โรงเรียน 'Skype' นำความรู้สู่เด็กๆ ในอินเดีย

โรงเรียน 'Skype' นำความรู้สู่เด็กๆ ในอินเดีย

โรงเรียน 'Skype' นำความรู้สู่เด็กๆ ในอินเดีย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในประเทศอินเดีย ยังมีหลายหมู่บ้านที่การศึกษาเข้าไม่ถึง แต่ที่หมู่บ้านยากจนแห่งหนึ่งชื่อ Chamanpura ในรัฐ Bihar ไม่เป็นเช่นนั้น เพราะถึงแม้ว่าความเป็นอยู่จะขัดสน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการศึกษาจะไกลเกินเอื้อม

Santosh Kumar เป็นคนพื้นเพจากหมู่บ้านนี้ ทุกวันนี้ในวัย 34 ปี เขาเป็นวิศวกรรายได้ดีคนหนึ่งที่อยากนำพาความเจริญมาสู่เด็กๆ ในหมู่บ้าน เขาตอบแทนบ้านเกิดโดยการสอนวิชาเลขให้กับเด็กๆ 20 คน ผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Skype สัปดาห์ละครั้ง จากที่บ้านของตัวเองในแถบชานเมืองหลวงนิว เดลี ซึ่งอยู่ห่างจาก Chamanpura ประมาณ 970 กิโลเมตร

การให้บริการฟรีอินเตอร์เน็ททำให้นักเรียนทั้งชั้นสามารถเรียนผ่านเครื่องฉายโปรเจ็คเตอร์ ที่คุณครูสอนให้รู้จักตัวเลขและคอนเซ็ปต์ "อนันต์" (infinity) ในเชิงคณิตศาสตร์ ผ่านเรื่องราวสนุกๆ ของนักบวชจอมตะกละและชายบ้านนอกจอมเจ้าเล่ห์

Kumar เล่าว่าการที่จะนำพาการศึกษาไปสู่หมู่บ้านต่างๆ ถือเป็นงานที่ยากลำบาก พูดไปก็นึกถึงตัวเองสมัยวัยรุ่นที่ต้องขี่จักรยานไปแปดไมล์เพื่อจะไปเรียนที่วิทยาลัยในเมืองใกล้ๆ จนท้ายที่สุดได้เข้าเรียนที่สถาบันการศึกษาชั้นนำที่ Indian Institute of Technology (IIT) สำเร็จ

เขาบอกว่าญาติของเขา Chandrakant Singh ซึ่งเป็นวิศวกรเงินเดือนสูงเหมือนกัน ได้ตัดสินใจตั้งโรงเรียนสอนเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี ระหว่างทางที่ได้กลับไปเยี่ยมบ้านครั้งหนึ่ง

Singh บอกว่าในเวลานั้นเขาต้องการนำการศึกษาระดับเวิลด์คลาสไปสู่เด็กๆ ในท้องถิ่นที่เขาคิดว่าทุรกันดารที่สุดในโลก ในวัยเด็กเขาจำได้ว่าเขาต้องอ่านหนังสือเรียนตอนกลางคืนใต้แสงไฟจากตะเกียงน้ำมันก๊าด

ถึงแม้ปัจจุบันหมู่บ้าน Chamanpura จะไม่มีระบบไฟฟ้า หรือถึงแม้ว่าครูที่มีประสบการณ์จะไม่ยอมไปสอนที่นั่น Singh ใช้วิธีติดต่อขอรับบริจาคจากเพื่อนๆ เพื่อก่อตั้งโรงเรียนประจำขึ้น (Chaitanya Gurukul boarding school)

เขาติดตั้งเครื่องปั่นไฟสองเครื่องและจัดแจงฝึกครูท้องถิ่น 16 คน ก่อนที่จะมีไอเดียบรรเจิดนำเอา Skype มาใช้สื่อสารกับนักเรียนโดยมีครูมืออาชีพจากทั่วอินเดียมาช่วยสอน

Singh บอกว่าเนื่องจากครูที่ดีที่สุดในโลกไม่อยากเดินทางไปยัง Chamanpura เขาเลยคิดว่าการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอาจทำให้นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

โรงเรียนกินนอนแห่งนี้เปิดเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว รับนักเรียนทั้งสิ้น 500 คน ซึ่ง 50 คนในจำนวนนั้นไม่ต้องจ่ายค่าอะไรเลย ส่วนนักเรียนที่เหลือจ่ายค่าเล่าเรียนเพียงเฉพาะเท่าที่พ่อแม่สามารถจ่ายได้

บทเรียนที่ใช้ Sykpe เข้ามาช่วยในการเรียนการสอนมีขึ้นตอนเย็นหลังจากชั้นเรียนในปกติแต่ละวันและช่วงเวลาเสาร์อาทิตย์

Kumar ลงแรงทำในส่วนนี้เองตั้งแต่แรก และยืนกรานแน่วแน่ว่าเขาสามารถช่วยให้เด็กๆ เข้าใจมากขึ้นในสิ่งที่เรียนไปแล้วในชั้นเรียน เขาบอกว่าก่อนหน้านี้นักเรียนบางคนก็สงสัย อยากรู้ ว่าคอมพิวเตอร์คืออะไร บางคนถึงกับกลัวหรือประหม่ากับเทคโนโลยี Kumar จึงต้องใช้เวลาสักพักขจัดความกลัวให้เด็กๆ เพื่อให้พวกเขาเคยชินกับคอมพิวเตอร์ ที่บางคนก็ไม่เคยเห็นมาก่อน

Kumar เล่าต่อว่าตอนนี้คอมพิวเตอร์เป็นเหมือนโทรทัศน์ที่เด็กๆ ชอบดู ถึงแม้ว่าไฟจะดับหรือเกิดปัญหาทางเทคนิคบ่อยๆ ก็ไม่มีใครลดละกับอุปสรรคที่ว่า และ Kumar ก็หวังว่าบรรดาลูกศิษย์คงจะเรียนรู้อะไรได้บ้างไม่มากก็น้อย

ถึงแม้จะมีทั้งพวกที่ตั้งใจฟังครู และพวกที่ชอบคุยในห้อง โดยเฉพาะเด็กแถวหลัง แต่ที่น่าประทับใจคือพวกเขาจะหยุดคุยทันทีเมื่อถึงเวลาช่วงคำถาม เด็กแต่ละคนตั้งใจและตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง

นักเรียนคนหนึ่งวัย 11 ขวบให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว AFP ผ่านทาง Skype ว่าการเรียนการสอนผ่านทางนี้ทำให้เขาจำได้ดีขึ้นในสิ่งที่เรียนไปแล้วและเป็นวิธีที่ดีกว่าการอ่านหนังสือเรียนเพียงอย่างเดียว เพื่อนนักเรียนอีกคนวัย 12 ที่นั่งอยู่ข้างหลังก็พยักหน้าเห็นด้วย และบอกว่าชอบบทเรียนที่คุณครูสอน แถมโตมายังอยากเป็นวิศวกรเหมือนคุณครูอีกด้วย

น่าดีใจที่พวกเขาเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการศึกษา


ที่มา: AFP
แปลและเรียบเรียง: ทิพากร ศุภลักษณ์

กด Like เพื่อติดตามเรื่องเด็ดๆ โดนๆ จากทีมงาน Sanook! Campus


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook