การพยากรณ์อากาศ...ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

การพยากรณ์อากาศ...ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

การพยากรณ์อากาศ...ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มนุษย์ได้มีการเฝ้าสังเกตลมฟ้าอากาศมานานแล้ว เนื่องจากมนุษย์อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมฟ้าอากาศจึงจำเป็นต้องทราบลักษณะลมฟ้าอากาศที่เป็นประโยชน์ และลักษณะลมฟ้าอากาศที่อาจจะเป็นโทษต่อมนุษย์ ปัจจุบันลักษณะภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น การพยากรณ์อากาศจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ในยุคปัจจุบัน

ดร.วิโรจน์ ตันตราภรณ์ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อธิบายว่า ก่อนที่เราจะพยากรณ์อากาศต้องเข้าใจก่อนว่าลมเกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุของการเกิดลมคือ เมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัวทำให้ความหนาแน่นของอากาศลดลง อากาศร้อนจึงลอยตัวสูงขึ้น อากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าในบริเวณข้างเคียงจึงเข้ามาแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศเกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างของอุณหภูมิ เนื่องจากโลกมีรูปร่างกลม และหมุนรอบตัวเองทำมุม 360 องศา ใช้เวลา 24 ชั่วโมงบริเวณเส้นศูนย์สูตรความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลกเท่ากับ 1,700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บริเวณละติจูดที่ 60 องศา ความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลกมีค่า ประมาณ 850กิโลเมตรต่อชั่วโมง บริเวณขั้วโลกความเร็วในการหมุนรอบตัวเองของโลกมีค่าเท่ากับศูนย์

เนื่องจากพื้นผิวโลกในแต่ละบริเวณได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันจึงทำให้แต่ละพื้นที่ มีอุณหภูมิและความดันอากาศแตกต่างกัน ลมคืออากาศที่เคลื่อนที่ขนานกับผิวโลก โดยอากาศที่ร้อนกว่าจะมีความดันอากาศหรือความกดอากาศต่ำ ส่วนอากาศที่เย็นกว่าจะมีความดันอากาศและความกดอากาศสูงกว่า อากาศจึงเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ ในการพยากรณ์อากาศจะอาศัยการสังเกตการณ์พื้นฐาน เช่น ความกดอากาศ ความเร็วและทิศทางลม อุณหภูมิความชื้น เป็นต้น เพื่อให้การพยากรณ์อากาศมีความแม่นยำยิ่งขึ้นจำเป็นต้องมีภาพถ่ายจากดาวเทียม เพื่อจะหาว่ามีกลุ่มเมฆฝนอยู่บริเวณใดบ้าง และลมพายุเคลื่อนตัวไปในทิศทางใด เป็นต้น มิฉะนั้นก็ไม่มีทางทราบได้ว่าฝนหรือพายุจะเคลื่อนตัวมาจากทิศไหนเมื่อไร


TIPS
นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยอาเบอร์ดีน สหราชอาณาจักร ได้ประดิษฐ์ 'นักพยากรณ์อากาศปัญญาประดิษฐ์' (artificial weatherperson) เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการรายงานสภาวะอากาศที่ไม่ชัดเจนอันเนื่องมาจากภาษาที่คลุมเครือ ทีมนักวิจัยได้เขียนโปรแกรมเพื่อสร้าง Natural Language Generation (NLG) ซอฟต์แวร์ เพื่อทำการแปรข้อมูลดิบที่ได้จากการพยากรณ์อากาศเป็นรายงานสภาพอากาศที่ถูกต้อง และชัดเจน ด้วยระบบนี้ทำให้ในอนาคตนักพยากรณ์อากาศอาจตกงานได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook