisconsin-Madison, Oklahoma State University, Eastern Kentucky University, Australian National University, MacQuarie University, University of Newcastle, Edith Cowan University, International College of Tourism and Managemenr in Austria, Aalborg University, Mercuria Business School, Ritsumeikan University, University Autonoma de Guadarajara, Kyung Hee University, North-Ossetian K.L. Khetagulov State University, Edgewood College at Madison, Ball State University at Muncie, Guizhou University, Far Eastern University in Philippines, Iwate University and Technical University "GH ASACHI" of Iasi-Romania


สัญลักษณ์
ตราประจำสถาบันจะเป็น "รูปแผนที่ประเทศไทยกับเรือใบตรงกลาง" ล้อมรอบด้วย "ฟันเฟืองและเกลียวเชือก" ความหมายก็คือ สรรพวิทยาการที่เปิดดำเนินการในมหาวิทยาลัยสยามแห่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาอุตสาหกรรมและพณิชยกรรมของสยามประเทศ


มีอะไรเรียนบ้าง
1. คณะบริหารธุรกิจ
หลักสูตรธุรกิจบัณฑิต
- การบัญชี (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- การเงินและการธนาคาร (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- การตลาด (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- การจัดการทั่วไป (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- การคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- การอุตสาหการ (ต่อเนื่อง 2 ปี)
- การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)

2. คณะนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
- นิติศาสตร์

3. คณะศิลปะศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- การโรงแรมและการท่องเที่ยว (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- ภาษาอังกฤษสื่อสารธุรกิจ

4. คณะนิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
- การโฆษณา
- การประชาสัมพันธ์
- หนังสือและสิ่งพิมพ์
- สื่อดิจิทัล

5. คณะวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
- วิศวกรรมเครื่องกล (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- วิศวกรรมไฟฟ้า (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- วิศวกรรมโยธา
- วิศวกรรมยานยนต์ (ปกติ และต่อเนื่อง 2 ปี)
- เทคโนโลยีการพิมพ์ (ต่อเนื่อง 2 ปี)

6. คณะวิทยาศาสตร์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- เทคโนโลยีการอาหาร
- วิทยาการคอมพิวเตอร์

7. คณะพยาบาลศาสตร์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
- การพยาบาล

8. คณะเภสัชศาสตร์
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
- การบริบาลทางเภสัชกรรม

9. วิทยาลัยนานาชาติ
Bachelor of Business Administration in International Business
Bachelor of Business Administration in Hotel and Tourism Management

10. บัณฑิตวิทยาลัย

ค่าใช้จ่าย
สำหรับค่าเล่าเรียนในรายวิชาทั่วไปทุกคณะคิดหน่วยกิตละ 900 บาท ส่วนรายวิชาคณะบริหารธุรกิจ คณะนิเทศศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ และคณะนิติศาสตร์ หน่วยกิตละ 900 บาท คณะวิทยาศาสตร์และหลักสูตรนานาชาติ หน่วยกิตละ 1,200 บาท และคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์หน่วยกิตละ 1,500 บาท และยังมีค่าบำรุงการศึกษาซึ่งในภาคปกติภาคละ 3,500 บาท ค่าบำรุงและค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมแล้วประมาณ 5,000 บาท

สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน
* สำนักหอสมุด เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้รู้จักการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม มหาวิทยาลัยได้จัดแหล่งรวมหนังสือ วารสาร จุลสาร และสิ่งไม่ตีพิมพ์ อันได้แก่ เทปเสียง วิดีโอ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กว่า 200,000 รายการไว้ที่สำนักหอสมุด
* ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ จัดตั้งขึ้นทั้งหมด 6 ส่วนตามจุดต่างๆของมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม หากนับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่มีไว้ให้บริการในศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทุกส่วนรวมกัน จะมีจำนวนมากถึง 1,330 เครื่องโดยประมาณ
* มีที่จอดรถอย่างเพียงพอสำหรับนักศึกษา
* มีสนามบาสเกตบอล ห้องฟิตเนสติดแอร์ระดับปานกลาง สนามตะกร้อ นอกจากนี้ยังจัดให้มีคอร์สเต้นแอโรบิกด้วย
* โรงอาหารมี 2 แห่ง ที่แรกอยู่ข้างอาคาร 15 เรียกกันว่า "โรงเย็น" มีร้าน 10 ร้าน และอีกที่เรียกว่า "โรงร้อน" อยู่ตรงข้ามตึกปฏิบัติการคณะวิศวกรรมศาสตร์
* คลินิกกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้เปิดศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย เพื่อให้คำปรึกษาทางด้านคดีทางกฎหมายแก่บุคคลโดยทั่วไป

ทุนการศึกษา
มีกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และทุนจากภายในมหาวิทยาลัย

ชีวิตนักศึกษา
มีหอพักเอกชนอยู่บริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย แต่ส่วนใหญ่นักศึกษานิยมอยู่บริเวณซอยเพชรเกษม 43 ซึ่งอยู่ด้านข้างมหาวิทยาลัย ในซอยนี้มีหอพักประมาณ 40 แห่ง และยังมีอีกโซนคือฝั่งตรงข้ามซอย 43 ซึ่งมีทั้งหอพักและตลาดนัดด้วย ราคาห้องประมาณ 2,500-4,000 บาทต่อเดือนยามว่างนักศึกษา ม. สยาม มักจะไปรวมกันที่โรงอาหาร หรือไม่ก็ไปเดินเล่นที่เดอะมอลล์บางแค หรือฟิวเจอร์ปาร์คบางแค

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของที่นี่คือ องค์พ่อวิษณุ อยู่ด้านหน้ามหาวิทยาลัย นักศึกษาจะสักการบูชาด้วยการถวายดอกดาวเรือง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook