เคาะระฆัง แอดมิสชั่นส์ 2554 เริ่มแล้ว ! 4 เมษายน เริ่มขายระเบียบการ

เคาะระฆัง แอดมิสชั่นส์ 2554 เริ่มแล้ว ! 4 เมษายน เริ่มขายระเบียบการ

เคาะระฆัง แอดมิสชั่นส์ 2554 เริ่มแล้ว ! 4 เมษายน เริ่มขายระเบียบการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สิ้นสุดไปแล้ว สำหรับการสอบเข้าในระดับม.1 และม. 4 ช่วงเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา สมหวัง ผิดหวัง ดีใจ เสียใจ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับใคร ชีวิตก็ต้องเดินต่อไป ท้อได้ แต่ห้ามถอย วันนี้ไม่ใช่วันสุดท้ายของชีวิต และนับจากนี้ ก็ถือว่า เป็นช่วงสำคัญอีกช่วงหนึ่งของน้อง ๆ ที่ต้องเดินเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ในระบบกลาง หรือว่า แอดมิสชั่นส์ (ADMISSIONS)

ช่วงเวลาของการเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เป็นอีกช่วงหนึ่งที่ถือว่ามีความสำคัญของน้อง ๆ ที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพื่ออนาคตที่หวังไว้ และในปีนี้ ทางสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ได้ออกปฏิทินสำหรับการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้ารับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มาแล้ว โยจะเริ่มขายระเบียบการการสมัคร วันที่ 4 เมษายน 2554 ที่จะถึงนี้

เปิดขั้นตอนการสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา
ในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลาง (ADMISSIONS)
การสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลาง ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ได้ทำการสอบ O-NET ตรงตามปีการศึกษา ที่สำเร็จการศึกษา ตลอดจนได้ทำการสอบ GAT/PAT อย่างน้อย 1 ครั้ง
ขั้นตอนการสมัคร
1.เตรียมข้อมูลที่จำเป็นในการสมัคร โดยข้อมูลที่ต้องเตรียม มีดังนี้
1.1 ชื่อโรงเรียน / สถาบันการศึกษา
รวมถึงรหัสโรงเรียน 10 หลัก (สอบถามได้จากโรงเรียน/สถาบันการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา)
1.2 เลขประจำตัวนักเรียน 7 หลักสุดท้าย ตามที่ปรากฏในบัตรประจำตัวนักเรียน (หากมีไม่ถึง 7 หลัก ให้เติมศูนย์ด้านหน้า)
หมายเหตุ รหัสโรงเรียนและเลขประจำตัวนักเรียน ให้ยึดเอาจากสถานศึกษาที่สำเร็จการศึกษาชั้นม.6/เทียบเท่า เป็นสำคัญ
1.3 ปีการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา (ตัวอย่าง : นักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในปีปัจจุบัน ถือเป็นปีการศึกษา 2553 เป็นต้น)
1.4 หลักสูตรที่สำเร็จการศึกษา (สายสามัญ / สายอาชีวะ / กศน. หรือเทียบเท่า ฯลฯ)
1.5 ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม GPAX
1.6 เลขที่นั่งสอบ O-NET 8 หลัก และปีการศึกษาที่สอบ O-NET (ตัวอย่าง ปีล่าสุดคือ ปีการศึกษา 2553) หมายเหตุ สำหรับผู้สอบ O-NET ก่อนปีการศึกษา 2553 ซึ่งมีตัวเลขที่นั่ง 7 หลัก ให้เติมศูนย์ด้านหน้า ให้เป็น 8 หลัก
1.7 เลขที่นั่งสอบ GAT/PAT ทุกครั้งที่เข้าสอบ
หมายเหตุ : หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลการสอบ O-NET และ GAT / PAT สามารถติดต่อได้ที่ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อสอบถามโดยตรง หรือที่เว็บไซต์ www.niets.or.th
โทรศัพท์ 0-2217-3800 โทรสาร 0-2219-2996
2.ศึกษาข้อมูลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง ได้จากเว็บไซต์ www.cuas.or.th หรือจากหนังสือระเบียบการคัดเลือก ฯ ประจำปีการศึกษา 2554
3.เข้าสู่ระบบการรับสมัครทางเว็บไซต์ www.cuas.or.th เพื่อทำการสมัคร โดยกรอกข้อมูลเลขประจำตัวประชาชน ในการค้าหาข้อมูล จากนั้นผู้สมัครต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวของผู้สมัคร แล้วเลือก คณะ/สาขาวิชา ที่ประสงค์จะสมัครเข้าศึกษา (เลือกได้สูงสุด 4 อันดับการเลือก)
4.เมื่อกรอกข้อมูลแล้วให้ตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงบันทึกการสมัคร (เมื่อบันทึกการสมัครเสร็จแล้วจะไม่สามารถแก้ไขข้อมูลใด ๆ ได้) โดยระบบจะทำการคำนวณเงินค่าสมัครพร้อมทั้งแจ้งวันหมดเขตชำระเงินให้ทราบ
5.พิมพ์ใบสมัครและลงลายมือชื่อผู้สมัคร เพื่อนำไปชำระเงิน โดยไม่ต้องชำระเงินสดที่เคาน์เตอร์ธนาคาร หรือณ ที่ทำการไปรษณีย์ เท่านั้น
6.ตรวจสอบสถานะการการชำระเงินทางเว็บไซต์ www.cuas.or.th หลังจากชำระเงินแล้ว 1-2 วัน ทำการ (ต้องตรวจสอบการชำระเงินภายในวันเวลาที่กำหนดไว้ในระเบียบการ)
7.การสมัครจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ชำระเงินเรียบร้อยแล้วเท่านั้น
8.ในกรณีที่ต้องการแก้ไขข้อมูลส่วนตัวผู้สมัคร อันได้แก่ ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวนักเรียน ฯลฯ (ไม่รวมถึงอันดับการเลือก คณะ / สาขาวิชา ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้) ให้ผู้สมัครส่งคำร้องขอแก้ไขข้อมูลพร้อมสำเนาหลักฐาน ทางโทรสารหมายเลข 0-2354-5155-6, 0-2576-5555, 0-2576-5777 ได้ตั้งแต่ 12-27 เมษายน 2554
9. สำหรับผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศต้องส่งใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) และใบเทียบคุณวุฒิที่ออกโดยกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งมายังสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ทางโทรสาร 0-2354-5155-6, 0-2576-5555 และ 0-2576-5777
10.หากผู้สมัครต้องการเปลี่ยนแปลงการเลือกคณะ จะต้องทำการสมัครใหม่ชำระเงินใหม่ทั้งหมด โดยข้อมูลการสมัครก่อนหน้านั้นจะถูกยกเลิก และต้องทำการสมัครใหม่และชำระเงินใหม่หมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 20 เมษายน 2554 และชำระเงินภายในวันที่ 22 เมษายน 2554
ทั้งนี้ สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการอำนวยการคัดเลือก ฯ จะยึดข้อมูลการสมัครที่ทำการสมัครครั้งล่าสุดที่มีการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว เป็นข้อมูล ในการประเมินผลการคัดเลือก
ค่าสมัครการชำระเงิน
1.ค่าสมัครคัดเลือกฯ ในระบบกลาง เป็นดังนี้
1.1 เลือก คณะ / สาขาวิชา 1 อันดับ เป็นเงิน 100 บาท
1.2 เลือก คณะ / สาขาวิชา อันดับต่อไป เพิ่มขึ้นอันดับละ 50 บาท
1.3 ค่าธรรมเนียม
1.3.1 ถ้าชำระเงินค่าสมัครที่เคาน์เตอร์ธนาคาร ต้องเสียค่าธรรมเนียม 15 บาท
1.3.2 ถ้าชำระเงินค่าสมัคร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย ต้องเสียค่าธรรมเนียม 16 บาท
2.เมื่อผู้สมัครทำการชำระเงินค่าสมัครที่ธนาคาร หรือณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับเงินจะระบุชื่อธนาคาร หรือไปรษณีย์ไทยและสาขา พร้อมกับลงรายชื่อผู้รับเงิน ทั้งในส่วนของใบสมัครและใบแจ้งการชำระเงิน
3.ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ผู้รับชำระเงินไม่สามารถอ่านบาร์โค้ดในใบสมัครของผู้สมัครได้
เจ้าหน้าที่ผู้รับชำระเงินสามารถป้อนหมายเลข Ref.No.1 (เลขประจำตัวประชาชน) และ Ref.No.2 (เลขที่ใบสมัคร) ของผู้สมัครในการชำระเงินแทนได้ ซึ่งผู้สมัครจะต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องของ Ref.No.1 (เลขประจำตัวประชาชน) และ Ref. No.2 (เลขที่ใบสมัคร) เพื่อความถูกต้องในการชำระเงิน
4.เจ้าหน้าที่จะเก็บส่วนของใบแจ้งการชำระเงินไว้และมอบส่วนของใบสมัครให้ผู้สมัครเพื่อนำมาติดรูปถ่ายและเก็บหลักฐานไว้ใช้ในการสอบสัมภาษณ์
หมายเหตุ การชำระเงินให้ชำระเงินเป็นเงินสดที่เคาน์เตอร์ธนาคารหรือไปรษณีย์ไทยเท่านั้น หากไม่ชำระเงินตามที่กำหนดถือว่าการสมัครครั้งนั้นเป็นโมฆะ

ปฏิทินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา ในระบบแอดมิสชั่นส์กลางปีการศึกษา 2554

กิจกรรม 

วัน/เดือน/ปี   

สถานที่   

จำหน่ายระเบียบการ

 4-20 เม.ย.     ศูนย์กรุงเทพฯ / ศูนย์ภูมิภาค
รับสมัคร 11–20 เม.ย.  เว็บไซต์www.cuas.or.th
ชำระเงินค่าสมัคร   11-22 เม.ย.  ชำระผ่านธนาคาร / ที่ทำการไปรษณีย์
ตรวจสอบความถูกต้องของการสมัคร   12-25 เม.ย. เว็บไซต์ www.cuas.or.th
ยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อมูล  12-27 เม.ย.  ทางแฟกซ์ 0-2354-5455-6, 0-2576-5555, 0-2576-5777
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย   8 พ.ค.  ทางเว็บไซต์ www.elearneasy.com
สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย  11-13 พ.ค.   มหาวิทยาลัย / สถานอุดมศึกษาที่สอบได้ 
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในสถาบัน อุดมศึกษา 19 พ.ค. ทางเว็บไซต์ www.cuas.or.th

 ศูนย์มหาวิทยาลัยที่จำหน่ายหนังสือระเบียบการคัดเลือก

ศูนย์  สถานที่ติดต่อ  เบอร์โทรศัพท์
ศูนย์กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน  อาคารพันธ์เพ็ญศิริ  0-2579-0113 ต่อ 1589 ห้อง 101
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี  ส่วนคัดเลือกนักศึกษา 0-2470-8349
พระจอมเกล้าธนบุรี สำนักงานอธิการบดี ชั้น 1  สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย  อาคารสำนักงานคณะกรรม  0-2354-5150-2
การการอุดมศึกษา ชั้น 1 ศูนย์ภูมิภาค

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต  สำนักทะเบียนและประเมินผล ยิมเนเซียม 3

0-2564-4440 ต่อ 1141
มหาวิทยาลัยขอนแก่น  สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ ชั้น 1 ศูนย์วิชาการ  0-4320-2236-41 ต่อ 12049
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   

1.ศูนย์บริการการศึกษา 2.เดอะมอลล์ นครราชสีมา  (จำหน่ายหนังสือระเบียบการ)

 0-4422-3014-5

0-4422-3025-6

มหาวิทยาลัยนเรศวร  กองบริการการศึกษา   0-5596-1000 ต่อ 8304-5
มหาวิทยาลัยบูรพา  กองบริการการศึกษา  0-3810-2222 ต่อ 2709-10
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  กองบริการการศึกษา  0-4375-4377
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ศูนย์บริการการศึกษา อาคารไทยบุรี ศูนย์บริการการศึกษา ชั้น 9
จ.สุราษฏร์ธานี วันที่ 4-6 เมษายน 2554
0-756-3101-12 
มหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยาเขตสนามจันทร์)
กองบริการการศึกษา 0-3425-5750-1  
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย   สาขาย่อยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ส่วนงานรับนักศึกษา 0-7428-2962
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สำนักคอมพิวเตอร์ 
0-4535-3120
มหาวิทยาลัยนครพนม กองส่งเสริมวิชาการฯ  0-4251-5474

 

"การรู้จักประมาณตน"
หัวใจหลักของการสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอย่างสำคัญที่สุด

ดร.ณัฐพงศ์ บุญเหลือ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคอลัมนิสต์ประจำคอลัมน์ เปิดประเด็นแอดมิสชันส์ ของนิตยสารการศึกษา วันนี้ ชี้แนะเรื่องของการเลือกคณะในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยไว้อย่างน่าสนใจว่า ในการสมัครคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ นักเรียนจำนวนไม่น้อยหรืออาจมากถึงมากที่สุดก็ว่าได้ มักไม่ได้ตระหนักคิดสักเท่าไหรในสิ่งที่ควรจะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญสำหรับการตัดสินใจว่า จะเลือกคณะวิชาหรือมหาวิทยาลัยไหนดี
ม.รัฐก็ดี ม.เอกชน ก็น่าสน

หากแต่โดยข้อเท็จจริงก็มักคิดเพียงว่า "ขอให้ผ่านการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการไว้ก่อนเท่านั้นเป็นพอแล้ว อย่างอื่นค่อนมาว่ากัน" ทัศนะและแง่คิดดังกล่าว หากยังมีอยู่ในหัวสมองก็นับว่า หนักเอาการ พูดง่ายๆ ก็คือ มองโลกแบบเก่ามากเกินไป โดยลืมคิดไปว่า ยุดสมัยนี้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากแล้ว และโดยข้อเท็จจริงที่ปรากฏในระบบการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยรัฐหรือเอกชนเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านมาตรฐานการเรียนการสอนหรือมาตรฐานการจัดการศึกษา และอะไรที่สามารถชี้วัดได้แน่นอนตายตัวว่า เมื่อจบไปแล้วจะหางานทำได้ง่ายหรือมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่ากว่ากัน

 

บทสรุปที่ว่านั้น นับว่ายากที่จะมีคำตอบ และก็มักเป็นเรื่องของความรู้สึกมากกว่า รวมไปถึงเป็นเพียงทัศนคติแบบเก่า ผ่านแนวคิดว่า เรียนในมหาวิทยาลัยเด่นดัง เก่าแก่มีชื่อเสียงย่อมมีเพื่อนฟ้องพี่ หรือที่เรียกว่า "รุ่น" ดีกว่า ด้วยเหตุผลที่ว่า สถาบันดังๆ เก่าแก่ ดังกล่าวมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน "รุ่น" จึงมีความหมายรวมถึงโอกาสในการช่วยเหลือเกื้อกูลในภายหน้ามากกว่าการเลือกเรียนในสถาบันใหม่หรือเอกชน ที่มักมีข้อสงสัยกันโดยทั่วไปว่า มีมาตรฐานเพียงพอหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านผู้สอนและมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน เครื่องไม้เครื่องมือ และอาคารสถานที่

ข้อสังเกตดังกล่าว นับเป็นเรื่องสำคัญและมักเป็นปัญหาที่เรียกว่าไม่เล็กสักทีเดียว ด้วยมักพบว่า การลงทุนในการจัดการศึกษาของเอกชนมักต้องคำนึงต้นทุนกำไร การจะดำเนินการจัดสร้างอาคารสถานที่ จัดหาเครื่องไม้เครื่องมือที่มีคุณภาพระดับสูงจึงต้องคำนวณต้นทุนและผู้เรียนว่ามีจำนวนสัดส่วนพอเหมาะหรือเหมาะสมกันหรือไม่

ทั้งนี้ ประเด็นดังกล่าวนับเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นต้องนำมาพิจารณาความเหมาะสมกันด้วยเหมือนกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับในแง่ของผู้สอนหรือคณาจารย์และอาคารสถานที่ เครื่องไม้เครื่องมือเมื่อเปรียบเทียบในระดับมาตรฐานคุณภาพ โดยรวมแล้ว อาจกล่าวได้ว่าถึงที่สุดแล้วโดยรวมมหาวิทยาลัย (ปิด) ของรัฐย่อมดีกว่าในแทบทุกด้าน เพราะรัฐมีงบประมาณสนับสนุน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีระบบหรือกระบวนการ รวมถึงวิธีการสนับสนุนที่หลากหลาย จนเป็นประเด็นต่อมาในปัจจุบันที่ทำให้มหาวิทยาลัยต้องเปิดหลักสูตรจำนวนมากเพื่อหารายได้เลี้ยงองค์กร/หน่วยงานของตน และผลก็คือ ผู้เรียนต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในระดับที่สูงมากชนิดที่เรียกว่าไม่น้อยแต่มากกว่ามหาวิทยาลัยเอกชน (หลายแห่ง) ด้วยซ้ำไป

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในรายละเอียดบางกรณี ก็อย่าได้คิดเหมารวมไปเสียทั้งหมดว่า มหาวิทยาลัย (ปิด) รัฐ จะดีไปทั้งหมด ก็อย่างที่เขียนอธิบายไปแล้ว ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว มหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาของรัฐก็ไม่ต่างไปจากเอกชนแต่ประการใด แม้ว่าจะมีสูตรท่องจำเสียจนขึ้นใจมาเนิ่นนานแล้วว่า เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ หรือคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ารับใช้สังคม หรือสืบต่ออนาคตของชาติ แต่ปัจจุบันกลับพบว่า ค่าใช้จ่ายในการศึกษาแพงระดับที่ไม่น่าเชื่อ ในขณะที่มาตรฐานการจัดการเรียนการสอน รวมไปถึงหลักสูตรล้วนไม่ทันกับยุคสมัย เช่นเดียวกับบรรดาผู้สอนก็ล้วนมือใหม่ไม่ต่างจากสถาบันเอกชน หรือบางกรณีก็อาจมีประสบการณ์น้อยกว่าด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุที่ว่า บรรดาคณาจารย์ที่เกษียณอายุราชการไปแล้วมักถูกซื้อตัวไปบริหารหรือสอนในสถาบันเอกชนซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นจำนวนมากในขณะนี้ และย่อมสะท้อนให้เห็นว่า คุณภาพการสอนในมาตรฐานที่อยู่ในเกณฑ์ดีและเป็นที่เชื่อถือได้และเป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับทัศนคติแบบเก่าที่มองและคิดว่าเอกชนมีมาตรฐานต่ำกว่ามหาวิทยาลัย/สถาบันการศึกษาของรัฐ
ต้องการเรียนอะไร และเป้าหมายชีวิตคืออะไร

ปัญหาที่เกิดขึ้นในสถาบันการศึกษาของรัฐในขณะนี้นั้นหนักหนาเอาการ โดยปัญหาด้านบุคลากรสอนที่มักอยู่ในช่วงการผลัดเปลี่ยนรุ่น ส่งผลต่อประสบการณ์ทั้งในการสอนและการทำวิจัย ในขณะที่ระบบการศึกษาปัจจุบันเน้นการทำงานในระบบการรายงานและการบันทึก วันทั้งวันจะมักง่วนอยู่กับเอกสาร ให้คำปรึกษานักศึกษา ตรวจการบ้านหรือรายงาน เป็นที่ปรึกษาให้การจัดกิจกรรมทั้งรายวิชาและนอกรายวิชามากกว่าจะค้นคว้า วิจัยอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งย่อมส่งผลต่อคุณภาพการสอนอย่างรุนแรงและน่าเป็นห่วงในปัจจุบัน

ด้วยเหตุที่เห็นและดำเนินอยู่ในปัจจุบัน จึงสะท้อนให้ชวนคิดว่า ในฐานะที่ต้องตัดสินใจเลือกคณะวิชาและสถาบัน ควรใช้เกณฑ์ใดเป็นลำดับก่อนและหลัง หากแต่กรอบแนวคิดที่ไม่ควรมองข้ามและละเลยโดยเด็ดขาดก็คือ "ต้องการเรียนอะไร และเป้าหมายชีวิตคืออะไร" อาทิ หากอยากเป็นนักสื่อสารมวลชน ที่จำเป็นต้องเลือกเรียนในคณะหรือวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยทั้งของรัฐแลเอกชนที่เด่นก็ย่อมอยู่ในกลุ่มของจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม รวมถึงมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นต้น ข้อเด่นของมหาวิทยาลัยเอกชนเหล่านี้ก็คือ เครื่องไม้เครื่องมือพร้อมสรรพที่ไม่น้อยกว่ามหาวิทยาลัยหรืออาจดีกว่าในบางกรณีด้วย ในขณะเดียวกันกับสาขาวิชานิติศาสตร์ ก็อาจมีหลายตัวเลือก อาทิ จุฬา ธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันเก่าแก่มีชื่อเสียง และหากไม่อยากเครียดกับการลุ้นสมัครคัดเลือก ก็สามารถเรียนได้ใน มหาวิทยาลัยเปิดของรัฐซึ่งมีอยู่สองแห่งที่สำคัญคือ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในขณะที่หากเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ก็มีให้เลือกค่อนข้างเยอะ อาทิ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นต้น และก็เช่นเดียวกันกับ หากมีเป้าหมายเฉพาะในสถาบันการศึกษาประเภทปิดของรัฐ ก็ยังมีให้เลือกอีกมากมาย เพียงแต่ว่าเป็นคณะวิชาใหม่ทั้งที่แยกตัวออกมาจากคณะเดิมหรือเพิ่งจัดการเรียนการสอนได้ราวสิบปีหรือมากกว่า อาทิ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นต้น สำหรับข้อเด่นในสาขานี้ของมหาวิทยาลัยเอกชนก็คือ เป็นที่รวมของบรรดาคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงที่เคยอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐมาก่อน จึงไม่แปลกที่มักพบว่า ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสถาบันเอกชนเป็นจำนวนมากผ่านการสอบเนติบัณฑิตได้ในเวลาอันสั้นหลังจากสำเร็จการศึกษามาแล้ว
การเลือกเรียนในสาขาวิชาใด ย่อมขึ้นอยู่กับตนเองเป็นสำคัญ และที่สำคัญระบบการเรียนการสอนรวมถึงมาตรฐานของมหาวิทยาลัยมักไม่แตกต่างกันมากนัก และโดยที่เห็นและเป็นอยู่ผู้ที่สำเร็จการศึกษามาก็สามารถเข้าสู่อาชีพทั้งในภาครัฐและเอกชนได้อย่างเท่าเทียมกัน แม้ว่าอาจมีข้อแตกต่างในเรื่องของรุ่นพี่รุ่นน้องและสีของสถาบันที่มักมีการเชื่อมสายสัมพันธ์ในการทำงานอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

ความแตกต่างที่หลายคนคิดระหว่างสถาบันของรัฐและเอกชนก็เช่นเดียวกัน ถึงที่สุดแล้วก็ไม่ได้สิ่งการันตีว่าคนที่เรียนในมหาวิทยาลัยรัฐจะประสบความสำเร็จในอาชีพหรือในการทำงานมากกว่าคนที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาเอกชน เพราะถึงที่สุดแล้วมักเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล รวมถึงภูมิหลังของผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือ มักเกี่ยวข้องกับครอบครัวและวงษ์ตระกูลด้วย แต่ก็มีข้อแม้หรือข้อแตกต่างว่า คนที่เรียนเก่งชนิดที่เก่งจริงและมีจังหวะของชีวิตที่พอเหมาะ พร้อมๆ สถานการณ์และโอกาสเอื้ออำนวยย่อมเป็นส่วนเสริมหรือปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จดังกล่าว
เลือกม.รัฐ ก่อนเลือกคณะ ทบทวนใหม่ดีมั๊ย

ใครที่คิดว่า ขอให้ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย (ปิด) ของรัฐเท่านั้น เรื่องคณะวิชาหรือสาขาวิชาไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แนวคิดดังกล่าวข้างต้นขอให้กลับไปคิดหรือทบทวนแนวทางดังกล่าว มีความถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอันที่จริงแล้วก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่คิดทำนองที่ว่า ขอไปตายเอาดาบหน้า เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง ซึ่งโดยทั่วไปก็มักพบปัญหาว่า คนที่คิดเช่นนี้มักต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับลักษณะของสาขาวิชาที่ตนเองต้องเรียนเป็นอย่างมาก และคนจำนวนไม่ต้องต้องกลับมาสอบเข้ามหาวิทยาลัยใหม่อีกครั้ง ทำให้ต้องเสียเวลา เสียเงินและก็มักกลายเป็นปมความล้มเหลวของการเรียนไปเลยก็อาจเป็นได้ การเลือกคณะวิชาจึงเป็นเรื่องหลักสำคัญที่ผู้เรียนต้องท่องให้ขึ้นใจว่า เรื่องดังกล่าวจะคิดง่ายๆ ไม่ได้ หากแต่ต้องวางแผนถึงอนาคตหลังการเรียนจบไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นอย่างที่สุดและน่าจะถูกต้องที่สุด

ณ ชั่วโมงท้ายๆ กับการตัดสินใจเลือกคณะวิชาในระบบการคัดเลือกฯ ระบบกลาง หลายคนที่ยังคิดไม่ออกบอกไม่ถูกว่าจะต้องทำอย่างไรดี ก็คงพอได้คำตอบที่เหมาะสมแล้ว
กระนั้นปัญหามักมีอยู่ว่า ในความหลากหลายสาขาและคณะวิชาที่เปิดการเรียนการสอนในปัจจุบันนี้แล้ว นอกเหนือจากสาขาวิชาและหลักสูตรที่อยู่ในกระแสนิยมแล้ว ทำอย่างไรการเลือกคณะที่ชอบ รักและอยากเรียนจึงจะถึงฝั่งฝันที่ว่านั้นได้ โดยที่ข้อควรรู้และต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องมีหลักการสำคัญ คือ การตัดสินใจควรอยู่บนพื้นฐานความรู้ความสามารถของตนเองเป็นสำคัญ โดยที่พิจารณาทั้งจากผลการเรียนและผลการสอบในระดับช่วงชั้น ซึ่งพอจะเป็นคำตอบได้ว่า แท้จริงแล้วตนเองมีความรู้ความเชี่ยวชาญและความถนัดวิชาใดบ้างและอยู่ในเกณฑ์ใด

คำอธิบายข้างต้น แม้อาจไม่ใช่คำตอบที่ชี้ชัดว่า ด้วยผลการเรียนและผลการสอบระดับช่วงชั้นฯ อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีพอ ที่จะเป็นตัวชี้ถึงโอกาสในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่โดยเนื้อแท้แล้ว มักสะท้อนผลการเรียนรู้ และความสามารถ หรือสติปัญญาของคนนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ด้วยเป็นผลจากการวัดที่ประเมินจากความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่และมีความพร้อมในการนำไปใช้ทั้งกระบวนการทดสอบและนำผลคะแนนที่ได้ไปใช้ในการสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย

ในกระบวนการคัดเลือกฯ เข้ามหาวิทยาลัย การตัดสินใจเลือกคณะวิชาย่อมมีปัญหาเสมอว่า คะแนนที่แต่ละคนมีอยู่นั้น ควรนำไปใช้อย่างไรให้ได้ประโยชน์โดยมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด นั่นคือ นำมาซึ่งการผ่านการคัดเลือกฯ ได้อย่างที่ใจต้องการ ซึ่งโดยแท้จริงแล้วก็ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนในการหลักประกันว่าจะผ่านการคัดเลือกได้ทั้งหมด ด้วยปัจจัยสำคัญมาจากจำนวนผู้เลือกในสาขาวิชาหรือหลักสูตรว่ามีมากน้อยแค่ไหน หากกระแสนิยมในสาขาวิชาหรือหลักสูตรที่เราเลือกมีคนอื่นยื่นความประสงค์แข่งขันกับเราด้วย ผู้ที่จะผ่านการคัดเลือกย่อมเป็นไปตามจำนวนที่หลักสูตรฯ หรือสาขาวิชารับได้ ซึ่งต้องเรียงลำดับตามคะแนนจากสูงไปหาต่ำ นั่นคือ คนที่ผลคะแนนที่ดีกว่าหรือมากกว่าย่อมเป็นตัวเลือกอันดับแรกและไล่เรียงเป็นลำดับ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเลือกสาขาวิชาจะเป็นไปตามจำนวนผู้เลือกและจำนวนที่หลักสูตรหรือสาขาวิชารับได้ซึ่งมีจำนวนจำกัด แต่กระนั้นในแต่ละปีการศึกษาก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมได้เช่นกัน นั้นคือ จำนวนผู้เลือกในแต่ละปีการศึกษาอาจมีมากบ้างน้อยบ้าง ถือเป็นเรื่องปกติ แต่โดยหลักแล้วก็มักไม่แตกต่างกันมากนัก ดังนั้นสถิตของการเลือกหรือความต้องการในการเรียนในแต่ละสาขาวิชามักไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงมากแต่ประการใด การตัดสินใจเลือกสาขาวิชาหรือหลักสูตรจึงสามารถคาดเดาทิศทาง หรือความสำเร็จในการสมัครคัดเลือกฯ ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมาณการและการตัดสินใจของแต่ละคนเป็นสำคัญ

บทเรียนสำคัญของการสมัครคัดเลือกในแต่ละปีที่เกิดขึ้น ผู้ผ่านการคัดเลือกฯ ซึ่งแม้ว่าจะมีผลคะแนนไม่สูงมากนัก แต่เข้าจริงแล้วผ่านการคัดเลือกฯ ก็ด้วยระบบการคิดและการวางแผน รวมถึงการหาข้อมูลสถิติของจำนวนผู้สมัครฯ ในแต่ละสาขาวิชา รู้จักสู้ หรือหลีกเลี่ยงสาขาวิชาที่อยู่ในกระแสนิยมที่เกินกำลังความสามารถของตนที่จะแข่งขันได้
"การรู้จักประมาณตนจึงเป็นหัวใจหลักของการสมัครคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยอย่างสำคัญที่สุด"

ที่มา "การศึกษาวันนี้"

กด Like เพื่อติดตามเรื่องเด็ดๆ โดนๆ จากทีมงาน Sanook! Campus

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook