มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (มอช.)

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (มอช.)

มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (มอช.)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Assumption University (AU)

ก่อตั้ง : พ.ศ. 2533
ต้นไม้ประจำสถาบัน : ต้นอโศก
สีประจำสถาบัน : สีขาว-แดง
จำนวนคณะ : 10 คณะ
จำนวนนักศึกษา : ประมาณ 19,602 คน
อัตราค่าเล่าเรียน : แตกต่างกันแล้วแต่คณะ
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ :
* วิทยาเขตหัวหมาก 592/3 ซอยรามคำแหง 24 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2300 4553-62
* วิทยาเขตสุวรรณภูมิ 88 หมู่ 8 ถนนบางนา-ตราด กม. ที่ 26, แขวงบางเสาธง เขตบางเสาธง
จังหวัดสมุทรปราการ โทร. 0 273 2222
*ABAC CITY CAMPUS ห้างสรรพสินค้า Central World ฝั่งอาคาร Zen World, ชั้น 14
Education Zone โทร. 0 2100 9115-9
เว็บไซต์ : www.au.edu


ประวัติ
นับเป็นเวลากว่า 100 ปี ที่มูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยได้ริเริ่มดำเนินการจัดตั้งสถาบันการศึกษาขึ้นในประเทศไทย และดำเนินการสอนโดยมิได้หวังผลกำไรตอบแทน แต่กลับมุ่งมั่นพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา ในปี พ.ศ. 2512 มูลนิธิฯ ได้ขยายการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาที่เน้นภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอนแห่งแรกของประเทศไทยขึ้น โดยใช้ชื่อว่า "Assumption School of Business" (ASB) ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 สถาบันได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการและใช้ชื่อใหม่ว่า "วิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ" (Assumption Business Administration College - ABAC) ซึ่งงมีภารกิจหลักในการจัดการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม รวมถึงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติอย่างต่อเนื่อง บัณฑิตของสถาบันล้วนได้รับการยอมรับจากสังคมโดยทั่วไป จนกระทั่งวันที่ 22 พฤษภาคม 2533 ทบวงมหาวิทยาลัยก็อนุมัติให้เปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย และใช้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ" (Assumption University - Au) จวบจนทุกวันนี้
มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งใน 15 สถาบันการศึกษาของมูลนิธิฯ ซึ่งมีปณิธานอันแน่วแน่ที่จะจัดการศึกษาให้บรรลุถึงความเป็นเลิศทางวิชาการและพัฒนากิจกรรมด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ อาทิเช่น พัฒนาและขยายหลักสูตรการศึกษาจากเดิมที่มีเพียงคณะบริหารธุรกิจคณะเดียว จนกระทั่งปัจจุบันมหาวิทยาลัยสามารถเปิดดำเนินการสอนในสาขาวิชาต่างๆ ทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญาเอก โดยยังคงใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการเรียนการสอน อีกทั้งยังได้ปรับปรุงระบบการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และเป็นสังคมนานาชาติ (International Community) ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี อันส่งผลให้นักศึกษาได้มีโอกาสสัมผัสและชื่นชมศิลปวัฒนธรรมและอารยะธรรมทั้งของตะวันตกและตะวันออก ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยประกอบด้วยนักศึกษาและคณาจารย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมากกว่า 70 ประเทศ

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเปิดให้มีการเรียนการสอนทั้งหมด 2 วิทยาเขตหลัก คือ
วิทยาเขตหัวหมาก ปัจจุบันเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งในระดับปริญญาตรีบางคณะยังดำเนินการเรียนการสอนที่วิทยาเขตแห่งนี้ ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
และวิทยาเขตสุวรรณภูมิ


สัญลักษณ์
ตราสัญลักษณ์ (Coat of Arms) ประกอบด้วย "รูปโล่" ภายในแบ่งออกเป็น 4 ช่อง ช่องบนซ้ายเป็นอักษร A.M. ย่อมาจากคำภาษาละติน Alma Mater แปลว่า Dear Mother ซึ่งเปรียบสถาบันกับถิ่นกำเนิดของนักศึกษาและเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ช่องบนขวาเป็น "รูปเรือลอยอยู่กลางทะเล" หมายถึง เรือแห่งชีวิต ซึ่งสามารถตีความได้ว่า ชีวิตคือการดิ้นรนและฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหา เฉกเช่นเดียวกับเรือที่เผชิญกับคลื่นลมและแดดฝนกลางทะเล ช่องล่างซ้ายเป็น "รูปดาวและผู้ชายอยู่ในเรือ" เป็นตัวแทนของ ความหวัง หมายถึง ศาสนาที่เป็นแสงแห่งธรรมะหรอความสัจจริง ส่วนความรู้ต่างๆที่เรียนรู้จากสถาบันนี้ก็คือแสงแห่งปัญญา และช่องล่างขวาเป็น "รูปกางเขน" มีอักษร D (Divinity) หมายถึง ศาสนา และ S (Science) หมายถึง ความรู้ ขนาบข้าง

 

 

มีอะไรเรียนบ้าง
1. คณะบริหารธุรกิจ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
- การตลาด
- การจัดการ
- การเงินและการธนาคาร
- การบัญชี
- การจัดการการท่องเที่ยวและการบริการ
- ระบบสารสนเทศธุรกิจ
- การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
- ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- การประกันวินาศภัย
- การประกันชีวิต
- การจัดการอุตสาหกรรม
หลักสูตร ABAC-Wollongong (ประเทศออสเตรเลีย)
หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาเศรษฐศาสตรธุรกิจ

2. คณะศิลปะศาสตร์
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- ภาษาอังกฤษธุรกิจ
- ภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ
- ภาษาจีนธุรกิจ
- ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ
- ภาษาจีนเพื่อเศรษฐกิจและการค้า

3. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- วิทยาการคอมพิวเตอร์
- เทคโนโลยีสารสนเทศ
- วิทยาการโทรคมนาคม
- สถติประยุกต์
- การจัดการเทคโนโลยี

4. คณะวิศวกรรมศาสตร์
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
- สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคมและอิเล็กทรอนิกส์
- สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

5. คณะนิติศาสตร์
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

6. คณะพยาบาลศาสตร์
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

7. คณะนิเทศศาสตร์
หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต
- การโฆษณา
- การประชาสัมพันธ์
- การสื่อสารการแสดง
- การสื่อสารผ่านสื่อใหม่
- นิเทศศิลป์

8. คณะเทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
- สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร

9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี)
หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
- สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน

10. คณะดนตรี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
- ธุรกิจดนตรี
- การแสดงดนตรี

ค่าใช้จ่าย
ค่าเล่าเรียนและค่าบำรุงตลอดหลักสูตรแตกต่างกันตามคณะ ดังนี้ คณะบริหารธุรกิจ 376,285-378,135 บาท คณะศิลปะศาสตร์ 367,535-398,135 บาท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 473,335 บาท คณะวิศวกรรมศาสตร์ 450,135 บาท คณะนิติศาสตร์ 368,535 บาท คณะพยาบาลศาสตร์ 422,135 บาท คณะนิเทศศาสตร์ 380,485-407,235 บาท คณะเทคโนโลยีชีวภาพ 418,185 บาท คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 519,835 บาท คณะดนตรี 487,135-526,135 บาท

สิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียน
* มีห้องสมุด 2 แห่ง คือ ห้องสมุด St.Gabriel's ตั้งอยู่ที่หัวหมาก สามารถรองรับนักศึกษาได้จำนวน 1,600 คน และห้องสมุด Cathedral of Learning ตั้งอยู่ที่วิทยาเขตสุวรรณภูมิ มีทั้งหมด 5 ชั้น
* ศูนย์กีฬา ที่หัวหมาก มีสนามบาสเกตบอล 3 สนาม สระว่ายน้ำ 1 สระ ห้องฟิตเนสติดแอร์ไม่ใหญ่มากเนื่องจากพื้นที่จำกัด ส่วนที่สุวรรณภูมิ มีโรงยิม สนามสคอวช บาสเกตบอล แบดมินตัน เทนนิส โต๊ะสนุ้กเกอร์ 2 โต๊ะ สระว่ายน้ำ 1 สระ ฟิตเนสอยู่ในระดับดีมาก
* ศูนย์คอมพิวเตอร์ เอแบคมีชื่อเสียงเรื่องเทคโนโลยีเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์อย่างมาก ปัจจุบันให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง PC และ Macintosh แก่นักเรียนตามจุดต่างๆของมหาวิทยาลัยมากกว่า 1,500 เครื่อง
* ศูนย์การค้า อยู่ที่วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ประกอบไปด้วย ร้านอาหาร ศูนย์รวมความบันเทิง ร้านขายอุปกรณีฬา ร้านสะดวกซื้อ ร้านซักรีด ร้านขายของกระจุกกระจิก ร้านเสริมสวย ร้านเช่าซีดีและดีวีดี ธนาคาร ร้านเบเกอรี่ ร้านขายยา ฯลฯ
* รถบริการ มีรถบัสของมหาวิทยาลัยให้บริการเที่ยวละ 30 บาท วิ่งระหว่างหัวหมาก-สุวรรณภูมิ นอกจากนั้นยังมีคิวรถตู้ให้บริการด้วย จากหัวหมาก มีรถตู้สาย หัวหมาก-ท่าเรือสี่พระยา และ หัวหมาก-สุวรรณภูมิ จากสุวรรณภูมิ มีรถตู้ไปสี่พระยา, บางกะปิ, หัวหมาก และซีคอนสแควร์
* โรงอาหาร ที่สุวรรณภูมิ โรงอาหารจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ AU Mall เป็นศูนยาหาร มีร้านอาหารจากข้างนอกมาเปิดหลายร้าน อีกส่วนจะอยู่บริเวณพลาซ่า คือ ด้านล่างของอาคาร บรรยากาศจะเหมือนห้างสรรพสินค้า ทั้งชั้นติดแอร์หมด ส่วนที่หัวหมาก มีโรงอาหารของมหาวิทยาลัย สะอาด ราคาไม่แพง อยู่บริเวณวงเวียน
* บริการไปรษณีย์ ทั้งที่วิทยาเขตสุวรรณภูมิและหัวหมาก
* บริการชำระค่าเล่าเรียนผ่านธนาคาร โดยนักศึกษาต้องทำเรื่องแจ้งไปที่ ธ. กรุงศรีอยุธยา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.krungsri.com/abac.htm
* หอพักนักศึกษา ที่หัวหมากไม่มีหอของมหาวิทยาลัย แต่จะมีหอพักของเอกชนที่ได้รับความนิยมอยู่ด้านข้างมหาวิทยาลัยชื่อ ABAC Condo เป็นหอรวม ชาย-หญิง ราคาประมาณ 5,000 บาทต่อห้อง แต่ที่สุวรรณภูมิ จะมีหอพักภายในมหาวิทยาลัย 3 หอ เป็นอาคาร 13 ชั้น ได้แก่ หอพักชาย Solomon มีห้องพัก 505 ห้อง หอพักหญิง Sheba มีห้องพัก 505 ห้องเช่นกัน และหอพัก King David เป็นหอสำหรับบุคคลภายนอกมีห้องพัก 266 ห้อง ภายในห้องพักทั้งหมดมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน พร้อมระบบรักษาความปลอดภัยชั้นเยี่ยม

ทุนการศึกษา
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญจัดสรรทุนการศึกษาหลายร้อยทุนให้กับนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมถึงกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

ชีวิตนักศึกษา
จากแนวคิดในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ของ ภราดา ดร.ประทีป มาร์ติน โกมลมาศ อธิการบดีกิตติคุณ ที่ว่า "เป็นความฝันของข้าพเจ้าที่จะสร้างวิหารแห่งการเรียนรู้ที่มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนการสอน เป็นบรรยากาศที่เราเรียกว่า "healthy and stimulating to the active mind" เป็นบรรยากาศที่ส่งเสริมปัญญาและความนึกคิด เป็นบรรยากาศที่มนเชิงจิตใจแล้ว ทำให้เกิดความชุ่มชื่นและสดชื่น ด้วยเหตุนี้เองข้าพเจ้าต้องการที่จะนำธรรมชาติกลับมาสู่เยาวชน เราจึงสร้างมหาวิทยาลัยในวนอุทยาน ซึ่งเป็นบรรยากาศแห่งความเงียบสงบและเป็นที่ซึ่งนักศึกษาจะได้มีโอกาสไตรตรองนึกคิดถึงสิ่งที่ดีงาม วิทยาเขตสุวรรณภูมิจึงมีบรรยากาศทางวิชาการในท่ามกลางธรรมชาติ ที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้หลายพันธุ์ ภาพจิตรกรรม และประติมากรรมหลากหลาย อันจะช่วยหล่อหลอมให้นักศึกษาที่เข้ามาสัมผัสเกิดจินตนาการนึกคิด เกิดสติปัญญาและเกิดการเรียนรู้อย่างไม่มีวันจบสิ้น

แต่ถึงแม้ว่าวิทยาเขตสุวรรณภูมิจะอยู่ไกล มหาวิทยาลัยก็ได้อำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับนักศึกษาที่มาจากในตัวเมืองด้วยการจัดรถตู้และรถบัสติดแอร์ไว้ให้ ซึ่งจะวิ่งรับ-ส่งระหว่างสองวิทยาเขต ตั้งแต่เวลา 7.30-19.45 น. นักศึกษาสามารเช็คตารางเดินรถได้ที่มหาวิทยาลัยและในเว็บไซต์

เวลาว่างนักศึกษาที่วิทยาเขตรามคำแหงจะนิยมเดินเดอะมอลล์รามคำแหง ไปดูหนังที่เมเจอร์รามคำแหง เดอะมอลล์บางกะปิ สยาม ส่วนที่สุวรรณภูมิถ้าไม่ชอบชอปปิ้งที่ศูนย์การค้าภายในมหาวิทยาลัย ก็จะมีแหล่งชอปปิ้งใหญ่ๆได้แก่ ซีคอนสแควร์ เสรีเซ็นเตอร์ และเซ็นทรัลบางนา แต่บางทีก็ไปไกลกว่านั้นเพราะนักศึกษาจำนวนมากขับรถมาเรียน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook