DNA คืออะไร

DNA คืออะไร

DNA คืออะไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในการชันสูตรพลิกศพ หรือในการใช้หลักนิติวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลนั้น เราจะได้ยินคำว่า DNA บ่อยๆ ทำให้เกิดความสงสัยว่า DNA คือคำตอบสุดท้ายของการไขปริศนาในคดีต่างๆ ใช่หรือไม่

ดร.นำชัย ชีววิรรธน์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ อธิบายว่า ถ้าจะถามว่า DNA คืออะไร คำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือสารชนิดหนึ่งที่พบในสิ่งมีชีวิต DNA มีความสำคัญคือการที่พบ DNA ในสิ่งมีชีวิตทำให้สามารถตรวจสอบและบอกอะไรหลายๆ อย่างได้ เนื่องจาก DNA จะมีลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งในสิ่งมีชีวิตต่างๆ โครงสร้างของ DNA จะเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่การจัดเรียงลำดับ เพราะฉะนั้นถ้าสามารถนำ DNA ของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันมาเปรียบเทียบก็จะทำให้สามารถบอกได้ว่าเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใด เช่น ถ้านำ DNA ของมนุษย์และยุงมาทดสอบเปรียบเทียบกัน ก็สามารถตรวจได้ว่า DNA ใดเป็น DNA ของมนุษย์และ DNA ใดเป็น DNA ของยุง เนื่องจาก DNA ของมนุษย์และยุงมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่เยอะมาก

ในทำนองเดียวกัน ถ้านำ DNA ของคน 2 คนมาเปรียบเทียบกัน ผลที่ได้คือ DNA จะคล้ายกันมาก หมายถึงลำดับการเรียงลำดับของ DNA แต่ DNA ก็มีส่วนที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนที่แตกต่างกันนี้เองทำให้สามารถแยกคนแต่ละคนออกจากกันได้ ถ้าเราสามารถหา DNA มาได้ ซึ่ง DNA จะอยู่ในเซลล์ ถ้าได้เซลล์ก็จะหา DNA ได้ เช่น ในน้ำลายจะมีเซลล์จากเยื่อบุกกระพุ้งแก้ม การตรวจสอบเชิงพันธุกรรมในต่างประเทศจะใช้แค่คัตเทิ้ลป้ายตรงกระพุ้งแก้มด้านในเท่านั้น ในอดีตการตรวจหา DNA ทำได้ยากมาก เพราะถ้ามี DNA ในปริมาณน้อยไปก็จะไม่สามารถตรวจสอบได้จนกระทั้งประมาณปี พ.ศ. 2525-2526 มีการคิดค้นวิธีเพิ่มจำนวน DNA ขึ้น ซึ่งสามารถนำประยุกต์ใช้ในทุกสาขาวิชา เช่น สาขาวิชาด้านชีวภาพ และนำมาใช้ในหลักนิติวิทยาศาสตร์เพื่อตรวจสอบหาคนร้าย นอกจากนั้นยังใช้พิสูจน์เพื่อหาความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือแม้กระทั่งใช้ตรวจสอบหาบรรพบุรุษของมนุษย์ เป็นต้น


TIPS
สิ่งมีชีวิตแทบทุกชนืดบนโลกต่างมี DNA เป็นสารรหัสพันธุกรรมยกเว้นก็แต่เพียงไวรัสบางชนิดเท่านั้น ที่ใช้ RNA แทน DNA เป็นสารรหัสพันธุกรรม ซึ่งคล้ายกับ DNA มากเลยทีเดียว เพียงแต่ RNA จะมีจำนวนอะตอมออกซิเจน มากกว่า DNA อยู่ 1 อะตอม ทุกๆ หน่วยย่อยทางพันธุกรรมและมีอยู่เพียงสายเดียว แทนที่จะเป็นสายคู่เหมือน DNA

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook